การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย (Autonomous university)

      มหาวิทยาลัยคือแหล่งของผู้มีปัญญา หรือแหล่งปั้นปัญญาชน ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้ผลิตนักศึกษาออกไปรับใช้สังคมประเทศชาติ  สิ่งสำคัญของการปฏิรูปมหาวิทยาลัยคือการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผล และความเป็นเลิศทางวิชาการในการออกนอกระบบ แต่ยังอยู่ภายใต้การดูแล และการให้เงินสนับสนุนจากรัฐ (blog grant) ซึ่งหน้าที่ของมหาวิทยาลัยโดยทั่วไปมีดังนี้ ก.สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ ข.บริการชุมชน  ค. วิจัยและพัฒนา และ ง.รักษาประเพณีวัฒนธรรม  การที่มหาวิทยาลัยสามารถบริหารได้อย่างอิสระก็จะมีข้อดีข้อเสีย ข้อจำกัด และปัญหาที่เกิดขึ้นดังนี้
    ข้อดี คือมหาวิทยาลัยมีความคล่องตัวในการบริหารงาน, กำหนดค่าตอบแทนตามความต้องการได้ รวมทั้งการบริหารงานไม่อิงกับกฎเกณฑ์ระเบียบทางราชการมากเกินไป สามารถจัดการได้โดยอิสระทำให้การบริการประชาชน หรือนักศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ
    ข้อเสีย หากมหาวิทยาลัยมีอิสระมากเกินไปจะเกิดปัญหาการบริหารการเงิน หรือการประเมินผลงานที่ไม่รอบด้าน เกิดการใช้งบประมาณรั่วไหลจากการเน้นสร้างอาคาร และสิ่งก่อสร้างมากเกินไป เช่นจำนวนห้องเรียนกับผู้เรียนไม่สมดุล การใช้ห้องเรียนไม่เต็มที่, การว่าจ้างอาจารย์หรือพนักงานที่อาจให้คุณให้โทษหรือไม่ยุติธรรม  สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาคือการกำหนดการจัดการยุทธศาสตร์ภาครัฐในด้านการใช้จ่าย และมีการตรวจสอบผลงานกับเงินงบประมาณที่ใช้สัมฤทธิผลหรือไม่ รวมทั้งระบบการว่าจ้างบุคคลากรเช่นอาจารย์ หรือเจ้าหน้าที่ที่มีหน่วยงานบริหารทรัพยากรมนุษย์กลางมาใช้  โดยจัดให้มีการสอบคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับมาตรฐาน
    ข้อจำกัด การปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ หรือมหาวิทยาลันในกำกับรัฐมีขั้นตอนการนำเสนอมากเกินไป ทำให้เกิดความล่าช้า และมีการต่อต้านในการนำระบบมาใช้ ทำให้การออกกฎหมายของสภาล่าช้า  จนไม่สามารถจะทำให้เกิดประสิทธิผลได้อันเนื่องจากแนวคิดแบบนักวิชาการขุนนางอาจมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
    ปัญหาที่คุกคาม คือฝ่ายบริหารหากมีอำนาจมากเกินไป หรือไม่สามารถตรวจสอบได้จากกรรมการสภามหาวิทยาลัย หรือกรรมการสภาคณาจารย์ ก็จะไม่สามารถแก้ปํญหาช่องทางทุจริตได้ และหากผู้บริหารมหาวิทยาลัยล๊อบบี้กรรมการสภามหาวิทยาลัย หรือกรรมการสภาคณาจารย์เป็นพวกของตนเองในลักษณะแลกเปลี่ยนประโยชน์ และผูกขาดอำนาจก็ยิ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อการใช้งบประมาณ 
   ข้อเสนอแนะ คือต้องผลักดันอย่างรวดเร็ว เช่นการออกนอกระบบมหาวิทยาลัยตัวอย่างได้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้เป็นตัวอย่างของสังคม ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ควรดำรงตำแหน่งนานเกินไป และเปิดโอกาสคนรุ่นใหม่ ๆ เข้าสู่ตำแหน่ง หากมหาวิทยาลัยมีการสร้างอาณาจักรมากเกินไปก็จะทำให้อาจารย์มีขวัญกำลังใจตกต่ำ มีผลกระทบต่อการความก้าวหน้าในตำแหน่งและในทางวิชาการ  สิ่งสำคัญก็คือมหาวิทยาลัยควรมีผู้บริหารมืออาชีพที่มีความสามารถรอบด้าน (Generalist) แต่มิใช่ (Specialist) ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกลกว่าผู้บริหารที่รอบรู้ในวงแคบ    รวมทั้งกำหนดผู้สอนต้องมีคุณวุฒิเหมาะสมกับงานสอน และกำหนดสัดส่วนผู้สอนภายใน กับผู้สอนภายนอก  หากไม่แก้ไขประเด็นนี้มหาวิทยาลัยก็ไม่ผิดกับระบบราชการที่ทำงานเข้าชามเย็นชาม มีแต่วิสัยทัศน์แต่ไม่สามารถทำได้  ก็จะเป็นผลเสียต่อการสร้างคนให้กับสังคมในเชิงคุณภาพได้ตามมาตรฐาน  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ