ประชาธิปไตยอัจฉริยะ (ุุ6)

     2. ประชาธิปไตยในภาครัฐวิสาหกิจ เป็นประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกันภาครัฐที่เปิดโอกาสให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจควรได้ให้พนักงานรัฐวิสาหกิจได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการประชุม,การฝึกอบรม,การใช้ระบบข้อเสนอแนะ (suggestion system) ควรเป็นประชาธิปไตยที่เน้นประสิทธิภาพในการทำงาน หรือการทำงานเป็นทีมเพื่อให้เกิดความสามัคคี  ในการคัดเลือกบุคลากรควรใช้ระบบคุณธรรม (merit system) เป็นการเปิดกว้างเพื่อให้คนดีมีความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานเพื่อให้องค์การรัฐวิสาหกิจเข้มแข็ง และผลจากประสิทธิภาพช่วยให้รัฐวิสาหกิจมีกำไร และสามารถช่วยผ่อนภาระของรัฐบาลนำไปสู่การสร้างสังคมสวัสดิการแก่ประชาชน  ดังนั้นกำไรที่ส่งให้รัฐส่วนหนึ่งควรเป็นงบประมาณเพื่อสวัสดิการภาครัฐ (welfare country)
      3. ประชาธิปไตยในภาคธุรกิจเอกชน เป็นประชาธิปไตยในการเริ่มต้นตั้งแต่รับสมัครเข้าทำงาน ควรกำหนดวิธีการประชุมผู้ถือหุ้นให้มีการรับฟังความคิดเห็น, การแสดงความคิดเห็นในสถานทีีทำงานเพื่อหาวิธีการทำงานที่ดีกว่า ส่งเสริมพนักงานทำงานเป็นทีม มีระบบการใช้โค๊ชมาสอนงานเพื่อให้เิกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ หรือมีที่ปรึกษา การจ่ายค่าตอบแทนใช้ระบบจ้างค่าตอบแทนตามความเสมอภาค มีกฎระเบียบที่รับฟังบุคลากร หรือการเสนอแนะสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ เช่นการใช้ระบบข้อเสนอแนะมาใช้ในองค์การ
          โดยสรุป การมีประชาธิปไตยในสถานที่ทำงาน เกิดขึ้นตั้งแต่ผู้ถือหุ้น, การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร, การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง, การว่าจ้างที่ใช้ระบบคุณธรรม และเน้นความเป็นมืออาชีพ และองค์การสามารถหลอมรวมบุคลากรภายใต้ความแตกต่าง ไม่ส่งเสริมระบบอุปถัมภ์ทำให้องค์การมีความคิดคล้อยตามไม่มีการวิพากย์เชิงสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ แต่จะกลายเป็นสังคมที่มีแต่ความเกรงใจ และไม่เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ เท่ากับช่วยให้ประเทศชาติมีการทำงานอย่างเป็นระบบ, มีจิตวิญญานประชาธิปไตย เมื่อถึงเวลามีการเลือกตั้งสถานที่ทำงานก็เปิดโอกาสให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งด้วยความสมัครใจ และไม่ถือเป็นวันลา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ