กฎหมายที่ดีไม่ควรสร้างปัญหาความแตกแยกทางสังคม

         ปัจจุบันปัญหาการปกครองประชาธิปไตยแบบไทย ๆ นั้นมักเน้นกฎหมายมากจนเกินไป แต่เป็นกฎหมายที่ยังไม่สอดคล้องหรืออำนาจกับประชาชนไทย ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหาร ทำให้ความน่าเชื่อถือในความบริสุทธิ์ยุติธรรมนั้นยังเป็นข้อกังขาของสังคมทั่งไปดังที่ปรากฎดังนี้
      1. กฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ผ่านกรรมวิธีการรัฐประหารปรากฎว่า การตัิดสินทางกฎหมายมักถูกสังคมว่าเป็นสองมาตรฐาน ซึ่งหมายความว่าฝ่ายหนึ่งที่กระทำความผิดและสนับสนุนการรัฐประหารเมื่อกระทำความเสียหายต่อประเทศชาติปรากฎว่ามีการถ่วงคดีให้ล่าช้า หรือการตัดสินที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงในลักษณะอะลุ้มอะล่วย หรือไม่มีความผิดใด ๆ  ในขณะทีคดีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งถูกรัฐประหารกลับมีคดีที่รวดเร็ว และมีความผิดโดยยังไม่สอบสวนหรือมีความคืบหน้า ก่อให้เกิดปัญหาความสงสัยที่บังเกิดขึ้น
     2. องค์กรอิสระที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากคณะรัฐประหาร มีแนวโน้มจะไม่ส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตย เช่นมีการออกกฎหมายที่จุกจิกหยุมหยิม สามารถหาเหตุที่ทำลายพรรคการเมืองได้อย่างง่ายดาย เช่นการยุบพรรค, การไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งของประชาชนซึ่งเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริง  แต่ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐประหารไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน หรือเป็นตัวแทนของประชาชนที่แท้จริง  ทำให้ความเกรงใจต่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งตนเอง บางครั้งก็กระทำด้วยความอยู่รอดในวิชาชีพมากกว่าจะทำเพราะความมีอุดมการณ์แบบประชาธิปไตย ทำให้การตัดสินใจใด ๆ จึงไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และการที่องค์กรมีขนาดเล็กมาตัดสินใจแทนประชาชนย่อมมีโอกาสแทรกแซงได้โดยง่าย
    3. กลุ่มนักวิชาการบางท่านที่ยอมรับการรัฐประหาร ซึ่งแสดงว่าไม่ได้มีจิตใจรับใช้ประชาชนตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย  การวิจารณ์มีแนวโน้มจะโจมตีพรรคการเมืองที่โดนรัฐประหารมากกว่า โดยไม่เคยวิจารณ์ว่าการรัฐประหารทำให้ประเทศชาติเสียหาย  ซึ่งนักวิชาการที่รับใช้เหล่านี้อาจได้รับผลตอบแทนจากกลุ่มรัฐประหารในเรื่องการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ทำให้วิธีการเข้าสู่อำนาจไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจึงไม่เห็นความสำคัญของการเลือกตั้งจากประชาชน
    4. กลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองที่นิยมการรัฐประหาร หรือใช้อำนาจนอกรูปแบบที่ไม่ใช่วิถีทางประชาธิปไตย ได้พยายามก่อหวอดเพื่อล้มอำนาจคู่แข่งทางการเมือง โดยอาศัยตัวช่วยที่เป็นพวกเดียวกัน หรือเป็นพันธมิตรกัน  ทำให้ประชาธิปไตยของไทยจึงเป็นประชาธิปไตยที่ถูกครอบงำโดยกลุ่มข้าราชการ หรือนักวิชาการที่ไม่เคารพประชาธิปไตย  และกลายเป็นการมองผลประโยชน์จนหลงลืมประชาชน อาจเป็นเพราะระบบการศึกษาของไทย 30-40 ปีที่ผ่านมาไม่ได้หลอมอุดมการณ์ให้รับใช้ประชาชน  จึงทำให้นักวิชาการหลายคนได้วางตนเป็นขุนนางวิชาการ มากกว่าจะเป็นนักวิชาการเพื่อประชาชน  ทั้ง ๆที่นักวิชาการเหล่านี้เป็นผู้ได้รับการศึกษามาดี แต่ชีวิตไม่ได้สัมผัสกับประชาชนคนยากจน  จึงทำให้จิตสำนึกไม่เชื่อมโยงกับปัญหากลุ่มผู้ยากไร้ หรือผู้เป็นรากหญ้า
    5. สังคมราชการได้เข้าไปแทรกแซงในทุกพื้นที่ และยังไม่ตื่นตัวต่อความเข้าใจปัญหาของประเทศในการที่ไม่ควรยอมรับวิธีการรัฐประหาร  เพราะนักรัฐประหารก็ฉลาดเมื่อกระทำการสำเร็จก็จะปูนบำเหน็จให้ข้าราชการ, นักวิชาการที่รับใช้  ทำให้ได้รับผลประโยชน์อย่างมากมายหลากหลายวิธี  และบางครั้งก็สวมหมวกหลายใบ  ทำให้ข้าราชการไม่สามารถปฏิบัติงานที่เป็นกลาง หรือเป็นข้าราชการที่เป็นมืออาชีพได้  ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์มีลักษณะโอบอุ้มช่วยกันมากกว่าจะคำนึงถึงข้อเท็จจริง  และบางครั้งนักวิชาการไม่ได้สัมผัสชีวิตจริงก็อาจจะเชื่อไปตามข่าวลือ เพราะไม่เคยลงสนามภาคปฏิบัิติ  จึงขาดท่าทีของนักปฏิบัิติการนิยม (pragmatism)
    6. การที่ประชาชนแบ่งเป็นสองกลุ่มที่มีความขัดแย้งกัน และมีกลุ่มที่เป็นกลาง ทำให้กลุ่มที่อ้างอิงกับผู้มีอำนาจเหนือกว่าการเมืองประชาธิปไตยของประชาชน ทำให้เกิดความได้เปรียบทางการเมืองในระดับหนึ่ง  เพราะประชาชนยังไม่ลึกซึ้งต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ใช้ความรู้สึกชอบไม่ชอบในการตัดสิน  โดยไม่ได้ตัดสินใจว่าพรรคการเมืองที่ไม่มผลงานก็ไม่ได้ให้ความสนใจของเพียงแต่ชอบก็ใช้ได้  เป็นความนิยมส่วนบุคคลโดยไม่ได้มองที่หลักการ   ทำให้คนดีในสายตาคือคนเลือกฝ่ายที่แค่ชอบก็ถือว่าดี  ขาดการใช้วิจารณญาน และมองสภาพสังคมตามความเป็นจริง กลับถูกม่านหมอก และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเป็นม่านหมอกบังตา  แต่หากเข้าใจปรากฎการณ์ในอนาคตว่าเขาก็ได้รับผลกระทบ  จึงจะเข้าใจพลังของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ  ซึ่งในขณะนี้้หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีการเอนเอียงหรือไม่ให้ัความยุติธรรมก็จะถูกมองอย่างไม่กระพริบตาเหมือนตาสัปปะรด  ซึ่งก็มีข้อดีตรงที่ทำให้ประชาชนตื่นตัว และเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง และช่วยกันตรวจสอบสิ่งผิดปรกติของสังคมดีขึ้น
     สรุป สิ่งที่เป็นปรัชญาทางการเมืองที่สำคัญ คือความดี, ความงาม, และความจริง   บุคคลที่มีแต่เพียงวาทะกรรมความดี หรือคิดว่าจะดี แต่ความจริงไม่ใช่ และไม่มีความงามในเรื่องจิตใจประชาธิปไตยก็ถือว่าไม่ใช่คนดี   ส่วนผู้ที่มีความดี,ความงาม แต่เป็นสิ่งฉาบหน้า แต่ความเป็นจริงกลับเป็นคนปลิ้นปล้อนหลอกลวงเพราะสังคมจับได้ ก็ถือว่ายังไม่ดี  ดังนั้นองค์ประกอบความดีจึงต้องมีทั้ง 3 อย่างก็จะถือว่าเป็นความดีเฉพาะตน  แต่ยังไม่เพียงพอที่จะเป็นความดีให้กับส่วนรวม เพราะความดีในทางประชาธิปไตยก็คือความดีที่เผื่อแผ่ความสุข, ความเป้นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน และมีความมั่นคงปลอดภัยจากสังคมที่ดี จึงจะถือว่าเป็นความดี  เพราะค่าของคนอยู่ที่ผลของงานเท่านั้นจึงจะเชื่อถือได้ หากบุคคลที่ได้อำนาจมาอย่างไม่ถูกต้องย่อมจะรักษาผลงานที่ดีได้ยากซึ่งพิสูจน์มาแล้วหลายประเทศ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง