ประชาธิปไตยอัจฉริยะ (10)

 9. ประชาธิปไตยในเอเชีย และประชาธิปไตยในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในเอเชียส่วนใหญ่จะมีการพัฒนาไปที่ช้ามาก การเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยในเอเชียมีลักษณะของการใช้อำนาจจากชนชั้นนำซึ่งมักเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคการเมืองฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล ซึ่งประเทศที่เคยมีการรัฐประหารมาแล้วแต่ในปัจจุบันก็สงบลงได้แก่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งการเมืองตกเป็นของฝ่ายรัฐบาลมาตลอด เป็นการเมืองที่มีลักษณะการช่วงชิงอำนาจกัน หากประเทศใดที่มีการรักษากลไกประชาธิปไตยที่อ่อนแอที่สุดได้แก่ประเทศพม่าเพราะเป็นการปกครองแบบรัฐบาลทหารพม่า และมีการกักกันอองซาน ซูจี ไม่ให้มีบทบาททางการเมือง ทั้ง  ๆที่อองซาน ซูจีได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาตลอด แต่เนื่องจากกลุ่มของอองซาน ซูจีมีเพียงคนในเมืองที่มีการศึกษาดีต้องการประชาธิปไตย ส่วนในชนบทห่างไกลก็มักจะมีชนกลุ่มน้อยเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการที่อำนาจรัฐของพม่าเิกิดจากปลายกระบอกปืน ทำให้ประเทศพม่าไม่ได้เปิดประตูสู่โลกเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย  ส่วนของไทยนั้นความตื่นตัวประชาธิปไตยนั้นมีมากกว่า และได้ผ่านเวทีแห่งประชาธิปไตยมาหลายครั้ง ทำให้แนวทางการปกครองที่ชนชั้นนำพยายามครอบงำอำนาจ และผลประโยชน์แห่งชาติค่อนข้างทำได้ลำบาก   ส่วนในแถบตะวันออกกลางภายหลังการเรียกร้องประชาธิปไตยของชนชั้นรากหญ้า (grass root democracy) ซึ่งคล้ายคลึงกับประเทฅอินเดีย    นายไมเคิล วาติคิโอติส ได้ตั้งข้อสังเกตประชาธิปไตยในเอเีชียมีลักษณะพอสรุปดังนี้สาเหตุที่ประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชียมีลักษณะผิดรูปผิดร่างดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทางสังคมวัฒนธรรม เกิดขึ้นช้ามาก ทำให้ต้องยอมรับในระบบอุปถัมภ์
2. ในด้านเศรษฐกิจ ประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในชนบทยังยากจน ยังต้องได้รับการอุปถัมภ์จากผู้นำ
3. การปกครองแบบปิตุลาธิปไตยยังมีอยู่ กล่าวคือ การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น เน้นและให้ความสนใจในเชิงความหมายมากกว่าจะนำมาปฏิบัติจริง นี่คืออุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย
ความเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยในภูมิภาคที่เกิดจาก 3 ปัจจัยสำคัญ คือ
1. ประชานิยม อันเนื่องมาจากในปี 1997 ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในระดับชนชั้นนำ เพราะสูญเสียผลประโยชน์ในเงินเป็นจำนวนมาก
2. สื่อสังคม เช่น สื่อออนไลน์นั้น ถือเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการหาเสียงประชานิยมในวงกว้าง ทำให้มีประชานิยมที่มีการแพร่กระจายมากขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงในประชาสังคม มีการรวมตัวของประชาชนเป็นประชาสังคมรวมกลุ่มกันเพื่อท้าทายอำนาจเดิมมากขึ้น และเมื่อประชาสังคมมีอำนาจที่เข้มแข็งจะช่วยเกื้อหนุนให้การปกครองแบบ ประชาธิปไตยแข็งแกร่งไปด้วย โดยที่ชนชั้นนำแบบเดิม จะออกไปตบแต่งตัวเองให้มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้นและนำเสนอให้เห็นว่า ตนเข้ามามีอำนาจในการปกครองเพื่อรับใช้ประชาชน     สุดท้ายเราต้องทำให้ภาคประชาสังคม มีบทบาทสำคัญมากขึ้น อย่างที่ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้กล่าวกับประเทศอินโดนีเซียว่า เป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยเข้มแข็ง มั่นคง ก็เพราะมีภาคประชาสังคมและมีประชาชนที่ตื่นตัว อย่างไรก็ตาม การมองแบบชาติตะวันตก บ่อยครั้งก็มักจะเป็นการมองแบบ การนำประเทศหนึ่ง ที่คิดว่ามีเสรีภาพ มีประชาธิปไตยแบบเต็มขั้นแล้ว ไปสวมใส่ในอีกประเทศหนึ่งที่มีเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตยไม่เท่ากับแบบ แรก จากนั้นก็วิเคราะห์สถานการณ์ของประเทศนั้นๆ โดยหลงลืมบริบทหรือขีดจำกัด หรือเงื่อนไขสำคัญของแต่ละประเทศไป     (จากงานสัมมนา “ประชาธิปไตยและการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพ” โดย Michael Vatikiotis, ผู้อำนวยการระดับภูมิภาค the Geneva)   ซึ่งกล่าวโดยสรุปการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการช่วงชิงอำนาจในชนชั้นนำ และหากประเทศขาดการกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึง หรือมีการกดขี่เช่นตะวันออกกลางก็จะมีการลุกฮือเพี่อเรียกร้องให้ผู้นำไ้ด้ลาออกไป   ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้นำหากจัดการผลประโยชน์โดยไม่ได้กระจายอย่างทั่วถึงให้กับทุกชนชั้นแล้ว ก็จะเกิดการต่อต้านอีกชนชั้นหนึ่ง   ดังนั้นความคาดหวังของประชาชนในเอเชียต้องการให้กระจายผลประโยชน์ได้อย่างสมดุล ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายในทางปฏิบัติ  แต่ต้องมองประชาธิปไตยในทุกชนชั้นแบบมิตร หรือแบบปรองดองหรือการประนีประนอม และลดการแข่งขันกันก็จะลดปัญหาเกี่ยวกับประชาธิปไตยต่างระดับชนชั้นได้   และการตัดสินใจในทางประชาธิปไตยหรือการครอบงำส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักนักวิชาการที่ว่า "การเปลี่ยนแปลงมาจากชนชั้นนำ และการตัดสินใจนั้นมาจากเบื้องบน" (change from the top and decisions from above)  ซึ่งอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงในเอเชียล้วนมาจากชนชั้นนำ และแรงสนับสนุนจากประชาชน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ