การนำระบบคุณธรรม (Merit System) มาใช้กับระบบราชการ

      เนื่องจากระบบราชการไทยในปัจจุบันถูกครอบงำด้วยระบบอุปถัมภ์มากเกินไป โดยเฉพาะการเลื่อนไหลในตำแหน่งผู้บริหารราชการในทุกหน่วยงาน  ยังคงเป็นระบบอุปถัมภ์ ทำให้การทำงานของระบบราชการขาดความทันสมัย และพัฒนา ควรให้มีระบบการสอบแข่งขัน และการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทั้งหมดทั้งระบบ   หากระบบราชการไม่ได้จัดสอบแข่งขันแล้ว จะทำให้ระบบอุปถัมภ์แทรกซึม รวมทั้งระบบการสรรหาเพื่อหาบุคคลมาดำรงตำแหน่ง  ก็จะทำให้ผู้บริหารราชการเป็นคนไม่ใช่มือดีมีความสามารถ   การสรรหา และการคัดเลือกควรเป็นระบบเปิด (open system) และมีองค์การจากภาคประชาชนเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งบุคคลที่มาสอบคัดเลือก หรือการสรรหาจากภายนอกระบบราชการ เช่นการจ้างที่ปรึกษาจากต่างประเทศในการสอบวิสัยทัศน์ หรือการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ หรืออาจารย์ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน  และที่สำคัญยิ่งผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารไม่ควรดำรงตำแหน่งเกินวาระ 3-4 ปีเพียงวาระเดียว เว้นแต่กรรมการกลางมืออาชีพจากภายนอกจะเป็นผู้อนุมัติในการโหวตว่าควรให้สมัครอีกวาระหนึ่งเท่านั้น หากไม่ทำเช่นนี้จะทำให้เกิดปัญหาการสร้างอาณาจักร (empire building) รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต หากผู้บริหารเป็นผู้คัดเลือก จะทำให้ระบบอุปถัมภ์เข้าไปชอนไช (spoil system) ทำให้เกิดวัชชพืชระบบราชการของหน่วยงานนั้น   แม้กระทั่งการแต่งตั้งกรรมการ หรือการสรรหากรรมการก็มีการล๊อบบี้เพื่อให้พวกของตัวเองเข้ามาร่วมทำงาน และทำให้เกิดการผูกขาดอำนาจหน้าที่ในตำแหน่ง  ซึ่งควรมีการออกกฎกระทรวง หรือกฎหมายคุณธรรมที่เป็นกฎหมายย่อยอย่างรีบด่วนเพราะมิฉะนั้น ตัวระบบราชการเองจะกลับมาทำลายระบบการเมืองของประชาชนโดยเข้าไปสมคบหรือรับใช้นักการเมืองที่ตนเองชื่นชอบ หรือมีความไม่เป็นกลางทางการเมือง (political neutrality)  หากนักวิชาการ หรือข้าราชการไม่วางตนเป็นกลางทางการเมืองเมื่อติดยึดกับอำนาจ และผลประโยชน์ก็ยากแก่การเปลี่ยนแปลงได้ (change management)  ทำให้การทำงานของระบบราชการนอกจากจะไม่วางตนเป็นกลางทางการเมืองแล้ว ยังบั่นทอนการทำงานที่รับใช้ประชาชนอีกด้วย   ซึ่งเมื่อบั่นทอนมาก ๆ แล้วก็จะทำลายนักการเมือง  พูดง่าย ๆ ก็คือตัวระบบราชการที่ไม่ดีจะทำลายนักการเมืองที่มีประสิทธิภาพได้  และเมื่อระบบราชการรวมตัวกันมาก ๆ ก็จะกลายเป็นพรรคการเมืองที่ไม่ได้จดทะเบียน ทำให้เกิดอำนาจที่ไม่เป็นทางการยึดโยงระบบ ทั้งนี้รวมทั้งองค์กรอิสระก็มีลักษณะคล้ายระบบราชการ ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาเกิดจากการล้วงลูกของฝ่ายที่ทำการรัฐประหาร  การกระทำเช่นนี้ทำให้ระบบราชการไม่ใช่ระบบของประชาชน แต่กลับเป็นระบบของตัวราชการเอง  ทำให้ข้าราชการไม่นิยมรับใช้ประชาชน และมองข้ามประชาชน  เมื่อระบบราชการไม่สร้างประสิทธิภาพแล้ว รัฐบาลก็ไม่สามารถบริหารประเทศให้เกิดประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลและเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง กลายเป็นอุปสรรค และเครื่องกั้นความเจริญของประเทศ   ดังนั้นควรมีการวางระบบที่ตรวจสอบ, การสับเปลี่ยนหมุนเวียนอ่างแก้วระบบราชการเพื่อไม่ให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสีย ซึ่งบางครั้งคนในองค์การก็ไม่รู้ว่าเน่าเสียอย่างไร เพียงแต่ต้องการอุปมาให้เหมือนกับตู้ปลา หากไม่มีการชำระล้างอ่างปลาที่สกปรก ไม่โปร่งใสแล้ว (Good governance) ก็เชื่อว่าเกิดความสกปรกไม่สะอาด  ซึ่งเราจะพบว่าแม้กระทั่งการเลือกตั้ง กกต.ก็ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผล เพราะประกอบด้วยเจ้าหน้า กกต.มาจากข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ หรือเป็นคนพรรคพวกของตัวเอง (ระบบอุปถัมภ์) ทำให้ช่วยกันโกง, โดยเอาบัตรเลือกตั้งของอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วเอาบัตรอีกพรรคหนึ่งใส่เข้าไปเท่ากับจำนวนที่เอาออก เช่นที่บางบอนมีการร้องเรียน แม้กระทั่งการเลือกตั้งนอกเขตก็ไม่ได้ประชาสัมพันธ์ทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเสียสิทธิไปเป้นล้านคน   นับเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง  ทำให้การที่ กกต.จะให้ใบแดงใบเหลือง หากมีอคติลำเอียงย่อมตัดสินอย่างไม่ยุติธรรม จะทำให้เสียผู้ใหญ่ เพราะไม่วางตนให้ยุติธรรม  และเป็นที่มาของการวิจารณ์ในสังคมโดยทั่วไป    ถึงเวลาแล้วที่ต้องปฏิรูประบบราชการขนานใหญ่ ให้กลายเป็นระบบข้าราษฎร ที่มีความรู้ความสามารถจริง ๆ มาทำงานในตำแหน่งบริหาร และวางตัวเป็นกลาง ลดระบบอุปถัมภ์ถึงฐานศูนย์ (Zero-based patronage system), ลดระบบพฤติกรรมศรีธนญชัย, ลดระบบการบริหารกลยุทธ์แบบลับ,ลวง,พราง ฯลฯ ออกจากเวทีของระบบข้าราษฎร   จึงจะทำให้การปฏิบัติงานของข้าราชการหรือข้าราษฎรเป็นที่หวังของปวงชนได้อย่างแท้ัจริง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง