ประชาธิปไตยอัจฉริยะ (9)

  5. ประชาธิปไตยในสื่อมวลชน ได้แก่สื่อหนังสือพิมพ์,สื่อวิทยุโทรทัศน์,สื่อออนไลน์,สื่อที่ผ่านมือถือ ฯลฯ  การที่ประชาชนเข้าถึงสื่อสารข้อมูลโดยเฉพาะรายการโทรทัศน์จะไม่เอนเอียงเข้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สื่อที่รายงานตามข้อเท็จจริงคือสิ่งที่เป็นหัวใจประชาธิปไตย หากสื่อเป็นผู้บิดเบือนและไม่ได้รายงานผลสื่อตามความเป็นจริงทำให้เกิดการสื่อข่าวสารผิด ๆ ให้กับประชาชน นำไปสู่ความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลือนได้ หรือไม่ควรละเลยหรือกระตือรือร้นเพื่อนำความจริงมาสู่สังคม ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และความเป็นธรรมทางสังคม หากสื่อรับใช้นายทุน หรือรับใช้บุคคลที่มีอำนาจอย่างเดียวก็เท่ากับว่าสื่อมีความเกรงใจผู้มีอำนาจ เหมือนกับองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่ไม่สามารถตัดสินหรือดำรงความถูกต้องยุติธรรมได้ เท่ากับสังคมมีการเลือกปฏิบัติในการสื่อสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายที่ตนมองเห็นว่าได้รับผลประโยชน์  สื่อจึงอาจเป็นเครื่องมือในการประหารการรับรู้ข้อมูลอย่างถูกต้อง ดังนั้นสื่อสารมวลชนในระบบประชาิธิปไตยควรทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา โดยเข้าข้างสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็จะกลายเป็นการทวนกระแสกับประชาชนที่ต้องการความยุติธรรม และกลับเป็นสิ่งยั่วยุให้คนในชาติขาดความสามัคคีได้ สื่อจึงควรมีบทบาทที่จะต้องเข้าถึงเข้าใจสถานการณ์ที่ต้องตีความถึงการเผยแพร่ให้สังคมรับรู้  และที่สำคัญสื่อต้องให้ความสำคัญกับพลังของเสียงส่วนใหญ่ มิใช่ให้ความสำคัญกับพลังของเีสียงส่วนน้อย เพียงแต่มีการเคารพพลังเสียงส่วนน้อย  และนี่คือประชาธิปไตยที่แท้จริง แต่มิใช่ทำตามอารมณ์ความรุ้สึกโดยไม่ยึดโยงกับหลักการทำสื่อเพื่อสังคม หรือยึดโยงกับผลประโยชน์โดยขาดอุดมการณ์ทำสื่อ  หากคิดว่าสื่อที่ทำไม่ใช่สื่อที่ดี ผู้ทำหน้าที่สื่อก็ควรแสวงหางานใหม่ที่ทำประโยชน์ให้สังคม ดีกว่าการไปรับใช้สิ่งที่ทำลายสังคม หรือย้ายงานไปอยู่สื่อใหม่ที่ดีกว่า หรือสร้างสื่อใหม่ที่ทำให้เป็นตัวของตัวเอง และอุดมการณ์ที่ถูกต้อง แต่สื่อหลายสื่อที่ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาและเที่ยงตรงก็มักจะเป็นสื่อใหม่เป็นสื่อปฏิรูป การหาข้อเท็จจริงก็เป็นสิ่งสร้างสรรค์ ซึ่งต่างกับสื่ออนุรักษ์นิยมที่มีความเปลี่ยนแปลงน้อย มีแต่เพียงรูปแบบทันสมัย แต่ความคิดอ่านหรือคนทำหน้าที่สื่อยังไม่พัฒนาก้าวไกล อาจมีเพียงบางคนที่ทำหน้าที่ได้ีดี   ดังคำประกาศสิทธิมนุษยชนปี ค.ศ. 1948 ระบุไว้ว่า "ทุกคนมีสิทธิในความอิสระในความคิดเห็นและการแสดงออก"  สิทธินี้ได้แก่เสรีภาพในการยึดถือความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซงจากรัฐ และแสวงหา,การส่งข้อมูลข่าวสารโดยผ่านสื่อได้โดยไม่ถูกสะกัดกั้น แม้ว่าข้อมูลข่าวสารอาจไม่ถูกต้องบ้าง แต่ก็ต้องค้นหาความจริง  สำหรับผู้แสดงที่เป็นพันธมิตรเพื่อการพัฒนาสื่อให้ดียิ่งขึ้น และเป็นการปฏิรูปสื่อ ได้แก่ผู้อุปโภคสินค้า หรือลูกค้าหรือประชาชน, ผู้รายงานข่าว,ผลิตข่าว,นักเทคนิค, ผู้จัดการธุรกิจ  บริษัทที่สรรหาสาระสื่อที่เชิญนักคิดวิชาการ,นักวิพากย์ และองค์กร NGO ซึ่งในองค์กร NGO ก็ไม่ควรมีส่วนได้ส่วนเสียกับรัฐบาล  แต่ควรเป็นบุคคลที่เป็นกลาง หรือถ้าจำเป็นต้องนำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาออกรายการ ควรจัดให้ทั้งสองฝ่ายที่เป็นคู่ความคิดเห็นแตกต่าง แต่ผู้จัดการรายการควรมีความรู้ที่จะประสานความคิดให้เกิดเอกภาพ แต่มิใช่เป็นการเชิญมาพูดให้ทั้งสองฝ่ายทะเลาะหรือบาดหมางใจกัน หรือผู้จัดการรายการควรวางตนเป็นกลาง  นอกจากนี้ยังมีสถาบันฝึกอบรม,มหาวิทยาลัย, นักกฎหมายอิสระ,นักวิชาการอิสระ (อิสระที่เป็นมืออาชีพ มิใช่อิสระที่มีฝักฝ่ายหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับพรรคการเมือง) การติดตามสื่อ (เช่นหน่วยงานที่ทำโพลล์การเมือง, หน่วยงานที่ดูแลนโยบาย,กลุ่มอาสาสมัคร,รัฐบาลและนักโฆษณา และองค์กรวิชาชีพ และนักหนังสือพิมพ์ ฯลฯ
        ถึงเวลาที่สื่อสารมวลชนทั้งหลายควรปฏิรูปอย่างสร้างสรรค์ ไม่สนับสนุนการเผยแพร่ข่าวสารที่ไม่ใช่ความจริง หรือมีการบิดเบือนเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  หากสื่อไม่เข้าข้างและวางตนเป็นกลางก็จะกลายเป็นสื่อที่น่าเชื่อถือ หากจะเป็นการเข้าข้างก็เป็นการเข้าข้างสิ่งที่ถูกต้อง,สิ่งที่เป็นธรรม,สิ่งที่ทำให้ส่วนรวมสังคมดีขึ้น และในโลกนี้สื่อไม่สามารถปิดบังอำพราง เพราะโลกนี้เป็นโลกาภิวัฒน์ที่โลกนี้แคบลง และคนทั้งโลกจ้องมองมาดูประเทศที่มีอาการปัญหาการเมืองที่ผิดปรกติอย่างไ่ม่ละสายตา เหมือนคนตามหนังนิยายเนื่องจากมีความรู้สึกร่วมกันของโลกเรา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ