ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

             ระบบการเมืองอุปมาดั่งกับการเลี้ยงตู้ปลา ที่ประชาชนเป็นผู้นำปลามาเลี้ยง (เลือกตั้งคนเข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชน) หากตู้ปลามีน้ำไม่สะอาด ปลาก็ขาดอ๊อกซิเจน ซึ่งหมายถึงสภาพของนักการเมืองภายใต้ระบบการเมืองที่ฟอนเฟะ หรือน้ำเน่า คุณภาพชีวิตของปลาที่อยู่ในตู้ปลาก็ไม่อยู่ในสภาพที่ดี และถ้าหากปลาที่อยู่ในตู้ปลามากัดกันเองเพื่อความยิ่งใหญ่ในตู้ปลาด้วยกันก็จะทำให้เกิดความเจ็บปวดด้วยกันทั้งคู่  ดังนั้นประชาชนชอบปลาที่มีสีสันต่างกันซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถบังคับความชอบพอเป็นการส่วนตัวได้  กลุ่มบุคคลที่เป็นลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมก็อยากเลือกตัวปลาที่ดี และสวยงามแต่ในสภาพเป็นจริงโอกาสที่คัดตัวปลาที่ดีอย่างนั้นก็ึขึ้นอยู่กับค่านิยม, ความชอบของคนที่ต้องการเลี้ยงปลา  สิ่งสำคัญของการเลี้ยงตู้ปลาในตู้เดียวกันก็คือควรรักษาตู้ปลานี้อย่าให้แตกสลาย เพราะหากคนที่เลี้ยงปลาแบ่งกลุ่มแบ่งเหล่าก็จะมีทัศนคติในการเลี้ยงตัวปลาขัดแย้งกัน ก็จะเหมือนกับตาอินกับตานาทะเลาะกัน ตาอยู่ก็จะเอาไปกิน
              ในตู้ปลาหรือในอ่างปล่าขนาดใหญ่จะมีปลาหลายแบบหลายชนิด ถ้าเป็นปลาฉลามก็จะเป็นปลาที่ดุร้ายคอยกัดกินปลาตัวอื่น เพราะตัวใหญ่กะเพาะใหญ่ แต่ถ้าเป็นปลาคร้าพจะเป็นปลาที่ไม่ยุ่งกับใคร ไม่กัดกับใครเปรียบเสมือนคนที่อยู่เป็นกลางคอยดูปลาสองฝ่ายกัดกัน ส่วนปลาตัวเล็กตัวน้อยนั้นก็ปรารถนาจะให้ปลาตัวใหญ่คอยดูแลจัดการให้ ในสังคมไทยปัจจุบันคนดูตู้ปลาทะเลาะกันไม่สามารถรอมชอม หรือปรองดองกันได้ หนทางที่สำคัญคือต้องมานั่งคุยกัน หรืออภิปรายหาข้อตกลงกันว่าจะกำหนดตู้ปลาอย่างไร  ด้วยการไม่กวนตู้ปลาให้ขุ่นมัว ทำให้ไม่สามารถมองตุ้ปลาตัวปลาได้ชัดเจน นั่นคือความไม่โปร่งใส
               การลับลวงพรางแบบสามก๊ก ทำให้สังคมขัดแย้งกันเพราะต่างฝ่ายต่างใช้เล่ห์เหลี่ยมก็จะไม่เป็นผลดีต่อตู่ปลา เพราะการกำหนดมาตรฐานตู้ปลาก็ต้องดุูว่าเป็นมาตรฐานสากลหรือไม่ ใช้อุปกรณ์ถูกต้องหรือไม่ และน้ำที่ใช้เป็นน้ำดีหรือไม่  ซึ่งแสดงว่าวิธีคิด, วิธีเลี้ยงตู้ปลาในสังคมมีความเห็นที่ต่างกัน ซึ่งไม่ใช่ความผิดของแต่ละฝ่ายแต่ละกลุ่ม   เพียงแต่การกำหนดกติกา หรือการหาวิธีที่จะรอมชอมหรือหาสิ่งที่พอจะไปกันได้เท่านั้น หรือที่นักวิชาการที่ชื่อ Herbert A.Simon ที่กล่าวว่าการตัดสินใจแบบสมบูรณ์แบบในชีวิตจริงไม่มี มีแต่การตัดสินใจที่พอทำได้เท่านั้น (satificing)  แต่คงไม่ใช่วิธีกำจัดตัวปลาซึ่งต่างฝ่ายต่างชอบปลาไม่เหมือนกัน นั่นคือวิธีที่ไม่ถูกต้อง   ที่ถูกต้องคือยอมรับตัวปลา กำหนดกติกายุติธรรม ทำให้น้ำในตู้ปลาให้สะอาดเพื่อความโปร่งใส เป็นรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ ไม่ใช่พอจะมีการตรวจสอบก็มีคนกวนน้ำให้ขุ่นทำให้ไม่เห็นปัญหาของตัวปลา 
              ดังนั้นระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยจึงอุปมาเหมือนกันการทำความสะอาดตู้ปลาไม่ให้น้ำเน่า ให้ทุกคนมีส่วนในการแสดงออก โดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่พิทักษ์เสียงส่วนน้อย (majority rule, minority right)  ดังนั้นการปรองดองเพื่อยุติปัญหาไม่ทำลายตู้ปลา (หรือประเทศชาติของคนแต่ละกลุ่ม) ก็ควรนึกถึงส่วนรวม และอดทนต่อความแตกต่างทางความคิด โดยยึดหลักว่าความคิดของแต่ละบุคคลหากเป็นความคิดที่ถูกต้องในวันนี้คนมองไม่เห็น  แต่ในอนาคตคนมองเห็นก็อาจเปลี่ยนค่านิยมมาชอบหนทางใหม่ ๆ ก็ได้  ดังนั้นการอดทนรอคอยเพื่อให้เหตุผลของตนถูกต้องต้องใช้เวลา เหมือนรอมะม่วงสุกหล่นจากต้นมะม่วง  แต่ไม่ใช่การเขย่ามะม่วงยังไม่ทันสุกงอมก็จะทำให้ผู้บริโภคทานมะม่วงเปรี้ยวได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)