ปัจจัยแห่งความขัดแย้ง และกลยุทธ์แก้ความขัดแย้ง
ความขัดแย้งจัดว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ทั่วโลกมักเกิดขึ้นโดยทั่วไป การขัดแย้งก็ตรงหลักพระพุทธศาสนาว่าความขัดแย้งเมื่อเกิดขึ้น,ตั้งอยู่ และก็ดับไป ซึ่งหมายความว่าท้ายที่สุดความขัดแย้งทั้งหลายก็มีจุดดับ และตกผลึกในการยอมรับซึ่งกันและกัน หรืออาจใช้เทคนิคทางการเมือง และเทคนิคทางสังคมหรือวัฒนธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งย่อมต้องหาสาเหตุ, ปัจจัย,แนวทางแก้ปัญหา และสิ่งสำคัญคือการปฏิรูปวัฒนธรรมความเชื่อที่ไปกันได้ สำหรับสาเหตุแห่งความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในทางการเมืองนั้นมีดังนี้
1. ความขัดแย้งหลายครั้งมาจากการขัดแย้งระหว่างผู้นำกับผู้นำ เช่นบทบาทของผู้นำหนึ่งอาจไปกระทบต่อความคาดหวังในบทบาทของอีกผู้นำหนึ่ง เช่นผู้นำที่ยอมรับโลกาภิวัฒน์ (แบบโลกกว้าง)อาจขัดแย้งกับผู้นำแบบกะลาภิวัฒน์ (แบบแคบ) หรือเป็นความขัดแย้งทางเศรษฐกิจเช่นฝ่ายหนึ่งได้รับผลประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ อีกฝ่ายหนึ่งได้รับผลกระทบจากทุนนิยมอนุรักษ์ผูกขาด หรือเป็นความขัดแย้งทางสังคมที่ผู้นำกลุ่มหนึ่งต้องการให้สังคมก้าวไปข้างหน้า แต่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการให้สังคมเป็นแบบดั้งเดิม หรือเป็นความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่ฝ่ายหนึ่งมีความคิดการบริหารแบบก้าวหน้า อีกฝ่ายหนึ่งมีความคิดแบบการบริหารแบบโบราณ
2. ความขัดแย้งที่มีลักษณะฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายได้ อีกฝ่ายเป็นผู้เสียเปรียบ เป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้น ความคาดหวังในสังคมในแต่ละชนชั้นมีแต่การเพิ่มระดับ เหมือนราคาสินค้าข้าวของไม่มีลดลง เช่นคนชั้นสูงต้องการเกียรติมากขึ้น แต่คนรากหญ้าต้องการมีรายได้สูงขึ้น ส่วนคนชั้นกลางต้องการชีวิตที่ดีขึ้น ปรากฎว่าทุกชนชั้นมีแต่ความต้องการสูงขึ้น ยังหาผู้เสียสละไม่ค่อยได้ ดังนั้นรัฐบาลต้องการผสมผสานที่ทำให้ทุกฝ่ายทุกชนชั้นได้รับประโยชน์ในลักษณะ win-win game ความขัดแย้งจึงเป็นลักษณะการขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์เป็นส่วนใหญ่ แต่ท่าทีของนักการเมืองหรือบุคลิกทางการเมืองที่มีลักษณะประนีประนอม, ไม่แสดงการขัดแย้งออกนอกหน้าแบบรายวัน ดังนั้นภาวะบุคลิกในสังคมนี้จึงควรเป็นสงบสยบความเคลื่อนไหว นักการเมืองต้องนิ่ง, มีสมาธิ และใชััปัญญา ไม่ซัดส่ายตามสถานการณ์ กล่าวคือผู้นำต้องอยู่เหนือสถานการณ์ แต่ไม่ใช่สถานการณ์มีอำนาจเหนือผู้นำ ความใจเย็นและค่อย ๆ คิด หาวิธีการทำงานหรือประเด็นการทำงานที่ละลายปัญหาสังคม ในขณะเดียวกันก็สามารถดำรงเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ซึ่งต้องใช้วรยุทธ์ที่หนักเหนื่อยทีเดียว ข้อสำคัญการมีผู้นำผู้หญิงที่นุ่มนวลยอมชนะเหล็กที่แข็งแกร่ง, การเสียสละเอาชนะความเห็นแก่ตัว,เอาความดีชนะความชั่ว, เอาธรรมะชนะอธรรม การใช้โอกาสสร้างพันธมิตรต่างประเทศที่เห็นอกเห็นใจประเทศไทยที่บอบช้ำในการฟื้นฟู ตอนนี้ประเทศไทยเหมือนวิกฤติทางสังคม พอๆกับวิกฤติเศรษฐกิจ
3. ความขัดแย้งของสังคมไทย ทำให้เป็นลักษณะ "แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก" แต่เราเชื่อว่านารีขี่ม้าขาวคนนี้แก้ปัญหาประเทศได้ด้วยความเชื่อมั่น ด้วยแรงสนับสนุนของคนทุกฝ่าย อาจมีอุปสรรคขวากหนาม หรือมีคนคอยกลั่นแกล้งให้หวาดเสียวใจ แต่ก็ไม่สามารถจะล้มอำนาจของผู้นำสตรีคนนี้ได้ตามคำทำนายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เพราะพลังอำนาจที่เป็นคนกลุ่มก้อนเล็ก หรือพยายามจะใช้กลุ่มองค์กรเล็ก ๆ ที่จะมางัดค้างพลังประชาชนที่ยิ่งใหญ่ และมีอุดมการณ์ที่ดีกว่า
4. ข้อสังเกตุของความขัดแย้งคือคนไทยบางส่วนมองผู้นำเพียงรูปแบบ แต่ไม่มองเนื้อหาแก่นสาร เช่นการมองที่ผลงาน แต่ไปมองที่หน้าตาดูเท่ห์, ชาติตระกูล, การพูดจาดูดีแต่ไม่ดูผลงาน, ดูความผิดเล็กน้อยแต่ขยายไปใหญ่โตแต่ไม่สามารถมองความผิดของตนเอง ซึ่งคล้าย ๆ กับคนเรามีลัทธิความเชื่อไปคนละทาง หรือชอบคนพูดจาตะลบตะแลงดีกว่าคนตรงไปตรงมา, ชอบคนที่พูดจาดูดีสร้างภาพมากกว่าคนทำงานที่มีเนื้อหา
5. ความขัดแย้งที่บางครั้งไม่ใช่ความขัดแย้ง แต่สร้างสถานการณ์ให้ขัดแย้ง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีเหตุผลของความขัดแย้ง อาจเป็นเพราะผู้นำบางคนสร้างความขัดแย้งขึ้นมาเอง หรือจุดชนวนขึ้นมาเองซึ่งบางครั้งบทบาทผู้นำแบบนี้ไม่เหมาะสมในการโจมตีผู้นำด้วยกัน หรือไม่ให้เกียรติกัน ทำให้การแข่งขันกันเป็นลักษณะการล้มล้าง มากกว่าการขัดแย้งแบบคู่แข่งที่มีกติกาที่ดี ดังนั้นจึงอาจมีบุคคลบางกลุ่มสร้างกติกาเพื่อล้มอำนาจ และกีดกันผู้นำที่ประชาชนบางกลุ่มยอมรับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีที่ผู้นำเป็นผู้ก่อเหตุการสร้างความขัดแย้ง แต่ควรจะรอมชอมหรือประนีประนอม มิใช่การหักลำโค่นกันข้างใดข้างหนึ่ง แต่ควรจะเจรจาต่อรองเพือผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งเรื่องนี้คนไทยเรายังไม่ฉลาดหรือมีทักษะการยอมรับความแตกต่างทางความคิด และอุดมการณ์
6. ความขัดแย้งมิใช่เรืองเลวร้าย แต่ความขัดแย้งคือสิ่งที่ต้องแสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง ทำให้เกิดสิ่งท้าทายในการออกแบบความคิดเพื่อลดความขัดแย้ง แน่นอนความขัดแย้งทำให้ต้นทุนประเทศสูงเพราะแทนที่จะร่วมกันสร้างชาติ กลับไปทะเลาะเบาะแว้งกันเสียเวลา และทำให้ต่างชาติไม่อยากมาลงทุน ซึ่งไม่เรื่องฉลาด และประชาชนในชาติเสียหายทั้งประเทศ อยากให้ผู้นำเป็นผู้สร้างความสงบไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาล บางครั้งรัฐบาลทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านเสียเอง ทำให้ไม่มีเวลาทำงาน เพราะต้องหาวาทะกรรมมาทำให้ตัวเองดูดี แต่ทำให้ผู้นำอีกกลุ่มหนึ่งดูเสีย ผู้นำที่ดีไม่ควรแสดงบทบาท ก่อกวนความไม่สงบ เว้นแต่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนเท่านั้น
หยุดวุ่นวายก่อกวนเพื่อบ้านเมือง อย่ากวนน้ำในอ่างปลาให้ขุ่น หยุดคิดเห็นแก่ตัว ลองทำเพื่อผู้อื่นบ้าง รุ้จักยอมแพ้บางอย่าคิดเอาชนะอย่างเดียว โดยถือหลักว่า "แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร"
1. ความขัดแย้งหลายครั้งมาจากการขัดแย้งระหว่างผู้นำกับผู้นำ เช่นบทบาทของผู้นำหนึ่งอาจไปกระทบต่อความคาดหวังในบทบาทของอีกผู้นำหนึ่ง เช่นผู้นำที่ยอมรับโลกาภิวัฒน์ (แบบโลกกว้าง)อาจขัดแย้งกับผู้นำแบบกะลาภิวัฒน์ (แบบแคบ) หรือเป็นความขัดแย้งทางเศรษฐกิจเช่นฝ่ายหนึ่งได้รับผลประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ อีกฝ่ายหนึ่งได้รับผลกระทบจากทุนนิยมอนุรักษ์ผูกขาด หรือเป็นความขัดแย้งทางสังคมที่ผู้นำกลุ่มหนึ่งต้องการให้สังคมก้าวไปข้างหน้า แต่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการให้สังคมเป็นแบบดั้งเดิม หรือเป็นความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่ฝ่ายหนึ่งมีความคิดการบริหารแบบก้าวหน้า อีกฝ่ายหนึ่งมีความคิดแบบการบริหารแบบโบราณ
2. ความขัดแย้งที่มีลักษณะฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายได้ อีกฝ่ายเป็นผู้เสียเปรียบ เป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้น ความคาดหวังในสังคมในแต่ละชนชั้นมีแต่การเพิ่มระดับ เหมือนราคาสินค้าข้าวของไม่มีลดลง เช่นคนชั้นสูงต้องการเกียรติมากขึ้น แต่คนรากหญ้าต้องการมีรายได้สูงขึ้น ส่วนคนชั้นกลางต้องการชีวิตที่ดีขึ้น ปรากฎว่าทุกชนชั้นมีแต่ความต้องการสูงขึ้น ยังหาผู้เสียสละไม่ค่อยได้ ดังนั้นรัฐบาลต้องการผสมผสานที่ทำให้ทุกฝ่ายทุกชนชั้นได้รับประโยชน์ในลักษณะ win-win game ความขัดแย้งจึงเป็นลักษณะการขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์เป็นส่วนใหญ่ แต่ท่าทีของนักการเมืองหรือบุคลิกทางการเมืองที่มีลักษณะประนีประนอม, ไม่แสดงการขัดแย้งออกนอกหน้าแบบรายวัน ดังนั้นภาวะบุคลิกในสังคมนี้จึงควรเป็นสงบสยบความเคลื่อนไหว นักการเมืองต้องนิ่ง, มีสมาธิ และใชััปัญญา ไม่ซัดส่ายตามสถานการณ์ กล่าวคือผู้นำต้องอยู่เหนือสถานการณ์ แต่ไม่ใช่สถานการณ์มีอำนาจเหนือผู้นำ ความใจเย็นและค่อย ๆ คิด หาวิธีการทำงานหรือประเด็นการทำงานที่ละลายปัญหาสังคม ในขณะเดียวกันก็สามารถดำรงเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ซึ่งต้องใช้วรยุทธ์ที่หนักเหนื่อยทีเดียว ข้อสำคัญการมีผู้นำผู้หญิงที่นุ่มนวลยอมชนะเหล็กที่แข็งแกร่ง, การเสียสละเอาชนะความเห็นแก่ตัว,เอาความดีชนะความชั่ว, เอาธรรมะชนะอธรรม การใช้โอกาสสร้างพันธมิตรต่างประเทศที่เห็นอกเห็นใจประเทศไทยที่บอบช้ำในการฟื้นฟู ตอนนี้ประเทศไทยเหมือนวิกฤติทางสังคม พอๆกับวิกฤติเศรษฐกิจ
3. ความขัดแย้งของสังคมไทย ทำให้เป็นลักษณะ "แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก" แต่เราเชื่อว่านารีขี่ม้าขาวคนนี้แก้ปัญหาประเทศได้ด้วยความเชื่อมั่น ด้วยแรงสนับสนุนของคนทุกฝ่าย อาจมีอุปสรรคขวากหนาม หรือมีคนคอยกลั่นแกล้งให้หวาดเสียวใจ แต่ก็ไม่สามารถจะล้มอำนาจของผู้นำสตรีคนนี้ได้ตามคำทำนายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เพราะพลังอำนาจที่เป็นคนกลุ่มก้อนเล็ก หรือพยายามจะใช้กลุ่มองค์กรเล็ก ๆ ที่จะมางัดค้างพลังประชาชนที่ยิ่งใหญ่ และมีอุดมการณ์ที่ดีกว่า
4. ข้อสังเกตุของความขัดแย้งคือคนไทยบางส่วนมองผู้นำเพียงรูปแบบ แต่ไม่มองเนื้อหาแก่นสาร เช่นการมองที่ผลงาน แต่ไปมองที่หน้าตาดูเท่ห์, ชาติตระกูล, การพูดจาดูดีแต่ไม่ดูผลงาน, ดูความผิดเล็กน้อยแต่ขยายไปใหญ่โตแต่ไม่สามารถมองความผิดของตนเอง ซึ่งคล้าย ๆ กับคนเรามีลัทธิความเชื่อไปคนละทาง หรือชอบคนพูดจาตะลบตะแลงดีกว่าคนตรงไปตรงมา, ชอบคนที่พูดจาดูดีสร้างภาพมากกว่าคนทำงานที่มีเนื้อหา
5. ความขัดแย้งที่บางครั้งไม่ใช่ความขัดแย้ง แต่สร้างสถานการณ์ให้ขัดแย้ง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีเหตุผลของความขัดแย้ง อาจเป็นเพราะผู้นำบางคนสร้างความขัดแย้งขึ้นมาเอง หรือจุดชนวนขึ้นมาเองซึ่งบางครั้งบทบาทผู้นำแบบนี้ไม่เหมาะสมในการโจมตีผู้นำด้วยกัน หรือไม่ให้เกียรติกัน ทำให้การแข่งขันกันเป็นลักษณะการล้มล้าง มากกว่าการขัดแย้งแบบคู่แข่งที่มีกติกาที่ดี ดังนั้นจึงอาจมีบุคคลบางกลุ่มสร้างกติกาเพื่อล้มอำนาจ และกีดกันผู้นำที่ประชาชนบางกลุ่มยอมรับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีที่ผู้นำเป็นผู้ก่อเหตุการสร้างความขัดแย้ง แต่ควรจะรอมชอมหรือประนีประนอม มิใช่การหักลำโค่นกันข้างใดข้างหนึ่ง แต่ควรจะเจรจาต่อรองเพือผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งเรื่องนี้คนไทยเรายังไม่ฉลาดหรือมีทักษะการยอมรับความแตกต่างทางความคิด และอุดมการณ์
6. ความขัดแย้งมิใช่เรืองเลวร้าย แต่ความขัดแย้งคือสิ่งที่ต้องแสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง ทำให้เกิดสิ่งท้าทายในการออกแบบความคิดเพื่อลดความขัดแย้ง แน่นอนความขัดแย้งทำให้ต้นทุนประเทศสูงเพราะแทนที่จะร่วมกันสร้างชาติ กลับไปทะเลาะเบาะแว้งกันเสียเวลา และทำให้ต่างชาติไม่อยากมาลงทุน ซึ่งไม่เรื่องฉลาด และประชาชนในชาติเสียหายทั้งประเทศ อยากให้ผู้นำเป็นผู้สร้างความสงบไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาล บางครั้งรัฐบาลทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านเสียเอง ทำให้ไม่มีเวลาทำงาน เพราะต้องหาวาทะกรรมมาทำให้ตัวเองดูดี แต่ทำให้ผู้นำอีกกลุ่มหนึ่งดูเสีย ผู้นำที่ดีไม่ควรแสดงบทบาท ก่อกวนความไม่สงบ เว้นแต่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนเท่านั้น
หยุดวุ่นวายก่อกวนเพื่อบ้านเมือง อย่ากวนน้ำในอ่างปลาให้ขุ่น หยุดคิดเห็นแก่ตัว ลองทำเพื่อผู้อื่นบ้าง รุ้จักยอมแพ้บางอย่าคิดเอาชนะอย่างเดียว โดยถือหลักว่า "แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น