ค่าของคนอยุ่ที่ผลของงาน ค่าของความสามัคคีอยู่ที่การปรองดอง

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การให้ความสำคัญกับการสร้างชาติให้เจริญรุ่งเรือง สิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือการสร้างแรงจุงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Acievement society) คือสังคมสัมฤทธิ์ หมายถึงสังคมที่เน้นความสำเร็จคือสังคมที่คนมองโลกในแง่ดี หรือแง่บวก, เป็นสังคมของคนที่มองเป้าหมายกลาง ๆ, เป็นสังคมที่ยึดความสำเร็จของผลงานเป็นหลัก และไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนที่ประสบความสำเร็จจากการสร้างความร่ำรวยที่ไม่ใช้ความสามารถของตนเอง, หรือการหากินบนหยาดเหงื่อแรงงานโดยไม่ทำงาน ดังนั้นเราจะพบว่าสังคมสัมฤทธิคติให้ความสำคัญกับความสำเร็จในผลงานไม่ใช่ให้ความสำคัญกับความร่ำรวย หากจะรวยก็ต้องรวยจากมันสมองและปัญญาเท่านั้น แต่ไม่ใช่รวยจากการทำนาบนหลังคน ดังคำทั่ว่า "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" นั่นเอง    ดังนั้นในการบริหารประเทศการดูผลงานก็คือว่าสามารถตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือไม่?, การทำให้คนมีการกินดีอยู่ดีไม่มีหนี้สินหรือไม่?, การทำให้ประเทศเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหรือไม่?   ส่วนการที่บอกว่านักบริหารประเทศต้องเป็นคนดีมีคุณธรรมก็เป็นเพียงวาทะกรรมที่วัดไม่ได้ เพราะคนดีมีหลายแบบ, มีหลายลักษณะ เหมือนกับคนสวยคนหล่อก็มีสวยหลายแบบสวยหลายลักษณะ   ดังนั้นในการบริหารประเทศเขาดูกันที่ผลงานในด้านประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล,ประหยัด, คุณภาพ,การบริการ,การเฉลี่ยรายได้,การเฉลี่ยความสุขในภาพรวม  ไม่ใช่ภาพแยก     ดังนั้นองค์การเล็ก หรือองค์การที่ตั้งมาซึ่งไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอาจทำลายระบบการเมือง หรือทำลายระบบพรรคการเมืองได้  การทำลายดังกล่าวเท่ากับการทำลายประชาชน, ประเทศชาติ, บ้านเมืองให้เสียหาย  เว้นเสียแต่เป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ หรือแม้ว่าจะเป็นเสียงส่วนน้อยก็ต้องรับฟัง  เพียงแต่ให้ความสำคัญของเสียงส่วนใหญ่ หรือมติเสียงส่วนใหญ่   และบุคคลบางคนพยายามทำลายระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยโดยอาศัยกลไกที่ไม่ถูกต้องมาคัดค้านเีสียงของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศก็นับว่าขาดจิตวิญญาณนักประชาิธิปไตย กล่าวคือไม่อดทนต่อเสียงส่วนใหญ่ แต่ใช้เสียงส่วนน้อยครอบงำความคิด, และใช้อำนาจหรือกำลังเข้ามาจัดการ เท่่ากับว่าเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย  หรือการบ่อนทำลายความสงบสุขของประเทศ  และสิ่งหนึ่งที่สำคัญของประชาธิปไตยคือเสรีภาพ, ความเสมอภาค, และภราดรภาพ   โดยเฉพาะภราดรภาพนั้นหมายถึงควมรักกันฉันท์พี่น้อง ไม่ใช่การรังเกียจกัน  เช่นคนกลุ่มใหญ่เคารพรักอดีตผู้นำ เราก็ไม่ควรไปโมโหโกรธาและกล่าวหา หรือการแสดงความรังเกียจ เพราะถ้าหากเราอยู่ในสภาพแบบเขาเราก็คงรู้สึกเช่นกันว่าขนาดผู้นำที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างมากมาย และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ รวมทั้งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเรายังตั้งข้อรังเกียจ  เหมืือนกับรัฐบาลทหารพม่าตั้งข้อรังเกียจออง ซานซูจี   เพราะหากอองซาน ซูจี ให้ออกมามีสิทธิรับเลือกตั้ง ชาวพม่าก็เลือกตั้งเธอเป็นนายกรัฐมนตรี  แต่รัฐบาลทหารพม่าก็กักกันเธอไม่ให้มีบทบาท หรือไม่ให้มีสิทธิ์รับเลือกตั้ง  ในขณะที่นานาชาติให้การยกย่องเธอ   หากถามว่าอดีตผู้นำมีการคอรัปชั่นนั้นมีความผิดเรื่องคอรัปชั่น แต่ทำไมประชาชนถึงรักเขา  และทุกรัฐบาลก็มีการคอรัปชั่นกันทั้งนั้น  และอาจจะมากกว่ารัฐบาลชุดก่อน และทำความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากมาย  และมีเพียงบางคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์  ทิ้งให้คนส่วนใหญ่ของประเทศยากจนลง ทำลายฐานะเศรษฐกิจของคนรากหญ้าทำให้เขาไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ นอกจากนี้ยังได้ปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนตายมาก และรวมทั้งผู้บาดเจ็บที่ต้องเยียวยา  นี่หรือคือผลงานที่ดีที่ทำให้ประเทศถอยหลังลงคลองถึงขนาดนี้  การดูผลงานไม่ใช่งมงายตามวาทะกรรม แต่ผลงานดูจากภาพรวมไม่ใช่ว่าตนเองได้รับประโยชน์ก็บอกว่าดี ถ้าไม่ได้ประโยชน์ก็บอกว่าไม่ดี ซึ่งเป็นการพิจารณาที่คับแคบทางปัญญายิ่ง นั่นคือการดูผลงานแบบจุลภาค  แต่การดูผลงานเชิงมหภาคเป็นการดูผลงานภาพรวมของคนส่วนใหญ่ในประเทศ  ซึ่งคนที่มั่งมี, หรือมีฐานะมั่นคงควรให้ความเอื้ออาทรแก่ผู้ยากไร้บ้าง จึงจะเป็นความดีสุูงสุด  กล่าวคือไม่ใช่ความดีเฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่มบุคคล แต่เป็นความดีเชิงมหภาคคือความดีในภาพรวมของประเทศจากผลงานที่ปรากฎต่างหาก
       ส่วนค่าของความสามัคคีอยู่ที่การปรองดอง หมายถึงการที่ให้สังคมเป็นปรกติสุข ก็ต้องหาวิธีการที่ไม่ให้เกิดการใส่ร้าย,ป้ายสี,ใส่ความ หรือมีองคาพยพระบบราชการครอบงำสังคมทั้งประเทศ ทำให้เกิดการตัดสินคดีความไม่ยุติธรรม กลายเป็นระบบสองมาตรฐานซึ่งกลุ่มผู้ได้เปรียบในสังคม หรือผู้เป็นอภิสิทธิชนย่อมชอบวิธีนี้ แต่เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะกลายเป็นกฎหมายชนชั้น ไม่ใช่กฎหมายใช้กับประชาชนอย่างเสมอภาคทั้งประเทศ และหากกฎหมายออกมาจากการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกติกาของประชาชนแล้ว ก้เท่ากับว่าเราล้มอำนาจของประชาชนนั่นเอง แสดงว่าเราไม่รักประชาธิปไตยใช่หรือไม่ เพราะหากผู้ติดยึดผลประโยชน์ก็จะออกมาต่อต้าน แต่การกระทำของเขาไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม หรือมีวาทะกรรมเพ้อเจ้อที่ไม่มีหลักการมายืนยัน   ดังนั้นผู้วิจารณ์จะต้องหาเหตุผล และสังเคราะห์บูรนาการเหตุผลว่าความคิดนั้นถูกต้องหรือไม่, ใครได้รับผลประโยชน์, การกระทำนั้นส่งผลดีต่อส่วนรวมหรือไม่, ช่วยสร้างเศรษฐกิจของสังคมหรือไม่, จะเกิดผลเสียต่อคนส่วนใหญ่หรือไม่  ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว บุคคลที่เสียเปรียบทางเศรษฐกิจสังคมเป็นผุ้ที่น่าเห็นใจมากที่สุด ดังที่คานธีเคยกล่าวไว้ว่า นักปกครองที่ดีต้องให้ความสำคัญกับผู้ยากไร้ในประเทศก่อน  สิ่งนี้คือมหาบุรุษผู้เรียกร้องเอกราชให้กับอินเดีย  และสร้างความรักประเทศแก่อินเดีย      ท้ายที่สุดคือเราควรให้อภัยซึ่งกันและกัน เพราะบุคคลที่เป็นระดับผู้นำที่มีผลงานล้วนเป็นทรัพยากรมนุษย์ของชาติของแผ่นดิน เป็นทรัพย์สินของชาติ อย่าทำลายทรัพย์สินของชาติด้วยการมีมิจฉาทิฐิเลย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ