นักการเมืองไม่ควรทำลายการเมือง ประชาชนที่เป็นเสียงส่วนน้อยทำลายเสียงส่วนใหญ่

       นักการเมืองที่ดีไม่ควรทำลายการเมืองด้วยการหาเรื่องจับผิดเพื่อโค่นล้มอำนาจนักการเมืองด้วยกันเอง เพราะการเมืองเป็นเรื่องของใครทำอะไรที่ใหน, เมื่อไร,อย่างไร ก็ตามแต่การยอมรับสปิริตทางการเมืองด้วยการยอมรับผลการเลือกตั้ง หรือเสียงของประชาชน  และข้อสำคัญนักการเมืองด้วยกันเองควรแสดงการยอมรับมติมหาชนส่วนใหญ่ ไม่ใช่เป็นการฝืนมติ และเป็นการไม่ให้เีกียรติแก่นักการเมืองด้วยกันเอง  หากสังคมไม่ยอมรับการเมือง และทำลายระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยแล้ว  อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไร ในเมื่อสังคมที่สงบเรียบร้อยเป็นสังคมแห่งความเจริญ   หากการเมืองไม่นิ่งแล้วนักการเมืองกลับจะต้องมีความขัดแย้งเพิ่มขึ้นไป   การมีน้ำใจนักกีฬาแสดงออกถึง "การรู้แพ้, รู้ชนะ,รู้อภัย  ซึ่งเป็นสปริิตสำคัญของมนุษย์ แต่กลับมีการตีรวนทางการเมือง และการใช้วาทะกรรมรายวันที่ไม่ยอมแพ้  เหมือนกับการแข่งขันกีฬาเมื่อเราแพ้แล้ว เมื่อแพ้เกมส์แล้วเราควรจะยอมรับโดยดุษฎี แต่เมื่อยอมแพ้แล้วแต่กลับมีประชาชนคนบางกลุ่มซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อย  และเป็นกลุ่มคนที่สนับสนุนพรรคการเมืองที่แพ้ แต่ทำไมถึงตีรวน กลายเป็นลักษณะอาการขี้แพ้ชวนตี  ควรยอมรับผลการเลือกตั้ง และเป็นการแสดงในเรื่องมารยาททางการเมือง  ซึ่งเป็นลักษณะการเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้ว   และสิ่งหนึ่งที่สะท้อนทำให้ระบบการเมืองแบบป่วนเมือง หรือประชาธิปไตยแบบป่วนเมือง เกิดจากการออกกฎหมายที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเรื่องไม่ดีงาม หรือไม่สง่างาม  บุคคลที่เป็นกลองเชียร์ฝ่ายแพ้กลับแสดงอาการเหมือนคนไม่ยอมแพ้ และที่น่าเป็นห่วงว่าองค์กรอิสระนั้นได้วางตัวเป็นกลางทางการเมืองหรือไม่  ควรที่องค์กรอิสระ ศาลต่าง ๆ ได้ใช้อำนาจโดยมองประชาชนเป็นหลัก หรือเสีียงส่วนใหญ่เป็นหลัก เพราะไม่เช่นนั้นเท่ากับองค์กรที่ตั้งขึ้นมาจากการแต่งตั้งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมาตัดสินเลือกตั้งของประชาชน โดยถือหลักว่า "ผู้มาจากเลือกตั้งย่อมมีความสำคัญกว่าการแต่งตั้ง" เพราะผู้มาจากการแต่งตั้งไม่ได้มาจากฉันทามติของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ