ประชาธิปไตยอัจฉริยะ (11)
เหตุผลที่จำเป็นต้องมีประชาธิปไตยอัจฉริยะ
การที่สังคมไทยมีการครอบงำประชาธิปไตยมาเป็นเวลานานกว่า 70 ปีมาแล้ว ทำให้ระบบการเมืองของไทยอ่อนแอ ขาดจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งบุคลิกภาพของชนชั้นนำได้มีการถ่ายทอดความคิดแบบอัตนิยม หรือความนิยมอำนาจค่อนข้างมาก ซึ่งจะสังเกตว่าคนไทยนิยมรับราชการเพราะการเป็นข้าราชการเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ หรือมียศชั้นเป็นที่เกรงกลัว หรือเกรงใจของประชาชนมาเป็นเวลานาน ข้าราชการไม่ได้มีการปลูกฝังการรับใช้ประชาชนซึ่งประเทศประชาธิปไตยหัวใจสำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะว่าข้าราชการนั้นกินเงินภาษีอากรของราษฎร การทำงานราชการจึงไม่ควรเบียดบังราษฎรทั้งในแง่การใช้อำนาจหน้าที่, การไม่บริการประชาชนอย่างเสมอภาคกัน แต่ก็มีข้าราชการที่มีจิตสำนึกที่ดียังคงเป็นข้าราชการที่นิยมรับใช้ประชาชนมากกว่า การเปลี่ยนความคิดจิตใจแบบประชาธิปไตยนั้นนอกจากมีรัฐธรรมนูญที่รับประชาชนที่ดีซึ่งยังไม่เพียงพอ แต่ยังมีองค์ประกอบของการป้องกันการรัฐประหารโดยกลุ่มทหาร ซึ่งเป็นการเอาอำนาจของประชาชนไปใช้กับคนกลุ่มเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศที่มีความก้าวหน้า ดังนั้นประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่มีการรัฐประหาร และประชาชนมีวินัยในเรื่องประชาธิปไตย แต่การที่สังคมไทยขาดการอบรมกล่อมเกลาในเรื่องประชาธิปไตยมาเป็นเวลานาน ซึ่งบางครั้งก็เกิดกระแสประชาธิปไตย เช่นเหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งความตื่นตัวประชาธิปไตยเกิดจากนักเรียน,นิสิต,นักศึกษา ซึ่งเกิดจากสถานการณ์ที่เกิดการขับไล่จอมพลถนอม, ประภาส ที่ใช้อำนาจปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งเหตุการณ์ได้ล่วงเลยมาเป็นเวลา 38 ปี จากนั้นเป็นต้นมาการเรียนรู้ประชาธิปไตยของไทยค่อนข้างอ่อนแอ และขาดความต่อเนืองในการปลูกฝังจิตสำนึกประชาธิปไตย ไม่เป็นที่ปรากฎว่ารัฐบาลที่สนใจในการอบรมกล่อมเกลาวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตย แต่รัฐบาลในยุคทักษิณ ก็ได้เน้นการบริหารงานแบบมืออาชีพเน้นเศรษฐกิจในโลกาภิวัฒน์ แต่ทักษะเกี่ยวกับประชาธิปไตยนั้นก็ยังไม่ได้มีการส่งเสริมให้มีความรู้และจิตวิญญาณประชาธิปไตยนั้นตั้งแต่ระดับครอบครัว, โรงเรียน,มหาวิทยาลัย, สถานที่ทำงานไม่ว่าภาครัฐ,ภาคธุรกิจ และรัฐวิสาหกิจ ไม่มีการดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตย แต่ัสังคมไทยยังเน้นส่งเสริมวัฒนธรรมแบบระบบอุปถัมภ์ ทำให้การเข้าเรียน, เข้าทำงานกลายเป็นระบบอุปถัมภ์ค่อนข้างมากจนเป็นการบ่อนทำลายวิถีทางประชาธิปไตย บุคคลที่หวังความก้าวหน้าก็ต้องคอยหาผู้อุปถัมภ์เพื่อเป็นพรรคพวกรวมใจ และไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ได้ ทำให้สภาพสังคมจึงเกิดมีผู้ตามที่เป็นลักษณะการเออออห่อหมก และในที่ประชุมการแสดงความคิดเห็นจะน้อยมาก มีแต่เพียงการประชุมเพื่อรับทราบ, ประชุมรับคำสั่ง, การทำงานจึงเน้นการใช้คำสั่ง ก็จะมีเพียงภาคธุรกิจเท่านั้นที่ยังพอมีการแสดงความคิดเห็นกันได้ ดังนั้นจึงพอสรุปสาเหตุที่จำเป็นต้องมีประชาธิปไตยอัจฉริยะ คือ
1. ประชาชนควรรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ,รัฐสภา,หลักการประชาธิปไตยของปวงชน, การสร้างประชาคมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
2. ประชาชนควรได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรม,ค่านิยม, และระเบียบกฎเกณฑ์ที่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในการแสดงออกซึ่งการพูด,การเขียน,การแสดงความคิดเห็น โดยการหลอมวัฒนธรรมที่ส่งเสริมจิตวิญญานประชาธิปไตย โดยยึดหลักเสรีภาพ,ความเสมอภาค และภราดรภาพ ในทางปฏิบััิติ มิใช่เป็นเพียงทฤษฎี หรือเป็นเพียงนามธรรม แต่ประชาธิปไตยต้องเป็นรูปธรรม
3. ระบบการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่โรงเรียน,วิทยาลัย,มหาวิทยาลัย ควรรื้อปรับระบบประชาธิปไตยทั้งระบบ การร่างกฎเกณฑ์ควรเกิดจากประชาคมทั้งหน่วยงาน แต่มิใช่เป็นการเขียนกฎเกณฑ์โดยคนบางกลุ่ม หรือเฉพาะผู้บริหารเท่านั้น แต่ควรมีแบบจำลองประชาธิปไตยเป็นตัวอย่าง มีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทุกองค์การ
4. ข้าราชการควรเปลี่ยนเป็นข้าราษฎร เพื่อให้พนักงานองค์การราชการทำหน้าที่บริการ หรือรับใช้ประชาชน ซึ่งหมายความว่าประชาชนเป็นเจ้านาย มิใช่คนที่ทำงานภาครัฐเป็นนายของประชาชน
ดังนั้นควรมีองค์กรภาคประชาชนที่เข้มแข็ง หรือนักวิชาการที่มีจิตใจประชาธิปไตยเข้ามาถ่ายทอดหรือตรวจสอบระบบราชการทั้งระบบให้เป็นระบบการทำงานภาครัฐเป็นของประชาชน
5. สาเหตุมีการรัฐประหารบ่อยครั้ง ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีอำนาจประชาธิปไตย ดังนั้นการรัฐประหารนั้นกลับทำให้ประเทศไทยล้าหลังในประชาธิปไตย ดังนั้นประเทศไทยควรล้มเลิกการรัฐประหาร และอำนาจของประชาชนจึงเป็นอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด บุคคลที่ก่อการรัฐประหารเท่ากับเป็นการล้มล้างอำนาจของประชาชนซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
6. การเปลี่ยนแปลงให้คนไทยมีความฉลาดในเรื่องประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการพูด, การเคารพศักดิ์ศรีของประชาชน, การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคล, การอคติต่อแนวทางการปกครองแบบประชาธิปไตย ดังนั้นความฉลาดทางประชาธิปไตยจะทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนตื่นตัว และรักษาประชาธิปไตยให้มั่นคง ซึ่งนั้นหมายถึงประเทศไทยจะเจริญอย่างมากมาย เพราะประเทศไทยยังไม่เคยลิ้มรสประชาธิปไตยอย่างแท้ัจริงหลังจากการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
7. อัจฉริยะประชาธิปไตยจะต้องส่งเสริมสื่อประชาธิปไตย การอภิปรายในเชิงประชาธิปไตย บุคคลที่ทำหน้าที่สื่อมวลชนต้องมีจิตวิญญาณประชาธิปไตย แต่ในยุคปัจจุบันประชาชนไทยตื่นตัวระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างมากมายทั่วประเทศ ซึ่งนับว่านิมิตหมายที่ดี เพราะประชาธิปไตยไม่ได้ทำลายใคร, ไ่ม่ได้ทำให้ใครเสียผลประโยชน์ แต่ประชาธิปไตยทำให้คนทุกคนได้รับประโยชน์ และได้รับความสุขจากการปกครองเพราะเป็นการปกครองแบบไม่ได้เบียดเบียนประชาชน หรือไม่ได้มีการกดขี่ขูดรีดจากผู้มีอำนาจมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องดีงามและเป็นเรื่องที่ทำให้สังคมไทยมองโลกในเง่บวก และช่วยให้ชาติมีเศรษฐกิจมั่นคง,มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ถึงเวลานั้นประเทศจะเป็นประเทศที่ยอดเยี่ยม และมีศักดิ์ศรีไม่แพ้ใครในโลกนี้
การที่สังคมไทยมีการครอบงำประชาธิปไตยมาเป็นเวลานานกว่า 70 ปีมาแล้ว ทำให้ระบบการเมืองของไทยอ่อนแอ ขาดจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งบุคลิกภาพของชนชั้นนำได้มีการถ่ายทอดความคิดแบบอัตนิยม หรือความนิยมอำนาจค่อนข้างมาก ซึ่งจะสังเกตว่าคนไทยนิยมรับราชการเพราะการเป็นข้าราชการเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ หรือมียศชั้นเป็นที่เกรงกลัว หรือเกรงใจของประชาชนมาเป็นเวลานาน ข้าราชการไม่ได้มีการปลูกฝังการรับใช้ประชาชนซึ่งประเทศประชาธิปไตยหัวใจสำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะว่าข้าราชการนั้นกินเงินภาษีอากรของราษฎร การทำงานราชการจึงไม่ควรเบียดบังราษฎรทั้งในแง่การใช้อำนาจหน้าที่, การไม่บริการประชาชนอย่างเสมอภาคกัน แต่ก็มีข้าราชการที่มีจิตสำนึกที่ดียังคงเป็นข้าราชการที่นิยมรับใช้ประชาชนมากกว่า การเปลี่ยนความคิดจิตใจแบบประชาธิปไตยนั้นนอกจากมีรัฐธรรมนูญที่รับประชาชนที่ดีซึ่งยังไม่เพียงพอ แต่ยังมีองค์ประกอบของการป้องกันการรัฐประหารโดยกลุ่มทหาร ซึ่งเป็นการเอาอำนาจของประชาชนไปใช้กับคนกลุ่มเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศที่มีความก้าวหน้า ดังนั้นประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่มีการรัฐประหาร และประชาชนมีวินัยในเรื่องประชาธิปไตย แต่การที่สังคมไทยขาดการอบรมกล่อมเกลาในเรื่องประชาธิปไตยมาเป็นเวลานาน ซึ่งบางครั้งก็เกิดกระแสประชาธิปไตย เช่นเหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งความตื่นตัวประชาธิปไตยเกิดจากนักเรียน,นิสิต,นักศึกษา ซึ่งเกิดจากสถานการณ์ที่เกิดการขับไล่จอมพลถนอม, ประภาส ที่ใช้อำนาจปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งเหตุการณ์ได้ล่วงเลยมาเป็นเวลา 38 ปี จากนั้นเป็นต้นมาการเรียนรู้ประชาธิปไตยของไทยค่อนข้างอ่อนแอ และขาดความต่อเนืองในการปลูกฝังจิตสำนึกประชาธิปไตย ไม่เป็นที่ปรากฎว่ารัฐบาลที่สนใจในการอบรมกล่อมเกลาวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตย แต่รัฐบาลในยุคทักษิณ ก็ได้เน้นการบริหารงานแบบมืออาชีพเน้นเศรษฐกิจในโลกาภิวัฒน์ แต่ทักษะเกี่ยวกับประชาธิปไตยนั้นก็ยังไม่ได้มีการส่งเสริมให้มีความรู้และจิตวิญญาณประชาธิปไตยนั้นตั้งแต่ระดับครอบครัว, โรงเรียน,มหาวิทยาลัย, สถานที่ทำงานไม่ว่าภาครัฐ,ภาคธุรกิจ และรัฐวิสาหกิจ ไม่มีการดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตย แต่ัสังคมไทยยังเน้นส่งเสริมวัฒนธรรมแบบระบบอุปถัมภ์ ทำให้การเข้าเรียน, เข้าทำงานกลายเป็นระบบอุปถัมภ์ค่อนข้างมากจนเป็นการบ่อนทำลายวิถีทางประชาธิปไตย บุคคลที่หวังความก้าวหน้าก็ต้องคอยหาผู้อุปถัมภ์เพื่อเป็นพรรคพวกรวมใจ และไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ได้ ทำให้สภาพสังคมจึงเกิดมีผู้ตามที่เป็นลักษณะการเออออห่อหมก และในที่ประชุมการแสดงความคิดเห็นจะน้อยมาก มีแต่เพียงการประชุมเพื่อรับทราบ, ประชุมรับคำสั่ง, การทำงานจึงเน้นการใช้คำสั่ง ก็จะมีเพียงภาคธุรกิจเท่านั้นที่ยังพอมีการแสดงความคิดเห็นกันได้ ดังนั้นจึงพอสรุปสาเหตุที่จำเป็นต้องมีประชาธิปไตยอัจฉริยะ คือ
1. ประชาชนควรรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ,รัฐสภา,หลักการประชาธิปไตยของปวงชน, การสร้างประชาคมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
2. ประชาชนควรได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรม,ค่านิยม, และระเบียบกฎเกณฑ์ที่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในการแสดงออกซึ่งการพูด,การเขียน,การแสดงความคิดเห็น โดยการหลอมวัฒนธรรมที่ส่งเสริมจิตวิญญานประชาธิปไตย โดยยึดหลักเสรีภาพ,ความเสมอภาค และภราดรภาพ ในทางปฏิบััิติ มิใช่เป็นเพียงทฤษฎี หรือเป็นเพียงนามธรรม แต่ประชาธิปไตยต้องเป็นรูปธรรม
3. ระบบการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่โรงเรียน,วิทยาลัย,มหาวิทยาลัย ควรรื้อปรับระบบประชาธิปไตยทั้งระบบ การร่างกฎเกณฑ์ควรเกิดจากประชาคมทั้งหน่วยงาน แต่มิใช่เป็นการเขียนกฎเกณฑ์โดยคนบางกลุ่ม หรือเฉพาะผู้บริหารเท่านั้น แต่ควรมีแบบจำลองประชาธิปไตยเป็นตัวอย่าง มีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทุกองค์การ
4. ข้าราชการควรเปลี่ยนเป็นข้าราษฎร เพื่อให้พนักงานองค์การราชการทำหน้าที่บริการ หรือรับใช้ประชาชน ซึ่งหมายความว่าประชาชนเป็นเจ้านาย มิใช่คนที่ทำงานภาครัฐเป็นนายของประชาชน
ดังนั้นควรมีองค์กรภาคประชาชนที่เข้มแข็ง หรือนักวิชาการที่มีจิตใจประชาธิปไตยเข้ามาถ่ายทอดหรือตรวจสอบระบบราชการทั้งระบบให้เป็นระบบการทำงานภาครัฐเป็นของประชาชน
5. สาเหตุมีการรัฐประหารบ่อยครั้ง ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีอำนาจประชาธิปไตย ดังนั้นการรัฐประหารนั้นกลับทำให้ประเทศไทยล้าหลังในประชาธิปไตย ดังนั้นประเทศไทยควรล้มเลิกการรัฐประหาร และอำนาจของประชาชนจึงเป็นอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด บุคคลที่ก่อการรัฐประหารเท่ากับเป็นการล้มล้างอำนาจของประชาชนซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
6. การเปลี่ยนแปลงให้คนไทยมีความฉลาดในเรื่องประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการพูด, การเคารพศักดิ์ศรีของประชาชน, การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคล, การอคติต่อแนวทางการปกครองแบบประชาธิปไตย ดังนั้นความฉลาดทางประชาธิปไตยจะทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนตื่นตัว และรักษาประชาธิปไตยให้มั่นคง ซึ่งนั้นหมายถึงประเทศไทยจะเจริญอย่างมากมาย เพราะประเทศไทยยังไม่เคยลิ้มรสประชาธิปไตยอย่างแท้ัจริงหลังจากการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
7. อัจฉริยะประชาธิปไตยจะต้องส่งเสริมสื่อประชาธิปไตย การอภิปรายในเชิงประชาธิปไตย บุคคลที่ทำหน้าที่สื่อมวลชนต้องมีจิตวิญญาณประชาธิปไตย แต่ในยุคปัจจุบันประชาชนไทยตื่นตัวระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างมากมายทั่วประเทศ ซึ่งนับว่านิมิตหมายที่ดี เพราะประชาธิปไตยไม่ได้ทำลายใคร, ไ่ม่ได้ทำให้ใครเสียผลประโยชน์ แต่ประชาธิปไตยทำให้คนทุกคนได้รับประโยชน์ และได้รับความสุขจากการปกครองเพราะเป็นการปกครองแบบไม่ได้เบียดเบียนประชาชน หรือไม่ได้มีการกดขี่ขูดรีดจากผู้มีอำนาจมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องดีงามและเป็นเรื่องที่ทำให้สังคมไทยมองโลกในเง่บวก และช่วยให้ชาติมีเศรษฐกิจมั่นคง,มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ถึงเวลานั้นประเทศจะเป็นประเทศที่ยอดเยี่ยม และมีศักดิ์ศรีไม่แพ้ใครในโลกนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น