เทคนิคการสมัครงานเพื่อให้ได้งาน
ปัจจุบันการสัมภาษณ์เพื่อการทำงานในองค์การภาครัฐและเอกชนมีความสำคัญยิ่ง ซึ่งแนวโน้มอนาคตระบบคุณธรรมจะเข้ามาแทนที่ระบบอุปถัมภ์ เพราะสังคมมีการเปลี่ยนแปลงจากแรงผลักดันของสภาพแวดล้อมและวิสัยทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องจากในอนาคตผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคณะทุกมหาวิทยาลัยล้วนต้องผ่านการสัมภาษณ์กับฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผู้ที่จบการศึกษาควรปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการที่จะได้เข้าไปทำงานกับบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่เห็นเด่นชัดคือภาพพจน์ปัจจุบันที่องค์การต้องการส่วนใหญ่มีลักษณะดังนี้
1. บัณฑิตที่สมัครงานควรมีความรู้รอบตัวอย่างกว้างขวาง และต้องมีความรู้นอกเหนือจากตำราหรือปริญญาบัตรที่เล่าเรียน ควรมีประสบการณ์ในภาคปฏิบัติ, หรือมีใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการฝึกอบรมทักษะเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
2. ผู้สมัครงานควรมีความรู้,ทักษะ, และคุณสมบัติหรืออุปนิสัยใจคอที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ตนเองจะสมัคร เช่นในการสัมภาษณ์ปัจจุบันองค์การจะดูสมรรถนะเป็นส่วนใหญ่ หรือที่เรียกว่า “Competency” เหมาะสมกับหน่วยงานของเขาหรือไม่?
3. ผู้สมัครงานควรกรอกใบสมัครงานให้ชัดเจน ,ตรงกับเนื้อหา และจุดประสงค์ที่ผู้รับสมัครงานต้องการรู้ หากกรอกผิดก็จะกลายเป็นการทำงานผิดพลาด จงอย่าลืมว่าใบสมัครเปรียบเสมือนการมอบหมายงานชิ้นแรกให้ผู้สมัคร หากเรายังทำหน้าที่กรอกใบสมัครไม่ดี ก็จะถูกมองว่าขาดความรับผิดชอบ หรือทำงานไม่เรียบร้อย
4. ผู้สมัครควรแต่งกายให้สุภาพดูดีเมื่อเข้ารับการสมัครงาน หรือสัมภาษณ์ ภาพที่ปรากฏในการสัมภาษณ์ควรสร้างความประทับใจแก่ผู้รับสมัครงานแบบ First Impression หรือการประทับใจครั้งแรกที่มองเห็น
5. ผู้สมัครงานหากมีการเขียนจดหมายสมัครงานต้องคำนึงถึงรูปแบบจดหมายที่ถูกต้อง สละสลวยในการใช้ถ้อยคำที่ดูเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีลักษณะชวนอ่าน,ชวนสนใจ, มากกว่าผู้อ่านจะโยนจดหมายสมัครงานทิ้งลงในตะกร้า หรือถูกวางใบสมัครไว้ข้างหลัง
6. ในการสัมภาษณ์ผุ้สมัครไม่ควรแสดงอาการประหม่า, หรือไม่มีความมั่นใจหรือเชื่อมั่นมากเกินไป
แต่มีบุคลิกภาพที่สุขุม, มีความมุ่งมั่น,รอบรู้เรื่องบริษัทที่จะไปทำหรือสนใจในองค์การที่สมัครงาน, ไม่หลุกหลิกหรือไม่อดทนต่อการรอคอย และประทับรอยยิ้มเมื่อการสัมภาษณ์จบแล้ว
สรุป การสมัครงานต้องยึดหลัก "ถ้อยคำดี, วจีเหมาะสม, อารมณ์มั่นคง, ซื่อตรงเวลา, พัฒนาบุคลิก, ไม่หลุกหลิกหละหลวม, สวมวิญญานมุ่งมั่น, กลั่นกรองฝีมือ, ฝึกปรือวิทยายุทธ์"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น