รัฐบาลประชาธิปไตยกับเผด็จการอย่างใหนดีกว่ากัน
แปลและเรียบเรียงโดย นิโคลัส ดาเวลล่า
คำว่าประชาธิปไตยมาจากคำบัญญัติศัพท์ว่า ของคำว่า demos หมายถึงประชาชน และ kratos หมายถึงอำนาจ คำว่าประชาธิปไตยเป็นคำที่เกิดขึ้นมาในรูปแบบหนึ่่งหรืออีกรูปแบบหนึ่งตั้งแต่อาณาจักรเอเธนส์ได้มีกฎหมายการปกครองโดยให้มีการเลือกตั้ง “ประชาธิปไตยคือรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ยกเว้นบุคคลอื่น ๆ ทั้งหมดที่มีความพยายาม “เป็นคำกล่าวของอดีตรัฐมนตรีอังกฤษที่ชื่อว่าวินสตัน เชอร์ชิลล์ และแม้ว่ารัฐบาลโดยบุคคลธรรมดาได้มีการตีความผิดพลาดในประวัติศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบกับลักษณะอำนาจนิยมในประวัติศาสตร์ของรัฐบาลของมนุษยชาติ ในกรณีบางประการจากตัวอย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เจตน์จำนงของประชาชนมักจะต้องการรัฐบาลที่ดีที่สุดไม่ว่าประเทศนั้น ๆ จะมีขนาดหรือเชื้อชาติเพียงใด ประชาธิปไตยจึงได้แพร่สะบัดจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งเหมือนไฟไหม้ฟางตั้งแต่ปี ศตวรรษที่ 20 วัฒนธรรม และประเทศแบบอำนาจนิยมแบบจารีดประเพณีเช่นเยอรมัน และรัสเซียได้ก้าวสู่การเป็นรัฐบาลที่มีความก้าวหน้า ลักษณะการเผยแพร่ประชาธิปไตยจะอยู่ในลักษณะแอบซ่อน ประเทศสหรัฐอเมริกาและอินเดีย ที่มีความตื่นตัวอย่างแพร่หลายในอุดมคติแบบประชาธิปไตย เจตน์จำนงของประชาชนที่จะอยู่เหนือการใช้อำนาจนิยมและต่อมาเจตน์จำนงของประชาชนได้บรรจุอยู่ในรัฐบาลของประชาชน
ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ยั่งยืน เนื่องจากเป็นการเน้นการเลือกตั้งของประชาธิปไตย ประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนกับรัฐอำนาจนิยมอย่างมาก อย่างอัฟริกาใต้ได้แสดงลักษณะที่มีความเป็นพิเศษ วัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่ก่อรูปในตัวเนลสัน แมนเดอร่าและขบวนการเคลื่อนไหวในการปฏิวัติของเขาไม่ได้แทนที่รัฐบาลที่เหยียดผิว แต่ยังคงให้แมนเดอราบรรจุในตำแหน่งของผู้มีอำนาจฝ่ายบริหาร หลังจากเขาได้ลาออกไป ก็มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยเกิดขึ้นและมีตำแหน่งประธานาธิบดีใหม่ที่ได้รับการเลือกตั้ง แม้ว่าขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยต้องเสียหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมนเดอล่าก็ยังคงไม่หยุดการเคลื่อนไหว
ในทำนองเดียวกัน ระหว่างการปฏิวัติบอลเชวิคภายหลังการแสดงออกในการขับเคลื่อนไหวของวลาดีเมียร์ เลนิน ได้สูญเสียชีวิตทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวได้หลั่งน้ำตาจากการจากไป และในขณะที่การส่งเสริมให้มีสหภาพโซเวียตสามารถเห็นเด่นชัดในความสำเร็จ การต่อสู้อย่างรุนแรงในการพึ่งพาอำนาจนิยมที่รุนแรงของสิ่งที่ปฏิวัติเริ่มเกิดขึ้น และในขณะที่จุดประสงค์ของบอลเชวิคไม่ได้สถาปนาประชาธิปไตย ความหวังของพวกเขาเหล่านั้นได้แบ่งปันลักษณะที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือเป็นการปกครองโดยคนสามัญธรรมดา
รัฐบาลที่ถูกปกครองในความแตกต่างหลากหลายของมนุษยชาติ เปิดโอกาสให้รัฐบาลมีวาระเหมือนกับประชาธิปไตย แม้แต่ประชาธิปไตยแบบตัวแทน ก็ยินยอมให้ความคิดของคนกลุ่มน้อยในการผสมผสานเพื่อสิ่งที่ดีกว่า หรือสิ่งที่เลวร้ายที่สุด ในประชาธิปไตยคนใดก็ตามมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงรัฐบาลภายใต้ความเชื่อที่คล้ายคลึงกันของเขาเอง รัฐอำนาจนิยมไม่มีช่องว่างโอกาสให้เกิดความคิดเป็นอิสระ อำนาจนิยมเป็นการแสวงหาที่บังคับเจตจำนงของประชาชนของเขาต้องเชื่อถือปฏิบัติตาม ไม่ใช่เป็นเรื่องมีสาระถึงวิธีการที่เป็นลักษณะอำนาจนิยมแบบมีศิลป์ที่จะแสดงออกถึงใจดี รัฐบาลก็ยังคงสะท้อนถึงบุคลิกภาพ และความเชื่อในตัวของเขาเอง ไม่มีช่องว่างสำหรับความแตกต่าง มีแต่ความคิดของรัฐเท่านั้น เช่นอิสรภาพสามารถเห็นได้ในการจัดตำแหน่งองค์การที่จัดภายในองค์การที่มีอิสระเสรี ประชาธิปไตยแม้ว่าจะเป็นรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงในประเทศอัฟริกาใต้ และเม็กซิโก ถูกจัดอันดับและจัดประเภทอยู่เช่นนั้น รัฐอัตตาธิปไตยเหมือนกับลัทธิเทวนิยมของอิหร่าน หรือรัฐที่เป็นคอมมิวนิสต์เทียม (pseudo-communistic state) ถูกจัดว่าไม่มีอิสระ และในฐานะประวัติศาสตร์มีการใช้อำนาจเผด็จการ เป็นรัฐที่ควบคุมที่สามารถอยู่ได้นานตราบเท่าที่ประชากรตั้งใจที่จะถูกควบคุมเช่นนั้น
อิหร่านเป็นตัวอย่างของรัฐที่ไม่มีความไม่คงในรัฐแบบอัตตาธิปไตย มักเกิดขึ้นกับอำนาจของชนชั้นปกครองที่มีอำนาจเป็นผู้คุมการเลือกตั้ง การเลือกตั้งค่อนข้างกำหนดตายตัว และมีพรรคของชนชั้นปกครอง ไม่เป็นเรื่องแปลกใจเสมอว่าจะชนะ ทุก ๆครั้งที่เกิดขึ้น ประชาชนจะระบายความโกรธแค้นโดยออกมาประท้วงตามถนนหนทาง ซึ่งเห็นได้ในทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งรอบใหม่มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่พอใจเกิดขึ้น แต่โดยปรกติประชาชนก็ไม่ถึงขนาดเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกไปแต่มักจะเพียงคัดค้านเกี่ยวกับนโยบายเท่านั้น
ความยั่งยืนของประชาธิปไตยเป็นคุณสมบัติตามข้อเท็จจริง และผู้ที่ปราชัยการเลือกตั้งก็จะมีการแสดงถึงความคับข้องใจโดยการจัดการชุมนุม, ประชาชนสามารถประชุมตามหอประชุมใหญ่, ต่อต้านคัดค้านตามถนน และโหวตนักการเมืองให้ออกจากตำแหน่งหากพวกเขาไม่เห็นด้วยกับอำนาจการปกครอง มีแต่การจัดชุมนุมในรูปแบบรัฐอำนาจนิยมเท่านั้นที่ใช้ความรุนแรง
ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ให้เห็นถึงการปฏิวัติของรัฐเผด็จการมีความเหลื่อมล้ำกับการปฏิวัติแบบประชาธิปไตยที่สถาปนารัฐบาลที่ก้าวหน้า มีรัฐเพียงไม่กี่รัฐที่ยึดโยงกับความสำเร็จ จะมีประชาธิปไตยที่ก้าวหน้ากว่า แต่ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น รัฐนั้นก็มีความยั่งยืนรัฐบาลที่ปกครองโดยประชาชนเพื่อประชาชนอยู่ได้นานตราบเท่าที่ประชาชนต้องการ
โดยสรุป การปกครองแบบประชาธิปไตยกับเผด็จการแตกต่างกันเหมือนเหรียญอันเดียวกันแต่อยู่กันคนละด้าน และจะเห็นว่าการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยมีลักษณะล้มลุกคลุกคลาน เพราะว่าการสร้างประชาธิปไตยไม่แข็งแรง ทั้งนี้อยู่ที่รัฐบาลได้เอื้ออำำนวยหรือสถาปนาประชาธิปไตยเพียงใด และขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของผู้นำ ผู้นำบางคนอยู่ในการเมืองประชาธิปไตยแต่ผู้นำเป็นนักเผด็จการ การกำหนดทิศทางการเมืองก็จะใช้อัตตนิยมเป็นส่วนใหญ่ แต่ผู้นำบุคลิกภาพแบบนักประชาธิปไตยที่ใจกว้าง ก็จะรับฟังแม้ว่ารัฐนั้นจะปกครองแบบอำนาจนิยมก็ตาม แต่ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนทั้งมวลปรารถนาประชาธิปไตยร่วมกันเพื่อรังสรรค์ชาติให้ก้าวหน้านั่นเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น