สร้างรากฐานอย่างมั่นคงด้วย 3 ประสาน

      ในการพัฒนาประเทศนั้น การสร้างรากฐานที่ทำให้สังคมมีความยั่งยืน และมีรากฐานของบ้านมั่นคงนั้นจำเป็นต้องใช้หลัก 3 ประสาน ในทุกส่วนผสมเื่พื่อความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว การมีทิศทางของประเทศไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นประเทศไทยขาดการวางรากฐานที่ถูกต้องกลมกลืนจึงก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างไม่สิ้นสุด ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถก้าวไปข้างหน้า แม้แต่จะก้าวข้ามความขัดแย้งก็ยังไม่สามารถจัดการได้ ซึ่งผู้เขียนขอเสนอแนะกรอบแนวทาง 3 ประสานที่จะทำให้ัสังคมมีความมั่นคง แต่มิใช่ความมั่นคงของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นความมั่นคงทั้งประเทศ ซึ่งได้แก่
      1. สามประสานในแง่ชนชั้น คือชนชั้นสูง,กลาง,ต่ำ ซึ่งหมายความว่าการที่ประเทศมีเอกภาพเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันต้องมีกาวใจทั้ง 3 ส่วน หรือผสมผสานกันอย่างลงตัวรวมทั้งซึมซับซึ่งกันและักันนั่นคือ  1.1 คนชั้นสูงหรือคนมีอำนาจหันมาช่วยคนชั้นล่าง ในการยกระดับเพื่อให้มีคนชั้นกลาง เมื่อเกิดชั้นกลาง ๆ มากความเป็นประชาธิปไตยก็จะดีขึ้น ซึ่งหมายถึงคนชั้นสูงต้องเข้าใจปัญหาคนชั้นล่าง ด้วยการติดดินกับปัญหา บุคคลที่เป็นผู้นำควรคลุกคลีกับคนระดับล่างเพื่อลดช่องว่างทางสังคม
     1.2 คนชั้นกลางยกระดับตัวเอง และยกระดับคนชั้นสูงให้มีเมตตาต่อคนชั้นล่าง เพราะคนชั้นกลางมีโอกาสอยู่ใกล้คนชั้นสูง และมีโอกาสนำเสนอปัญหาที่เป็นประโยชน์ นั่นคือคนชั้นกลางต้องมีความเป็นประชาธิปไตยที่เข้าใจชนชั้นต่างระดับได้ทั้งคนชั้นสูง และคนชั้นต่ำ ไม่ใช่ไปโทษว่าคนชั้นล่างไม่เข้าใจ หรือมองว่าคนชั้นล่างไปแย่งผลประโยชน์คนชั้นกลางหรือชั้นสูง 
     1.3 คนชั้นล่างได้รับการยกระดับจากการศึกษาทำให้คนชั้นล่างมีความรู้ความเข้าใจ ไม่ใช่บุคคลที่เป็นข้าวนอกนา หรือคนชั้นอื่นดูถูกดูแคลน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องพัฒนาให้ก้าวไกล ไม่ใช่ไปโทษเขาว่าเป็นคนโง่ เป็นคนหลงง่าย แต่ชีวิตจริงแล้วเขาไม่ได้โง่ แต่เขาเดือดร้อนจริง ๆ แต่เวลาที่เขาแสดงออก นักการเมืองที่อยู่ในฐานะระดับสูงมักไม่ค่อยเข้าใจคนยากจน
    2. สามประสานในแง่การพัฒนา คือการปกครองมีทั้งระดับกลาง, ภูมิภาค และท้องถิ่น ทำอย่างไรการพัฒนาในระดับต่าง ๆควรประสานสอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน ทุกวันนี้คนอยู่ในระดับท้องถิ่นถูกทอดทิ้ง แต่การพัฒนามักเน้นไปที่ส่วนกลาง การพัฒนาจึงไม่ประสานสอดคล้องเกิดปัญหาช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท  ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการรวมพลังสามประสานการพัฒนาเพื่อลดช่องว่าง,ช่องโหว่ ของการปล่อยให้ประชาชนไร้อำนาจ (powerless) ส่วนระดับกลางกับมีอำนาจมากเกินไป (powerfull) ทำให้การใช้อำนาจจึงไม่ค่อยเป็นประชาธิปไตย
    3. สามประสานในแง่การเมือง,เศรษฐกิจ,สังคม เป็นการพัฒนาที่ทำสอดคล้องไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะการเืมืองก็มี 3 ประสานย่อย คือ
        3.1 สามประสานในแง่การใช้อำนาจทางการเมือง ได้แก่นักการเืมือง, ข้าราชการ, ราษฎร ในทางการเืมืองควรลดช่องว่างในการใช้อำนาจแบบเจ้าขุนมูลนายลงให้มาก เพราะประชาชนต้องการประชาิธิปไตย คือเสรีภาพ,ความเสมอภาค และภราดรภาพ หากเราปล่อยให้เกิดช่องว่าง และความรู้สึกไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสังคมแล้วไซร้ ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าจะหมดไป 
        3.2 สามประสานในแง่ของเศรษฐกิจ กล่าวคือเมื่อสังคมเป็นทุนนิยม (capitalism) ก็ควรจะทำให้ทุนต่าง ๆ มีการกระจายไปทุกภาคส่วน มิใช่รวยกระจุก จนกระจาย การกระจายรายได้แก่ชนชั้นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมจึงทำให้เกิดความรู้สึกว่ามีความสามัคคีทางเศรษฐกิจ มิใช่การบริหารที่ปล่อยให้คนชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งลำบากยากจน ซึ่งเป็นความคิดไม่ถูกต้อง เพราะคนยากจนคือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
       3.3 สามประสานในแ่ง่สังคม กล่าวคือได้แก่สังคมเมือง, สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท, สังคมชนบท
การจะทำให้ัสังคมเบ้าหลอมบูรนาการได้ควรให้การศึกษาที่ทำให้สังคมลดช่องว่างของโอกาส และการเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งโอกาสในการศึกษา นอกจากนี้ปรารถนาให้ผู้นำมองว่าการช่วยเหลือโอกาสของคนในชนบทถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ มิใช่มองชนบทอย่างไม่เข้าใจ ทำให้เกิดอคติต่อการพัฒนา และประเทศหากช่วยให้คนลดปัญหาความยากจน หรือความไม่รู้ นั่นคือความภาคภูมิใจของชาติบ้านเมืองมิใช่หรือ
       สรุป สังคมประเทศที่เจริญควรเป็นสังคมที่ให้โอกาสวิพากย์วิจารณ์เพื่อสิ่งที่ดีกว่า มิใช่ต้องทำอะไรตาม ๆ ไปกันหมด เช่นทัศนะที่ว่าเดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด ซึ่งเป็นทัศนะที่เก่าแก่แล้ว แต่ควรคิดแบบ "วิจารณ์สามัคคี สามัคคีวิจารณ์"   ซึ่งหมายถึงเมื่อเกิดการวิจารณ์กันแล้วก็ยอมรับแล้วมาสามัคคี แต่เมื่อเกิดปัญหาต้องแก้ไขก็มีความคิดเชิงวิจารณ์ (critical thinking)เพื่อหาสิ่งดีกว่าเสมอ โดยถือว่า "ที่ใดที่มีปัญหาที่นั่นมีความก้าวหน้า ที่ใดไม่มีปัญหาที่นั่นก็ไม่ีมีความก้าวหน้า" No problem, no progress นั่นเอง เหมือนหลักการบริหารเชิงคุณภาพ คือ วางแผน (plan), ทำ (do), ตรวจสอบ (check), ลงมือทำ (action) หมุนเวียนเป็นระบบโดยเน้นการทำงานเป็นทีม แม้ว่าจะมีปัญหาใหญ่โตประการใด หากทุกคนช่วยกันทำงานเป็นทีม ประเทศไทยเจริญอย่างแน่นอน และความขัดแย้งถูกแก้ไขไว้ในระบบองค์การ จะไม่เกิดปัญหาที่กลางถนนอย่างเช่นทุกวันนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ