วิสัยทัศน์บาป 7 ประการตามทัศนะของคานธี

 
ทัศนะคานธี มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านได้ให้ข้อคิดที่เกี่ยวกับบาปของมนุษย์ 7 จำพวก ซึ่งยังคงเป็นสัจจธรรมอยู่ในทุกวันนี้    
           "Politics without principles,
          Pleasure without conscience,
       Wealth without work
          Knowledge without character,
           Commerce without morality,
        Science without humanity,
         Worship without sacrifice"

    1. เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ หมายถึงการเล่นการเมืองที่่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองโดยไม่คำนึงถึงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ หรือไม่ยึดหลักการของเสียงส่วนใหญ่ แต่มองว่าเสียงส่วนน้อยสำคัญกว่าเสียงส่วนใหญ่ การเล่นการเมืองมีลักษณะส่งเสริมการรัฐประหารแต่ไม่ส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตย รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่มบางคน เช่นเป็นคณาธิปไตย หลักการใหญ่ของประชาธิปไตยคือการที่มนุษย์มีสิทธิเสรีภาพ, ความเสมอภาค, และภราดรภาพ มิใช่มองปัญหาย่อยเป็นปัญหาใหญ่ และครอบงำความถูกต้องที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่านั่นคือไม่ควรยึดตัวบุคคล แต่ควรยึดหลักการประชาธิปไตย ไม่แอบอ้างตัวบุคคลเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
    2. หาความสุขสำราญโดยไม่ยั้งคิด หมายถึงผู้ปกครองหรือนักการเมืองมุ่งเสพสุข หลงไหลอำนาจอิทธิพลเพื่อสร้างความเกรงกลัว โกงเิงินจากประชาชนโดยวิธีที่แยบยลทำใ้ห้ราษฎรไม่ได้รับผลประโยชน์จากผู้ปกครอง หรือคนมีอำนาจ เพราะโกงกินจากงบประมาณไปจนหมด แถมยังสร้างภาระหนี้สินฝากความทรงจำแก่ราษฎรด้วย
    3. ร่ำรวยเป็นเอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน ซึ่งหมายถึงความร่ำรวยที่ไม่สุจริต ไม่ใช้ฝึมือหรือทักษะในการทำงานหาเงิน แต่หาเงินด้วยวิธีง่าย ๆ คือการทำสิ่งผิดกฎหมาย เช่นค้ายาเสพติด, การรีดไถเงินจากประชาชน, การใช้อิทธิพลซ่อนเร้นแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ ฯลฯ สำหรับสถิติในประเทศไทยคนรวยร้อยละ 20 มีทรัพย์สินร้อยละ 69 ส่วนคนร้อยละ 80 มีทรัพย์สินเพียงร้อยละ 31 ในจำนวนนี้มีคนกลุ่มมากที่ไม่มีทรัพย์สิน เงินฝากร้อยละ 0.9 มีเิงินฝากมากมายมหาศาลแต่มีบัญชี 70,000 กว่าบัญชีเงินฝากมากกว่า 10 ล้านบาทนอกนั้นมากกว่าร้อยละ 50ที่มีเงินฝากค่อนข้างน้อยแต่ความร่ำรวยเหล่านี้หากเป็นรายได้จากสุจริตก็เป็นเรื่องน่ายกย่อง แต่หากร่ำรวยจากการฉ้อโกงก็เป็นเรื่องที่ไม่ดีแก่ประเทศชาติ
    4. มีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี  ซึ่งหมายความว่าลำพังระบบการศึกษาอาจไม่สามารถสอนคนให้เป็นคนดีได้ เพราะการศึกษาส่วนใหญ่เน้นแต่การทำหากิน แต่ไม่เน้นการทำประโยชน์สังคม ทำให้คนมีความรู้มุ่งแต่หาเงินจนไม่มีเวลาสนใจปัญหาของสังคมซึ่งเรื่องนี้ยังเป็นปัญหาน้อยไมเท่ากับคนที่มีความรู้แต่อาศัยความรู้ทำสิ่งไม่ดีเช่นการคดโกง, การเอาเปรียบสังคม, การใช้อำนาจที่ไม่สร้างสรรค์ ฯลฯ หรือมีความรู้แต่ไม่ช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาสกว่า
    5. ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลธรรม คือเอาเปรียบแรงงาน พอขึ้นค่าจ้างก็โอดครวญ แต่ตัวเองร่ำรวยมหาศาลมีบ้านใหญ่โต, มีรถหลายคันจากการเอาเปรียบแรงงานมามากไม่ได้นึกถึงความถูกต้อง แทนที่จะเสียสละเพื่อสร้างคนงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี  การเป็นเศรษฐีแบบนี้นับวันสังคมก็จะดูแคลน และไม่ให้ความเคารพนับถือหากเป็นคนที่ไม่คิดเจือจาน หรือนึกถึงประชาชนที่ลำบากยากจน
    6. วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์  คิดค้นวิทยาศาสตร์ทำให้มนุษย์ต้องเข่นฆ่ากัน เช่นการคิดระเบิดปรมาณู ผู้นำมาใช้ในสงครามเป็นผู้นำประเทศ แต่ไอน์สไตน์ถึงกับหลั่งน้ำตา เพราะเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่คำนึงถึงความเมตตาธรรม ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นอะไรมากมายก็อาจทำลายสิ่งแวดล้อม, ทำลายธรรมชาติ
    7. บูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ หมายถึงบูชาพระ, บูชาเทพเจ้า หรือบูชามนุษย์ด้วยกัน แต่ไม่มีธรรมะในใจหรือความเสียสละ จึงทำให้สังคมเดือดร้อน เพราะความหลงไหลไปในทางที่ผิด หรือความเชื่อที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความหลงไหลในทางที่ผิด หลงบูชาสิ่งผิด หรือไสยศาสตร์เพื่อเป็นที่พึ่งแต่เกิดจากสังคมขาดการเสียสละทำให้คนต้องหาที่พึ่งผิด ๆ  การเสียสละไม่จำเป็นต้องเป็นเงินทองเสมอไป แต่ความเสียสละหมายถึงการยินยอมให้โอกาสเพื่อนมนุษย์ได้รับสิ่งดีสูงสุด ซึ่งเป็นวิธีแบบประชาธิปไตย
         สรุป ถึงเวลาที่นักการเมืองควรเล่นการเมืองโดยมีหลักการ แต่ไม่เล่นกลการเมือง, ให้โอกาสคนอื่นที่ไม่มีโอกาสเหมือนเรา,คนรวยควรช่วยคนจน, คนมีโอกาสช่วยคนไร้โอกาส, คนมีความรู้ช่วยกันขจัดความโง่ของมนุษย์, พ่อค้านักธุรกิจไม่ค้าขายเอาเปรียบคนจน, รวมทั้งมีความคิดวิทยาศาสตร์ที่แสวงหาความจริงอย่างมีเมตตาธรรม จึงจะนับว่าเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐที่เิิกิดมาครั้งหนึ่งในชีวิต




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง