สรุปข้อวิจารณ์การพัฒนาการเมืองไทย
1. การเมืองไทยมีลักษณะเดินหน้าถอยหลัง การเมืองไทยยังเป็นลักษณะเชิดชูตัวบุคคลมากกว่าหลักการประชาธิปไตย ทำให้ประชาธิปไตยสะดุดหกล้ม และทำลายระบบเศรษฐกิจในภาพรวมและการเมืองไทยเน้นกฎหมายที่เอื้ออำนวยให้กับเศรษฐกิจของชนชั้นสูง
3. การพัฒนาการเมืองของไทยยังไม่ก่อให้เกิดความจำเริญทางการเมือง เนื่องจากสังคมไทยเข้าสู่โลกแห่งความสับสน (chaos society) ลักษณะประชาธิปไตยยังเป็นประชาธิปไตยแบบต่างระดับชนชั้น หรือยังมีอิทธิพลการปกครองแบบดั้งเดิมทำให้ค่านิยม หรือการยอมรับแบบประเพณีการปกครองนั้นก่อให้เกิดความคิดค่านิยม และหนทางสู่เป้าหมายในชีวิตที่ต่างกัน ขาดการประนีประนอม หรือการปรับตัวเข้าหากัน และการยอมรับศรัทธาความเป็นธรรมทางสังคม ทำให้ความเจริญทางการเมืองมีลักษณะสะดุดหกล้มจากการมีรัฐประหารบ่อยครั้ง
4.ระบบการเมืองไทยยังไม่ได้เข้าสู่การเกิดรัฐชาติ แต่การเมืองไทยยังเป็นระบบที่มีอำนาจรัฐครอบงำรัฐ หรือรัฐซ้อนรัฐ ทำให้ประชาธิปไตยเป็นลักษณะประชาธิปไตยนำทาง (guide democracy) ทำให้ไม่สามารถเป็นประชาธิปไตยที่เปลี่ยนแปลงจากประชาชนสู่ความเป็นพลเมือง (Citizen) ความรู้สึกชาตินิยมยังมีลักษณะการคลั่งชาติมากกว่าชาตินิยม
5.รัฐบาลที่เน้นการเมืองก็จะเน้นระบบราชการมากเกินไป และรัฐบาลที่เน้นการบริหารธุรกิจมากเกินไป ล้วนแต่ละเลยการการฝึกฝนความรู้การเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การเข้าถึงผู้มีอำนาจค่อนข้างยาก (power distance)
6.การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในยามปกติรัฐบาลยังไม่ค่อยส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเต็มที่ มีลักษณะการมีส่วนร่วมแบบเจือจาง ไม่เข้มข้น เกิดปัญหาความขัดแย้งและการเผชิญหน้าซึ่งมีความเห็นต่างกัน แต่ขาดการปรองดองก่อนปัญหาที่จะเกิดขึ้น การปรองดองเกิดจากปัญหาเกิดขึ้นแล้วจึงมาแก้ไข ซึ่งอาจกระทำได้ยากอย่างยิ่ง และกฎหมายไทยไม่ส่งเสริมองค์การภาคประชาชน มีแต่เพียงองค์การแบบระบบราชการมาตัดสินแทนประชาชน เกิดปัญหาการไม่ยอมรับการมีส่วนร่วม ซึ่งรัฐบาลที่ดีควรถอดสลักระเบิดความขัดแย้งทางสังคมของประชาชน จึงจะถูกต้อง สร้างภราดรภาพคือความรักต่อประชาชนทุกคนที่เป็นคนไทย
7.การเมืองไทยในปัจจุบันมีความขัดแย้งของกลุ่มบุคคลระหว่างฝ่ายชนชั้นสูงกับคน ชั้นล่าง ทำให้ความเข้าใจประชาธิปไตยต่างชนชั้นจึงมีวาทะกรรมต่างกัน หรือเกิดจากค่านิยมต่างกัน หรือความเชื่อศรัทธาต่างกัน การขจัดค่านิยมที่เป็นประชาธิปไตยที่จำกัดในวงแคบ ไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยในวงกว้าง หมายถึงการยกระดับประชาธิปไตยแบบรากหญ้าที่ได้รับการยอมรับของสังคม
8. การเมืองไทยมีลักษณะสับสน และการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะไร้ระเบียบ อันเกิดจากการรัฐประหารทำให้ตัวบทกฎหมายไม่ใช่ฉันทามติของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นเพียงกลุ่มบุคคลที่แอบอ้างความชอบธรรมเท่านั้น แม้กระทั่งนักวิจารณ์ของสิงคโปร์แสดงทัศนะว่าการเมืองไทยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือรัฐประหาร
9. การเมืองไทยขาดการกระจายอำนาจไปสู่สังคม แต่มีลักษณะพยายามรวมศูนย์อำนาจจากศูนย์กลาง และมีการครอบงำอำนาจการเมืองโดยผ่านการเมืองแบบข้าราชการ ทำให้ข้าราชการเข้าไปมีบทบาทมากเกินไป แทนที่จะเป็นกลางทางการเมือง
10.การเมืองไทยมีการพัฒนาเฉพาะส่วน หรือชนชั้นบางสังคม แต่หันหลังให้กับการพัฒนาคนชั้นล่าง มีการละเลยเพื่อการกินดีอยุ่ดีของคนชั้นล่างทางสังคม และมีการโดดเดี่ยวประชาชนให้เป็นกลุ่มบุคคลที่ล้าหลัง ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนถ่างมากขึ้น และเกิดระบบผูกขาดเศรษฐกิจของชาติกับกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลไม่กี่คน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น