วัฒนธรรมของความไว้วางใจทางการเมืองสร้างได้อย่างไร?
วัฒนธรรมของความไว้วางใจเป็นสิ่งจำเป็นในโลกยุคปัจจุบัน นั่นก็คือควรมีการจัดการดูแลคุณภาพประชาธิปไตย (democratic quality control circle) ซึ่งต้องมีการวางแผน (plan), ลงมือปฏิบัติ (do), ตรวจสอบ (check) ปรับปรุงแผนใหม่เพื่อทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม(action) ในทางการเมืองผุ้ที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยหากมีปัจจัยนำเข้า (input) มาดีก็เหมือนกับการคัดเลือกวัตถุดิบมาทำการผลิตมาดี เข้าสุ่กระบวนการ (process) ของการผลิตหรือการทำหน้าที่ทางการเมืองที่ดี ซึ่งหมายถึงการทำหน้าที่ของรัฐบาล,ฝ่ายนิติบัญญัติ, และฝ่ายตุลาการ ก็จะทำให้เิกิดผลดี (output) ได้ดี ทำให้ได้ผลสำเร็จทางการเมืองในระดับหนึ่ง และมีฝ่ายค้าน (ควรเรียกว่าฝ่ายสร้างสรรค์ทางการเมือง) ก็จะช่วยให้การเมืองแบบประชาธิปไตยเป็นไปได้ด้วยดี แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีผู้บริหารรัฐบาลประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี,รัฐมนตรี, รัฐมนตรีช่วย ฯลฯที่มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน และสามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ย่อมทำให้ประชาธิปไตยเป็นไปด้วยดี แต่หากการนำวัตถุดิบ หรือวิธีการได้อำนาจมาอย่างไม่ถูกต้องย่อมไม่สามารถปฏิบัติงานให้ได้ตามกระบวนการและผลลัพธ์ที่ได้มา เพราะผู้ได้อำนาจมาอย่างไม่ถูกต้องอาจไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง เพราะอาจทำตามผู้มีอำนาจเหนือกว่าและเมื่อได้รับอำนาจอย่างไม่ถูกต้องมา ก็จะทำให้ผู้ที่อยู่ในอำนาจมีความไม่สงบในจิตใจหรือขาดสมาธิในการเป็นผู้นำของประเทศ และเำกรงกลัวว่าจะมีผู้ต่อต้าน หรือผู้ที่รู้เท่าทัน ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่พอใจจนกระทั่งมองผู้ที่คัดค้านหรือเห็นต่างเป็นศัตรูไป ซึ่งในทางการเมืองนั้นเราควรมองว่าคนในประเทศไทยล้วนแต่เป็นมิตรกับเรา และวิธีการเข้าสู่อำนาจนั้นไม่ควรมีองค์กรใด ๆ เ้ข้ามาครอบงำการเมืองไทยเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง แต่ควรจะรวมตัวกันร่วมพัฒนาประเทศไทยให้เจริญ ดีกว่ามาขัดแย้งกันเองซึ่งไม่เกิดประโยชน์ บางครั้งการตรวจสอบจุกจิกหยุมหยิมมากเกินไป จะทำให้ชาติบ้านเมืองเสียหาย ซึ่งหมายถึงให้มองประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์่ส่วนตัว มองความก้าวหน้าของประเทศดีกว่าการปัดแข้งปัดขากัน มองเรื่องใหญ่มากกว่ามองเรื่องเล็ก, ใช้จิตใจแบบประชาธิปไตยที่มองโลกในแง่บวกดีกว่ามองโลกในแง่ร้าย ฯลฯ ก็จะช่วยให้สังคมไทยมีวัฒนธรรมที่มีความเชื่อถือไว้วางใจผู้อื่น ลดการคิดลบหรือคอยอิจฉาหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นอย่างไม่ยุติธรรม ซึ่งเรื่องนี้คิดว่าในต่างประเทศที่มีการพัฒนาประชาธิปไตยเมื่อการเลือกตั้งเสร็จแล้วเขาก็ให้การเคารพมติมหาชน ในทุกองค์กรราชการก็จะไม่กล้าก้าวก่ายแทรกแซงทางการเมือง การที่องค์กรแต่งตั้งมาอย่างไม่สง่างามและได้รับการยอมรับของประชาชนก็จะกลายเป็นที่คลางแคลงของประชาชนได้ หรือมีข้อสงสัยว่าองค์กรนั้น ๆ ได้รับคำสั่งจากใคร และกลายเป็นการฝืนมติมหาชนได้ หากจะตัดสินใจใด ๆ ก็มองเรื่องประเด็นใหญ่ของความผิดพลาด แต่ควรส่งเสริมให้คนแก้ไขความผิดพลาด แต่ไม่ใช่ลักษณะัจับผิด แต่ควรจะบอกว่าวิธีที่ถูกเป็นอย่างไร และไม่ตัดสินใจแบบสองมาตรฐาน เรื่องนี้เป็นความเสี่ยงอย่างมากขององค์การแบบราชการที่ต้องระมัดระวังในการวางตัวเป็นกลาง, ไม่กระทำแบบลับ,ลวง,พราง หรือเข้าฝักเข้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือผู้ที่ให้ผลประโยชน์กับตนเอง ทำให้ความเป็นกลางและน่าเชื่อถือไม่ดี ต้องแก้ไขการตบตาหลอกลวง หรือใช้กลลวงทำให้เป็นภาพลวงตาหากยังไม่มั่นใจในการตัดสินใจก็ควรยุติการตัดสินใจเพื่อลดทอนความผิดพลาด
สรุป การส่งเสริมวัฒนธรรมความไว้วางใจทางการเมือง ควรมีลักษณะเช่นนี้
1. การสร้างศรัทธาในประชาธิปไตยที่เป็นทิศทางเดียวกันและเป็นสากล มิใช่ประชาธิปไตย
ของความคิดของบุคคลเพียงบางกลุ่ม แต่เป็นประชาธิปไตยที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
ของความคิดของบุคคลเพียงบางกลุ่ม แต่เป็นประชาธิปไตยที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
2. นักการเมืองควรลดพฤติกรรมที่เป็นลักษณะการฉ้อโกง เช่นการซื้อเสียง, การส่งเสริมการทุจริตของ กกต., องค์กรอิสระ,ตุลาการ,ศาลรัฐธรรมนูญ
3. ส่งเสริมนักการทหารแบบมืออาชีพ มิใช่ทหารที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
ทำให้ภาพพจน์เสียหาย
ทำให้ภาพพจน์เสียหาย
4.ไม่ควรส่งเสริมการโค่นอำนาจรัฐด้วยวิธีการรัฐประหารเพราะเท่าักับเป็นการ
ประหารเสรีภาพ,ความเสมอภาค และภราดรภาพของประชาชน
5. นักการเมืองควรเป็นผู้มีบุคลิกน่าเชื่อถือ, มีความซื้อสัตย์ ไม่เป็นคนใช่เล่ห์เหลี่ยมกลโกง
หากใช้เล่ห์เหลี่ยมก็ควรเป็นเรื่องที่ไม่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย
6. ไม่ควรปลุกระดมประชาชนให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องประชาธิปไตย เช่นไม่ส่งเสริมการลากตั้งเข้ามา แต่ส่งเสริมการเลือกตั้ง ปล่อยใ้ห้กลไกประชาธิปไตยเดินไปธรรมชาติ ฝ่ายค้านควรอดทนรอคอย หากรัฐบาลทำไม่ดีก็อยู่ไม่นาน ไม่ควรใช้ความคิดของตนเองโดยไม่มีประชาชนหนุนนำเป็นจำนวนมากยอมรับ แต่นักการเมืองด้วยกันก็ควรเคารพเสียงส่วนน้อย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น