ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อนักการเืมืองไทยในปัจจุบัน

      การเมืองโดยความหมายแล้วคือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างชาติ และช่วยเหลือมวลประชาชน ที่ประสบปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ภายใต้การเมืองไทยในปัจจุบันจึงเป็นโอกาสทองสำหรับนักการเมืองที่จะทุ่มเทการทำงานด้วยความจริงใจเพื่อผลประโยชน์ของชาติเช่นเดียวกับผลประโยชน์ของสาธารณะทั่วไปเพื่อจะได้ผลสมความมุ่งหมาย   การเป็นนักการเมืองที่เป็นคนของประชาชนนั้นไม่จำเป็นต้องออกหาเสียงเพื่อเคาะประตูตามบ้าน แต่ประชาชนก็จะเป็นผู้เลือกโดยไม่จำเป็นต้องแข่งขัน  เพียงแต่มีการซื้อเสียงซึ่งประชาชนจะได้เงินมาเพียงชั่วครู่ชั่วขณะแต่เมื่อหลังจากที่นักการเมืองได้เ้ป็นผู้แทนแล้ว เขาก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบดังคำอุปมาที่ว่า "การเมืองที่สร้างสรรค์สิ้นสุดจากตัวนักการเมือง เมื่อประชาชนเริ่มต้นซื้อเสียง"  หรืออาจจะเจอคำอุปมาที่คล้ายกันสำหรับการเมืองแบบไม่สร้างสรรค์คือ "ความดีของมนุษย์สิ้นสุด เมื่อมนุษย์เข้าสู่สนามการเมือง"
ซึ่งคำกล่าวดูเหมือนจะจริงทีเดียวเพราะคนไทยบางคนนิยมรับเงินจากนักการเมือง แต่ไม่รู้ว่าการเลือกตั้งนักการเมืองหากเลือกไม่ดี ชีวิตของเขาจะต้องเจ็บปวดไปอีกนานถึง 4 ปี เพราะได้นักการเมืองที่ไม่ดีทำให้ผลงานจึงออกมาไม่ดีตามไปด้วย  ส่วนนักการเมืองที่อาจจะทำผลงานได้ดีแสนดีก็ยังจะมีคนโจมตี ทำให้ความดีของเขาสิ้นสุด เพราะอาจจะถูกโจมตีใส่ร้ายป้ายสีจนหมดรูป หรือถูกดิสเครดิตทางการเมือง แต่ผลงานที่ประจักษ์ก็ทำให้ประชาชนจำนวนมากออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนอย่างมากมาย มิใช่เป็นเพราะประชาชนเป็นเครื่องมือของนักการเมือง ซึ่งอาจจะมีอยู่บ้าง แต่ผลสะท้อนภาพรวมที่ออกมาถึงแรงสนับสนุนจากคนทั้งประเทศทำให้เป็นภาพว่า"ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน"การที่คนเราจะทำให้ประชาชนเป็นที่เคารพรักได้นั้น คงไม่หนีความดีที่ทำให้กับชาติบ้านเมืองเป็นแน่แท้รวมถึงบริวารที่อยู่รอบข้าง
      ข้อจำกัดทางการเมืองที่เห็นเด่นชัดก็คือ การเมืองไทยยังไม่สามารถทำให้คนธรรมดาที่อาจไม่จำเป็นต้องมีเงินมากมาย หรือเป็นเศรษฐีมีทรัพย์ แต่เป็นบุคคลที่พอจะมีฐานะอยุ่บ้างสามารถทำประโยชน์ให้กับบ้านเมือง สิ่งที่เป็นข้อจำกัดที่สองคือนักการเมืองที่ดูดีในเมืองไมสามารถสร้างแรงดึงดูดต่อนักการเมืองในท้องถิ่น  เพราะคนในท้องถิ่นมักเลือกนักการเมืองที่คุ้นเคยในท้องถิ่น ดังนั้นการเข้าถึงประชาชนในการสร้างความศรัทธาแก่ประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งปัจจุบันประชาชนมีความตื่นตัว และไม่นิยมที่จะรับเงินจากนักการเมือง หรือหากรับมาแล้วก็อาจจะไม่เต็มใจที่จะเลือก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเลือกนักการเมืองในปัจจุบันล้วนแต่เป็นการที่ประชาชนต้องการให้นักการเมืองสร้างโอกาส,สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีการกินดีอยู่ดี คงไม่ต้องการนักการเมืองที่จ้องแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งอาจแ่บ่งปันให้กับบริวาร,กลุ่มผลประโยชน์รอบข้างไว้บ้างก็ตาม  แต่ประชาชนทั้งประเทศมีมากมายก่ายกอง  นักการเมืองที่มีความสามารถเท่านั้นจึงจะจัดการผลประโยชน์ที่เกิดกับประชาชนทั้งแผ่นดินได้   และข้อจำกัดประการที่สามก็คือ กลุ่มผลประโยชน์ที่สนับสนุนพรรคการเมืองต่างพยายามเป็นตัวช่วยหรือสนับสนุนให้พรรคการเืมืองของตนขึ้นมาเพื่อทำให้กลุ่มบุคคลที่สนับสนุนได้รับประโยชน์จากการช่วยสนับสนุนซึ่งเป็นคนชั้นกลางและคนชั้นสูง และอาจจะมีคนยากจนในเมืองบ้าง แต่อีกกลุ่มประชาชนในฐานะผู้เสียเปรียบในสังคมมักเป็นคนรากหญ้าต้องการได้ผู้นำมาช่วยให้เขามีชีิวิตที่ดีขึ้น  และเมื่อเกิดความขัดแย้งกันขึ้นจึงเป็นสาเหตุที่ใช้ความรุ่นแรงของคนกลุ่มหนึ่งกระทำกับคนอีกกลุ่มหนึ่ง เปรียบเสมือนการแข่งขันดึงเชือกทั้งสองฝ่ายใครจะเป็นผู้ชนะ  ซึ่งท้ายที่สุดผู้ชนะก่อศัตรู ผู้พ่ายแพ้อดสูและคับแค้นใจ ไม่เกิดผลดีกับประเทศชาติใด ๆ ทั้งสิ้น หากการขัดแย้งไม่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ความรุนแรง และพยายามหันหน้าเข้าหากัน โดยถือผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ  ซึ่งเรื่องนี้ส่วนใหญ่นักการเมืองเข้าใจแต่ในทางปฏิบัติทำไม่ได้ เพราะอาจจะเิกิดการตัดสินใจที่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล, ตัดสินใจโดยยึดตัวบุคคลมากกว่าหลักการประชาธิปไตย, ตัดสินใจโดยยึดตัวบทกฎหมายโดยลืมไปว่ากฎหมายนั้นไม่ยุติธรรมกับคนอีกกลุ่มหนึ่งในสังคม บุคคลที่มีเครื่องมือ,บุคลากรพร้อม, หรืออำนาจต่าง ๆ ก็ย่อมมีความมั่นใจมากกว่าคนอีกกลุ่มหนึ่ง การหลงตนเองของนักการเมืองทำให้การตัดสินใจในทางการเมืองผิดพลาด และไม่สามารถจะหวนคืนกลับมาให้ดีขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจไ่ด้ตั้งใจทำหรือกระทำโดยรู้ไม่เท่าถึงการณ์ก็ตาม แต่เรื่องจิตสำนึกของคนเราย่อมที่จะรู้ว่าสิ่งที่ตนเองทำผิดพลาดไปแล้ว ก็ย่อมมีความละอายต่อบาป และเกิดสำนึกว่าประชาชนคนไทยล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลในชาติเดียวกัน เพียงแต่ความคิดเห็นมีความแตกต่างกัน และบุคลิกภาพ,ค่านิยม,วัฒนธรรม, และอัตลักษณ์ที่ต่างกันทำให้มองว่าคนที่ไม่เหมือนกับเราเป็นศัตรูต่อกัน  ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดและสมควรจะทบทวนนำไปปรับปรุงแก้ไข   สิ่งสำคัญคือสปิริตนักการเมืองต้องมีอยู่ในใจพอ ๆกับความซื่อสัตย์, ความจริงใจที่มีต่อประชาชน เพราะหากนักการเมืองเป็นผู้ก่อปัญหาเสียเองซึ่งไม่ใช่ประชาชนก็จะมองว่า
นักการเมืองมีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) กับกลุ่มผลประโยชน์ รวมทั้งสื่อมวลชนและองค์กรต่าง ๆ จะต้องวางตัวเป็นกลาง  และเมื่อเกิดมีอคติแล้วก็ควรยุติไม่ควรต่อความยาวสาวความยืด  และคงไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ กับประเทศชาิติ ทำให้ชาติไม่พัฒนา, ประชาชนยากจนลง และถึงกับขาดอนาคต การที่ประชาชนขาดอนาคต และขาดเสรีภาพก็เปรียบเสมือนคนที่อยู่ในคุกเพียงแต่มีเสรีภาพเท่านั้น แต่สังคมกับเป็นกรงขังแห่งเสรีภาพที่ยิ่งใหญ่ที่จะครอบงำประชาชนนั้น ก็ไม่ผิดอะไรกับคนเราติดคุกทางเสรีภาพ, ติดคุกทางปัญญา, ติดคุกทางอารมณ์ (ไม่มีเวทีระบาย) ประชาธิปไตยจึงเรื่องที่บ่นกันได้.สงสัยกันได้,วิจารณ์กันได้แต่ควรสร้างสรรค์ และควรมีช่องทางระบายความรู้สึึกนึกคิด,การแสดงความเห็น, การระบายความคับข้องใจ ฯลฯ เมื่อมีสิ่งเหล่านี้ก็ย่อมทำให้ทุเลาเบาบางจากการที่ประชาชนไม่สมอารมณ์ หรืออาจไม่ได้ัรับประโยชน์ใด ๆ กับนักการเมืองที่ไม่จริงใจและซื่อสัตย์ ทำใ้ห้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านจุลภาค และมหภาค รวมถึงต่างประเทศอาจไม่อยากคบค้าสมาคมกับบ้านเมืองเรา หรือไม่ให้ความร่วมมือเพราะโลกนี้แคบลง ข่าวสารข้อมูลในยุคโลภาภิวัฒน์ถึงกันหมดในเวลาที่ไม่นาน ไม่เหมือนในอดีคที่นักการเมืองอาจครอบงำ หรือหลอกลวงประชาชนได้ แต่ปัจจุบัน ความไม่ดีไม่สามารถปิดบังได้ ดังสุภาษิตที่ว่า "ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวปิดไม่มิด" ท้ายที่สุดความชั่วความไม่ดีก็จะถูกตีแผ่ เพราะเมื่อรู้ความจริงความศรัทธานักการเมืองก็จะน้อยลง
       ท้ายที่สุด เราคงไม่ได้หวังว่านักการเมืองจะซื่อใสบริสุทธิ์แบบไม่มีที่ติ หรือจะผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ หากเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยและไม่ทำให้ชาติบ้านเมืองเสียหายเท่าใดก็คงไม่เป็นอะไร เพราะความเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุด หรือสมบูรณ์แบบไม่มีที่ิติไม่มี   ทุกคนล้วนแต่มีข้อติขอเพียงข้อติไม่ใช่สาระสำคัญ หากคนเรารู้ตัวว่าผิดก็สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ เพียงแต่อย่าทำให้ชาติบ้านเมืองเสียหายมาก  หรือผลประโยชน์ของชาติในภาพรวมดีก็แ้ล้วกัน คนไทยมีกินมีใช้, ประเทศชาติไม่มีหนี้,เงินทุนสำรองมีมาก, คนต่างชาติอยากมาเที่ยวไทย ฯลฯ  ดังนั้นนักการเมืองในภาพรวมควรจะดีมากกว่าเสีย ส่วนเสียมีน้อย  และที่สำคัญอย่าเพ่งเล็งความผิดของผู้อื่นจนลืมดูตนเองแบบที่ว่า "ความผิดผู้อื่นเห็นเป็นภูเขา ความผิดของเราเท่าเส้นขน"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ