ประชาธิปไตยในภูฎาน
เมื่อย้อนหลังในปี ค.ศ.1907 เมื่อเริ่มต้นในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศนี้ในปัจจุบันนี้จากศตวรรษที่ผ่านมาในประวัติประเทศ ปัจจุบันนี้เป็นเวลาศตวรรษผ่านมาในประวัติศาสตร์ประเทศภูฎาน ชาวภูฎานคิดถึงประชาธิปไตยในเชิงโครงสร้าง ประชาธิปไตยมีจุดยืนเพื่อประชาชน และโดยประชาชน และเป็นของประชาชน รัฐบาลประชาธิปไตยริเริ่มโดยดยุ้ค กัลโล จิ๊กมี่ ซิงกี้ วังชุค ได้มองเห็นความจำเป็นเกี่ยวกับอิสรภาพในทัศนะและความคิดของสาธารณชน เป็นสิ่งคำนวณเกี่ยวกับการจัดการรัฐบาลที่ดี และเป็นผลประโยชน์เพื่อพลเมือง ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2008 ซึ่งมีการเลือกตั้งโดยรัฐสภาครั้งแรกเกิดขึ้นโดยมี 2 พรรคที่เต็มไปด้วยพลังและความฝัน พรรคการเมืองสองพรรคนี้ได้แก่พรรคประชาธิปไตยประชาชน และพรรคดยุค เฟ็นซัม โชวปา การเลือกตั้งได้ดำเนินาการแล้วปรากฏว่าพรรคประชาธิปไตยประชาชนได้รับชัยชนะอย่างเอกฉันท์
ประเทศภูฎานหลังจากมีการเลือกตั้งตามครรลองประชาธิปไตย ก็ได้นายกรัฐมนตรีที่ชื่อว่า เลียนเชิน จิ๊กมี่ ยูเซอร์ ทินเลย์ และพรรคฝ่ายค้านพรรคแรกคือ เลียนโป ทเชอร์ลิง ทอบเกย์ พรรคที่ได้ปกครองเป็นที่รู้กันคือพรรครัฐบาลซึ่งเป็นพรรคการเมืองของเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาซึ่งไม่ได้ปกครองประเทศเท่านั้น แต่ยังควบคุมดูแลผู้บริหารหน่วยงานรัฐบาล หรือกลุ่มการเมืองที่คัดค้านในพรรคการเมืองรัฐบาลที่มีอำนาจปกครองด้วย ข้อดีของประชาธิปไตยในภูฎานคือว่าดูเหมือนว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในแง่ของกิจกรรมการพัฒนาเช่นเดียวกันกับขอบเขตเกี่ยวกับการศึกษา ประชาชนกำลังคิดถึงวิธีในการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไป สิทธิในสื่อยังเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศของเราซึ่งช่วยให้พลเมืองได้ปกป้องข่าวสารข้อมูลและข่าวสารภายในประเทศ และภายในโลก
เมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียด้วย ด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตย ประชาชนถูกครอบงำที่ทำให้ไม่เข้าใจการศึกษาในความหมายของประชาธิปไตย เขาไม่ได้ใช้สิทธิมนุษยชนโดยไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและการสร้างความสับสนในภาคพลเมือง ผลที่เกิดขึ้นของการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศนี้ก็คือไม่มีวัฒนธรรมทางการเมืองหรือการศึกษาการเมือง ประชาชนยังคงเป็นคนที่อยู่ในสัญญาลักขณ์ของอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตาม ประชาธิปไตยในบริบทของชาวภูฎานเป็นเพียงสาระสำคัญที่ยังเบาบาง เพราะว่าประชาชนยังไม่ไม่สามารถเข้าใจกฎหมายเกี่ยวกับการเมือง บุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ที่สูงกว่าจะอธิบายความหมายของประชาธิปไตยแก่ชาวบ้าน ยังคงมีความเกรงกลัวเงียบเกี่ยวกับการไม่ลุกฮือในการสร้างความสับสนเกี่ยวกับการอีกฝ่ายหนึ่ง
สรุป การปกครองแบบประชาธิปไตยของภูฎานเพิ่งเริ่มนับหนึ่ง ซึ่งยังขาดการวางพื้นฐานประชาธิปไตยในระบบการศึกษา ซึ่งในประเทศไทยระบบการศึกษาก็ไม่ค่อยได้ถ่ายทอดจิตวิญญานประชาธิปไตย และยังไม่เข้าใจประชาธิปไตยไม่ลึกซึ้ง และวิชาประชาธิปไตยที่จะนำมาวิพากย์เพื่อสร้างให้เป็นแก่นแก่นจิตสำนึกแก่ผู้เรียนยังขาดอยู่มาก ดังนั้นหากผู้สอนมิใช่แม่พิมพ์ประชาธิปไตยแล้ว สังคมไทยจะคาดหวังให้ใครเป็นแม่พิมพ์ได้ ก็จะกลายเป็นแม่ปูหรือมิฉะนั้นก็จะพูดอย่างเบาบาง ทำให้ความรักประชาธิปไตยในหมู่นักศึกษายังมีน้อยอยู่ในปัจจุบัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น