การเปรียบเทียบแนวคิดอนุรักษ์นิยมกับแนวคิดก้าวหน้าทางการเมือง

       เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดของคนหัวเ่ก่ากับคนหัวใหม่ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย เราจะพบว่ามีความแตกต่างโดยนัยสำคัญจากปรากฎการณ์ทางการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลแนวอนุรักษ์นิยม,กลุ่มกลาง ๆ และกลุ่มหัวก้าวหน้าทางการเมือง และเมื่อเปรียบเทียบแล้วแต่ละกลุ่มล้วนต้องการผลประโยชน์ทางการเมืองเช่นกัน  ไม่ว่าการจะเป็นการทำลายนักการเมืองไม่่่ให้มีโอกาสพัฒนาหรือยกระดับให้ก้าวหน้า เพื่อแสวงหาระบบที่สากลโลกไม่ยอมรับ ซึ่งความแตกต่างจะมีลักษณะดังนี้
         แนวคิดอนุรักษ์นิยม (conservatistm) แนวคิดหัวเสรีนิยมก้าวหน้า (liberal progressism
 1. ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (anti-change)           1. ชอบเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่
 2. รักษาแบบแผนเก่า ๆ หรือจารีตเก่า                   2. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และปรับตัว
     คงไว้ในสถาพภาพเดิม                                 เข้ากับการเปลี่ยนแปลง
 3  นึกถึงตนเองหรือกลุ่มมากกว่าส่วนรวม               3. นึกถึงส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
 4  หากเป็นรัฐบาลจะชอบสร้างปัญหามาก             4. หากเป็นรัฐบาลจะนิยมแก้ปัญหา
     มากกว่าแก้ปัญหา                                       มากกว่าสร้างปัญหา
 5. มีจินตภาพมองโลกและสิ่งแวดล้อม                  5. มีจินตภาพมองโลกและสิ่งแวดล้อม
    ในทางเลวร้าย                                            ในทางบวก
 6. สร้างภาพหรือสร้างศรัทธาหรือความเชื่อ           6. สร้างภาพพจน์แบบมืออาชีพใช้หลักความจริง
    แต่ทำไม่เก่ง(คิดติดกรอบ)                             ในการแก้ปัญหา(คิดนอกกรอบ)
 7. ชอบใช้อำนาจควบคุม,สั่งการ ไม่ค่อยรับ           7. ชอบสร้างพันธมิตร,รับฟังความเห็น
    ฟังความคิดเห็นหลากหลาย                            ให้โอกาสทางสังคมอย่างกว้างขวาง
 8. ชอบพูดเรื่องของตนเอง พูดถึงส่วนรวมน้อย      8. คำนึงถึงผู้อื่น นิยมพูดถึงส่วนรวม
 9. มีความคิดแบบผู้บริหารที่ทำตามผู้มี                 9. มีความคิดแบบผู้นำกล้าเปลี่ยน
    อำนาจเหนือกว่า                                          แปลงในทางที่ดีขึ้น
10.ชอบมีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น, หรืออยู่ในฐานะ        10. ชอบความยุติธรรม, ไม่เลือกปฏิบัติ
    ผู้ได้เปรียบในสังคม                                      ไม่ชอบเอาเปรียบสังคมหรือประชาชน
11.ยึดถือตัวบุคคลมากกว่าหลักการ                    11. ยึดถือหลักการมากกว่าตัวบุคคล
12.ยึดมั่นในระบบอุปถัมภ์                                  12. ยึดมั่นในระบบคุณธรรม
13.มองความดีแบบความเชื่อขาดการพิสูจน์        13. มองความดีที่ผลงาน ถือความถูกต้อง
    ผลงานไม่ดีก็ไม่เป็นอะไรถูกใจไว้ก่อน                 แต่ไม่่่่่จำเป็นต้องถูกใจ
14.ชอบจับผิด,กล่าวโทษผู้อื่นแต่ไม่มอง            14. การกล่าวโทษจะดูความจริงเป็น
    ความผิดของตนเอง                                     หลักไม่หลงงมงายไปตามกระแส

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง