การพัฒนาระบบการศึกษา เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
การศึกษาเพื่อปวงชน เป็นการศึกษาที่ให้โอกาส และความเท่าเทียมกันของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในกลุ่มที่ยากจน และขาดโอกาสทางการศึกษาเพราะความยากจน ไม่สามารถเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพได้ โดยเฉพาะคนในเมืองมีเงินที่จะเรียนกวดวิชา, มีอาจารย์ดี ๆ คอยถ่ายทอดวิชาหรือการเตรียมสอบได้ ทำให้คนจนไร้โอกาสเรียนเนื่องจากการขาดทุนรอนยังไม่เพียงพอ แต่ทุนการศึกษายังมีน้อย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ของการศึกษาในแต่ละระดับการศึกษา เพราะโครงสร้างการศึกษาไทยนั้นยังมีการครอบงำด้วยระบบอำนาจนิยม (authoritarian) และเน้นระบบสายการบังคับบัญชาแบบระบบราชการแบบโบราณ ทำให้มีการแบ่งขีดขั้นของยศชั้นตำแหน่งต่าง ๆ รวมถึงระบบการศึกษาในทุกระดับของภาคเอกชนก็อิงระบบราชการ ทำอย่างไรระบบการศึกษาไทยจึงจะสร้างอิสรภาพในการเรียนของผู้เรียน ซึ่งหมายความว่าผู้เรียนปรารถนาจะเรียนอะไรก็เป็นความต้องการของผู้เรียน มิใช่การเรียนในกรอบที่มหาวิทยาลัยกำหนดแต่เพียงอย่างเดียว และการศึกษายังไม่สามารถเท่าทันต่อความก้าวหน้าในโลกาภิวัตน์ของโลก คงไม่มีประเทศใดที่สามารถบรรลุการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนหากปราศจากการลงทุนอย่างสำคัญในทุนมนุษย์ การศึกษาสร้างความเข้าใจอย่างลุ่มลึกเกี่ยวกับตัวของเราเอง และของโลก เพื่อปรับปรุงคุณภาพการดำรงชีพและนำไปสู่ผลประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อปัจเจกชน และสังคม การศึกษาที่ดีควรเพิ่มผลผลิตและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship) และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งรัฐบาลในยุคของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีโครงการส่งเสริมกองทุนตั้งตัวได้ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้นักศึกษาที่จบไปแล้วไม่จำเป็นต้องไปเป็นลูกจ้างอย่างเดียว แต่สามารถเป็นเถ้าแก่น้อยได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งในหลายประเทศผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพมีค่อนข้างมากพอสมควร โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้การศึกษายังมีบทบาทสำคัญในการเยียวยาเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางสังคมและนำไปสู่การกระจายรายได้ แต่สำหรับการศึกษาไทยยังเป็นระบบการศึกษาที่เน้นไต่เต้าทางสถานภาพมากกว่าการสร้างความก้าวหน้าแก่ประเทศ ดังนั้นคนไทยจึงนิยมการศึกษาเพื่อยกระดับชนชั้น และมีตำแหน่งยศชั้น และตอบสนองบุญคุณแก่ผู้มียศชั้นสูงกว่าแทนที่จะตอบแทนบุญคุณประชาชน และช่วยกันการสร้างผลผลิตประชาชาติ
จุดประสงค์ที่สำคัญในการแสดงบทบาทการศึกษาในการพัฒนาเศรษฐกิจ และผลกระทบเกี่ยวกับการศึกษาในเรื่องผลผลิตของแรงงาน, ความยากจน,การค้า, เทคโนโลยี,สุขภาพ,การกระจายรายได้ และโครงสร้างครอบครัว การศึกษาควรจะตอบสนองพื้นฐานการพัฒนา, งานขั้นพื้นฐานที่ทำให้ความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดีขึ้น นั่นคือค่านิยม และประสิทธิภาพของแรงงาน โดยช่วยให้ยกระดับความยากจนสำหรับคนยากจน และเป็นการเพิ่มผลผลิตทั้งหมดและความยืดหยุ่นทางปัญญาเกี่ยวกับกำลังแรงงาน ซึ่งทำให้มั่นใจว่าประเทศมีการแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งเป็นลักษณะโดยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและวิธีการผลิต จากการเพิ่มการบูรนาการของเด็กนักเรียนซึ่งเกิดจากกลุ่มที่มีเชื้อชาติและกลุ่มสังคมที่ต่างกันตั้งแต่เริ่มต้นในชีวิต การศึกษาเป็นการตอบสนองต่อการสร้างชาติและทำลายกำแพงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
เหตุผลกลใดที่ระบบการศึกษาจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา
ปัจจุบันรัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนา แต่อุปสรรคสำคัญคือระบบการศึกษายังเป็นระบบเก่า หากส่งเสริมระบบการศึกษาไม่ถูกจุดก็จะเป็นการสิ้นเปลือง และอาจไม่ก่อให้เกิดผลในเชิงประสิทธิภาพ ควรมีการรื้อระบบการบริหารการศึกษาทั้งหมด โดยหาบุคลากรที่มีความคิดใหม่, มีสปิริตไม่ติดยึดเก้าอี้ โดยควรส่งเสริมให้มีหน่วยงานพัฒนาองค์การเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่ทันสมัย และพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ก้าวหน้า โดยมีอำนาจที่ขึ้นโดยตรงต่อการตัดสินใจของคณะรัฐบาล มิใช่หน่วยงานแบบเสือกระดาษ โดยส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนที่มีความคิดก้าวหน้ามาช่วยดูแลการบริหารงานและเป็นการเพิ่มพลังอำนาจประชาชนและทำให้ชาติเข้มแข็ง มันเป็นสิ่งเท่าเทียมที่ทรงพลังอำนาจในการเปิดประตูต่อการยกระดับความยากจนของพวกเขาให้หมดไป เป็นเรื่องที่วิพากย์ต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาในยูคสหสวรรษ ซึ่งได้แก่การสร้างความสมบูรณ์ขั้นพื้นฐานที่เป็นสากล และความแตกต่างทางเพศในระดับโรงเรียนประถม และมัธยม ยิ่งกว่านั้นการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของสตรีมีผลกระทบทางตรงและเป็นผลกระทบที่พิสูจน์แล้วเกี่ยวกับเป้าหมายที่เชื่อมโยงกับเด็ก และสุขภาพที่ดี และมีสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การศึกษานอกจากจะส่งเสริมความเติบโตทางเศรษฐกิจแล้ว,ผลผลิตประชาชาติและนวัตกรรมและค่านิยมในระบอบประชาธิปไตย และความแนบแน่นทางสังคม
ปัจจัยสำคัญในการศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทย
ก่อนศตวรรษที่ 19, การลงทุนอย่างเป็นระบบในทุนมนุษย์ไม่ได้พิจารณาว่าเป็นเรื่องสำคัญในประเทศใดๆ ก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียน, การฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงาน สิ่งนี้เริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในช่วงศตวรรษนี้ด้วยการนำศาสตร์มาประยุกต์ต่อการพัฒนาสินค้าและวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น, โดยเริ่มจากสหราชอาณาจักร และแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ
ในช่วงศตวรรษที่ 20, การศึกษา,ทักษะ และการได้มาซึ่งความรู้กลับมาเป็นปัจจัยสำคัญของผลผลิตบุคคลและของชาติ สิ่งหนึ่งที่สามารถเรียกร้องในศตวรรษที่ 20 ในยุคทุนมนุษย์ในความรู้สึกว่าปัจจัยพื้นฐานของมาตรฐานการดำรงชีวิตของประเทศเป็นวิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการปรับปรุงและการนำทักษะ และความรู้ไปใช้ประโยชน์ และส่งเสริมสุขภาพและการศึกษาของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
ไม่มีประเทศใดที่บรรลุการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมั่นคงโดยปราศจากการลงทุนในทุนมนุษย์ จากการศึกษาในอดีตที่ผ่านมาได้แสดงถึงผลตอบแทนอย่างดีในรูปแบบที่แตกต่างกันของการสะสมทุนมนุษย์ การกระจายเนื้อหาสาระการศึกษา การศึกษาที่ไม่มีความเท่าเทียมกันมีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบทางลบต่อรายได้ต่อหัวในหลายประเทศ ยิ่งกว่านั้นการควบคุมการกระจายทุนมนุษย์ และการใช้บุคคลที่มีความเหมาะสมเฉพาะตำแหน่งตามหน้าที่การงานที่สอดคล้องกับตัวอย่างการกระจายทรัพย์สิน การสร้างความแตกต่างสำหรับผลกระทบต่อการศึกษาโดยเฉลี่ยรายได้ต่อหัว ในขณะที่ความล้มเหลวในการปฏิบัติงานนำไปสู่สิ่งที่ไม่ใช่นัยสำคัญและแม้แต่ผลกระทบทางลบของการศึกษาโดยเฉลี่ย การลงทุนในทุนมนุษย์สามารถมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยในการเติบโตโดยไม่มีบุคคลที่สามารถใช้การศึกษาในตลาดการแข่งขันและเป็นตลาดแบบเปิด ยิ่งมีการแข่งขันกันมากเท่าใดในตลาดเหล่านี้ ยิ่งทำให้ความคาดหวังสำหรับการใช้การศึกษา และทักษะมากขึ้นตามไปด้วย
สรุป การศึกษาของไทยควรนำมาพัฒนาอย่างสำคัญ เพราะเป็นการถักทอจิตสำนึกของประชาชนให้เป็นการศึกษาที่รับใช้ปวงชน แต่มิใช่การศึกษาในระบบรับใช้คนมีอำนาจ เพื่อให้การศึกษาได้เปิดกว้างในการนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาการศึกษาจะต้องแก้ไขรากเง่าที่ทำให้สถาบันการศึกษามิได้ช่วยพัฒนาชาติ หรือพัฒนาเศรษฐกิจ หรือการศึกษาที่ไม่ได้ยกระดับประชาชนคนยากจนให้มีโอกาสเท่าเทียมในสังคม รวมทั้งสร้างสรรค์ระบบประชาธิปไตยในสถาบันการศึกษาให้มีจิตสำนึกอย่างสำคัญ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น