หน้าที่ของนักการเมืองที่ดี ในสังคมประชาธิปไตย

        นักการเมืองที่ดีมิใช่เป็นเพียงผู้ได้รับการเลือกตั้งเท่านั้น แต่จะต้องมีความสามารถในการทำหน้าที่ในการบัญญํติกฎหมายได้อย่างดีซึ่งหมายถึงการออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง และที่สำคัญคือไม่ควรส่งเสริมให้มีการรัฐประหารเพื่อช่วงชิงอำนาจ หรือไม่ออกกฎหมายที่จุกจิกหยุมหยิมเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง โดยไม่สนใจเสียงของประชาชนที่เลือกตั้งเข้ามา  ดูประหนึ่งว่าเป็นการออกฎหมายที่ล้อมกรอบ และบีบคั้นนักการเมืองที่ไม่มีตัวช่วย เพราะตัวช่วยของนักการเมืองที่แท้จริงของประชาชน   หากนักการเมืองหาตัวช่วยที่เป็นองค์กรที่มีคนจำนวนมีน้อย ก็จะทำให้การทำลายการเมืองเกิดขึ้นกับคนเพียงไม่กี่คน แต่ไปกลับการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความชอบธรรมทางการเมือง เพราะฝ่ายพรรคการเมืองหนึ่งมีตัวช่วยที่เป็นนอกระบบมาก แต่อีกฝ่ายการเมืองที่ไม่มีอำนาจนอกระบบมาเป็นตัวช่วย แต่ผ่านอำนาจจากเลือกตั้ง  ทำให้การใช้อำนาจของคนกลุ่มหนึ่งโค่นอำนาจทางการเมืองอย่างไม่เป็นธรรม และไม่ใช่บรรยากาศทางประชาธิปไตยในการยุบพรรค เพราะหากมีความผิดเกิดขึ้นกับใครนั้นก็ควรจะให้ผู้นั้นได้รับความผิด แต่ไม่ควรใช้ความผิดแบบเหมาโหล  หรือการเรียกร้องให้ หรือกดดันให้กกต.ต้องทำการเลือกตั้งใหม่ เท่ากับไม่ให้ความเป็นธรรมกับพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งมากกว่า และทำให้สูญเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ หากเป็นความผิดก็เท่ากับ กกต.ทำงานผิดพลาด แต่ควรจะจัดการกับคนที่กระทำความผิด และหากผิดพลาดกับการที่ประชาชนไม่ได้ใช้สิทธิทางการเมือง ก็เป็นความผิดพลาดของ กกต.เองไม่ใช่ความผิดพลาดของการเลือกตั้ง  ถ้าหากมีการเลื่อกตั้งใหม่ก็เท่ากับการกระทำผิดพลาดของ กกต.ก็จะพ้นความผิดพลาด ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง   ดังนั้นสิ่งที่นักการเมืองยุคใหม่ที่ควรทำคือ
       1. กฎหมายที่แก้โดยการรัฐประหารควรกลับมาตั้งต้นใหม่ เช่นการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมบริสุทธิ์ยุติธรรมมากกว่าปัจจุบันเพราะมาจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองสูงสุด
       2. นักการเมืองไม่ควรออกกฎหมายที่ทำให้เกิดความหยุมหยิมในการฟ้องร้อง เว้นแต่ความผิดพลาดที่เป็นเรื่องใหญ่ เช่นไม่ใช่ฟ้องร้องแค่ผัดหมีโคราช, แคะขนมครก ฯลฯ ทำให้สังคมมีการป่วนเมืองได้ และทำให้ภาพพจน์ของนักการเมืองเสียหาย และเป็นที่มาของวงจรอุบาทว์ของผู้ต้องการรัฐประหารเพื่ออำนาจของตนเอง
       3. กฎหมายที่นักการเมืองออก ควรยึดถือมติของประชาชนส่วนใหญ่ มิใช่ใช้องค์กรเล็ก ๆ ฝืนมติของประชาชนส่วนใหญ่ หากถ้าเป็นเรื่องที่ถูกต้องก็มิใช่ปัญหา แต่หากเป็นการกลั่นแกล้ง หรือเลือกปฏิบัิติแล้ว กฎหมายนั้นจะกลายเป็นสองมาตรฐาน กลายเป็นกฎหมายที่เป็นการวางระเบิดทำลายประชาธิปไตยของประชาชน
       4. องค์กรอิสระไม่ควรมีอำนาจเหนือประชาชน โดยการแต่งตั้งองค์กรอิสระควรมีองค์กรภาคประชาชนตรวจสอบด้วย มิใช่ให้เฉพาะผู้เป็นข้าราชการเป็นผู้ตัดสิน เพราะหากใช้องค์กรที่มีคนเพียงไม่กี่คน หากองค์กรนั้นเป็นตัวช่วยพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด ก็จะทำให้การตัดสินมีการเอียงข้าง และไม่เกิดความยุติธรรม ทำให้ภาพพจน์ความเชื่อถือของประชาชน และนานาชาติจะมองเป็นเรื่องไม่ดี และหากรู้ว่ามีการเลือกข้างยิ่งแล้ว  ก็จะยิ่งทำให้สังคมมีความสงสัยในอำนาจนอกระบบที่ทำลายการเมืองแบบประชาธิปไตยด้วย แต่ควรใช้วิธีหยั่งเสียงประชามติโดยประชาชนจะดีกว่า หากสิ่งที่ประชาชนสงสัยต่อคำตัดสิน ประชาชนควรมีสิทธิยื่นเรียกร้องให้ทำประชามติได้
        5. ระบบการเมืองภายใต้ระบบพรรคการเมือง นักการเมืองควรมีอิสระทางความคิดเห็นหรือเป็นเสียงอิสระได้ แต่มิใช่การครอบงำโดยระบบพรรคการเมือง เพราะหากนักการเมืองมีอิสระในขอบเขตบ้างก็จะทำให้ระบบการเมืองไม่เป็นระบบพวกมากลากไป บางครั้งสามารถแสดงความคิดเห็นที่เป็นตัวของตัวเองได้ เพียงแต่ไม่ขัดวินัยของพรรคเท่านั้นที่ทำให้พรรคของตัวเองเสื่อมเสีย
        6. นักการเมืองที่ดีไม่ควรส่งเสริมอำนาจเผด็จการ เพื่อทำลายประชาธิปไตยของประชาชนไทย เช่นการแสดงออกเป็นกลุ่มพวก หรือเป็นก๊วนการเมืองกับข้าราชการ ทำให้ข้าราชการไม่ได้วางตนเป็นกลางทางการเมือง (political neutrality) 
        7. บุคลิกภาพนักการเมืองควรมีลักษณะอ่อนน้อมถ่อมตน,สุภาพ,ซื่อสัตย์และทำงานด้วยความทุ่มเทเพื่อประชาชน หากกระทบประโยชน์ต่อประชาชนก็จะไม่สั่นคลอนความต้องการของประชาชน
เป็นบุคคลที่สนใจศึกษาวิจัยปัญหา รอบรู้ประเด็นที่เกิดขึ้นและวางแผนแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
        8. นักการเมืองที่ดีไม่ควรห้อยโหนอำนาจที่เป็นการแอบอ้างเพื่อประโยชน์ของตนเอง เพราะอาจละเลงความผิดให้ผู้อื่นได้โดยง่าย และไม่ยุติธรรม การจะมองว่าผู้อื่นทำผิดนั้นต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน แต่มิใช่ฟังเพียงคำสองคำก็ด่วนตัดสินใจ ทำให้การวิพากย์วิจารณ์ทางการเมืองมีขอบเขตจำกัด และบีบช่องทางการพูดเพื่อประโยชน์ต่อประชาชน เช่นการห้ามเผยแพร่ข่าวสารคู่แข่งทางการเมือง  เพียงแต่การเผยแพร่นั้้นจะต้องมีลักษณะสร้างสรรค์ และในทำนองเดียวกันนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลก็ควรรับฟังเสียงเพื่อนำไปปรับปรุงใหดีขึ้น
         สรุป นักการเมืองที่ดีควรเป็นคนโปร่งใส, เชื่อถือได้, มีมารยาททางการเมืองไม่ควรระแวงผุ้อื่นมากจนเกินควร, หรือไม่ควรแสดงความต้องการจะมีอำนาจโดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกเข้ามา ถือว่าเป็นการล้ำเส้นกติกาของประชาธิปไตย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง