การจัดการประเทศเข้าสู่ยุคใหม่

      การบริหารงาน กับการจัดการ (Administration and Management) เป็นถ้อยคำที่ใช้ในลักษณะต่างกันกล่าวคือประการแรก การบริหารงานเป็นศาสตร์ (science) ส่วนการจัดการเป็นศิลป์ (Art) ประการที่สองการบริหารเป็นทฤษฎี,หลักการ,กรอบคิด,เป็นวิชาการ ส่วนการจัดการเป็นการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ (practice)และเป็นวิชาชีพ (profession) ประการที่สามการบริหารเป็นคำศัพท์ที่นิยมใช้ในภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ส่วนการจัดการเป็นคำที่นิยมใช้ในภาคธุรกิจเอกชน 
      ในการจัดการมีกระบวนการในแง่กิจการภาครัฐได้แก่ การวางแผน (planning), การจัดองค์การ (organizing),การจัดหาบุคลากร (staffing), การอำนวยการ (directing), การประสานงาน (coordinating), การรายงาน (reporting) และการงบประมาณ (budgeting)
      ในการจัดการมีทรัพยากรการจัดการ หรือการบริหารดังนี้ คือ 4 M's ประกอบด้วย Man,Money,Material,Management  และต่อมาก็มี 6 M's เพิ่มคำว่า Machine,Method  และต่อมาเพิ่มเป็น 7M's คือคำว่า Market
      ในการจัดการสิ่งที่มุ่งหวังปลายทางคือ ประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effective)
คำว่าประสิทธิภาพคือผลลัพท์ (output) ได้มากกว่าปัจจัยลงทุน (input)
       เมื่อมาพิจารณาการจัดการประเทศไทยของรัฐบาล ซึ่งเราสามารถแบ่งแยกลักษณะรัฐบาลไทยเป็นสองกลุ่มแนวทาง คือรัฐบาลที่จัดการโดยอาศัยแนวคิดแบบเก่า (classical management approach) ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้คือ
       1. ในด้านการวางแผนของรัฐบาลแนวคิดเก่า การวางแผนมีลักษณะใช้บุคลากรที่เป็นขุนนางข้าราชการ และนักวิชาการที่นิยมการบริหารแบบนี้  การวางแผนไม่ใคร่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นลักษณะประชานิยมแบบแจกของ,วัฒนธรรมการเมืองเป็นแบบไพร่ฟ้า การวางแผนมีลักษณะการตั้งรับ (reactive) มากกว่าเชิงรุก การกำหนดเป้าหมายจึงกำหนดแบบพอเหมาะพอดี ไม่ใคร่กล้าได้กล้าเสีย
       2. ในด้านการจัดองค์การ โครงสร้างองค์การเน้นสายการบังคับบัญชาแบบระบบราชการ ชอบการสั่งการ และการบังคับบัญชา การทำงานเน้นสั่งจากข้างบนลงล่าง
       3. ในด้านการจัดหาบุคลากร นิยมใช้ระบบอุปถัมภ์ กล่าวคือใช้คนที่รู้จักมักคุ้น มักเป็นคนหน้าเดิม ๆ ชอบบุคลากรที่ทำตามผู้ใหญ่ ไม่ชอบคนวิจารณ์ ชอบคนเออออห่อหมก มีลักษณะเกรงใจลูบหน้าปะจมก
       4. ในด้านการอำนวยการ ลักษณะผู้นำมีลักษณะการขาดความเป็นผู้นำ กล่าวคือไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของประชาชน, การสั่งการมีลักษณะใช้อัตวิสัย เป็นแบบคิดเองเออเอง และไม่สอดคล้องต่อภาวะวิสัยหรือสิ่งแวดล้อม
       5. ในด้านการรายงาน มักเชื่อผู้รายงานระดับรอง ๆ ลงมา บางครั้งขาดการตรวจสอบทำให้การรายงานผิดพลาด เพราะมีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารของผู้ปฏิบัิติงาน ไม่สามารถเข้าใจประชาชนที่เรียกร้องได้
       6. การงบประมาณ นิยมกู้เงินมา จัดสรรงบประมาณแบบขาดดุล แต่ไ่ม่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น  การจัดประมาณมีลักษณะเลือกปฏิบัติไม่ได้กระจายผลประโยชน์แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงทุกชนชั้น แต่ใช้วิธีเก็บภาษี หรือขึ้นราคาน้ำมัน ทำให้การครองชีพราษฎรฝืดเคือง ผลประโยชน์ได้เฉพาะเพียงบางกลุ่มเท่านั้น การจัดงบประมาณไม่ค่อยเน้นความอยู่ดีิกินดี เพราะรัฐบาลต้องจัดสรรเงินไปใช้หนี้ เงินงบประมาณไปทำในลักษณะที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อราษฎร
      ส่วนในด้านการจัดการทรัพยากรการบริหาร คือ
       1. คน รัฐบาลเก่าบริหารการศึกษาในยุคนี้มีการพัฒนาขึ้นมาระดับหนึ่ง เช่นมีทีวีครู, แต่การศึกษาฟรีไม่มีจริงจากผลงานวิจัย, คนส่วนใหญ่ง่อยเปลี้ยเพลียแรงเพราะจนกันทั่วหล้าเนื่องจากข้าวของแพง ค่าแรงต่ำ ธุรกิจขาดทุน อนาคตคนไทยไม่ก้าวไปข้างหน้า  อาจจะมีเพียงคนบางกลุ่มได้ดี หรือได้ผลประโยชน์จากความใกล้ชิดกับรัฐบาล
       2. เงิน ประเทศขาดเงินมีวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะต้องกู้เงินมามากถึง 1.5 ล้าน ๆบาท ไม่สามารถหาเงินเข้าประเทศได้ ทำให้รายได้ขาด เกิดการประท้วงของกลุ่มเสื้อสีทำให้รัฐบาลนำเงินไปใช้กับความมั่นคง และไม่สามารถปรองดองได้ ทำให้เงินของชาติไปสูญเสียกับสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์อันใด
และข้าวของแพงขึ้น มีการทุจริตคอรัปชั่นในหมุ่นักการเมืองและข้าราชการ หรือการเบิกงบประมาณเกินความเป็นจริง
       3. วัสดุ ประเทศมีการสั่งซื้อวัสดุเช่นอาวุธยุทโธปกรณ์มามากเกินความจำเป็น ในขณะที่เศรษฐกิจไม่ดี   งบประมาณทหารมีการใช้มากเกินผิดปกติ เงินไปหมดกับการซื้อกระสุน, อาวุธ,เครื่องบินราคาแพง ๆ, ถนนไร้ฝุ่น (มีข้อดีตรงที่ถนนวิ่งดีกว่าเดิม)
       4. วิธีการจัดการ เป็นการจัดการแบบระบบการบริหารแบบราชการ ไม่สันทัดวิธีการนำแนวคิดธุรกิจมาทำให้รัฐบาลมีรายได้  การจัดการทำให้ผลประโยชน์ไปตกอยู่กับคนบางกลุ่มบางเหล่า การจัดการเป็นแบบจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้  ข้อมุลข่าวสารเกี่ยวกับรัฐบาลไม่ค่อยโปร่งใส  ทำให้เกิดปัญหาการคอรัปชั่นอันดับที่ 78 และการบริหารเป็นลักษณะเน้นงานมากกว่าเน้นคน
       5. เครื่องจักร มีการจัดซื้อเครื่องจักรในภาคธุรกิจ แต่ภาครัฐอาจมีบ้าง
       6. วิธีการ มักเป็นวิธีเดิม ๆ ไม่ค่อยมีอะไรใหม่ เป็นการเลียนแบบผุ้นำเก่าที่เคยทำมา  จึงทำให้วิธีการยังไม่ค่อยทันสมัย หรือพัฒนาให้สอดคล้องต่อโลกาภิวัฒน์  ไม่ส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศถือเป็นหน้าที่ของเอกชน
       7. ตลาด มีการหดหาย นักธุรกิจโยกย้ายการลงทุนไปเวียดนาม, จีน,อินเดีย เพราะเมืองไทยมีความไม่สงบ รวมทั้งตลาดการท่องเที่ยวก็ประสบปัญหาการขาดทุนเช่นการบินไทย, ธุรกิจโรงแรม,รีสอร์ท ต้องอาศัยนักท่องเที่ยวคนไทยเป็นส่วนใหญ่
       สรุป การบริหารของรัฐบาลที่ผ่านมาส่วนใหญ่ได้รับการวิจารณ์ทั้งประชาชน, ภาคธุรกิจเอกชน,แม้กระทั่งชาวต่างชาติมองว่าขาดเสถียรภาพ, บ้านเมืองไม่มีความสงบ  แต่ก็ไม่ถึงกลับเสียหายอย่างแรงเหมือนวิกฤติครั้งปี พ.ศ.2539 เพราะรัฐบาลก่อนหน้านี้สร้างเงินสำรองไว้ในกองทุนการเงินระหว่างประเทศค่อนข้างดี ฯลฯ   ดังนั้นสิ่งสำคัญของรัฐบาลปัจจุบันก็คือต้องเหนื่อยเพราะเป็นการจัดการที่รัฐมีหนี้สินกับต่างประเทศค่อนข้างมากถึง 3 ล้านล้านบาท  หน้าที่ของรัฐบาลใหม่คือการกระจายรายได้, หารายได้เข้าประเทศให้มากโดยลงทุนให้น้อย, การจัดการแบบโลกาภิวัฒน์, ส่งเสริมการท่องเที่ยว, ปรับปรุงระบบราชการขนานใหญ่ด้วยกฎระเบียบทันสมัยพัฒนาอย่างรวดเร็ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง