ปัจจัยที่คนไทยบางกลุ่มเฉื่อยชาทางการเมืองประชาฺธิปไตย

    ปัจจัยสำคัญบางประการที่คนไทยบางกลุ่มยังไม่ค่อยตื่นตัวทางการเมืองนั้น มาจากหลายสาเหตุ และเกิดจากปัจจัยที่แทรกซ้อนหรือแอบแฝงทำให้ขาดความตื่นตัว หรือเฉื่อยชาทางการเมืองนั้นสามารถพิจารณาจากสมมติฐานได้ดังนี้
    1. การได้รับข่าวสารที่ฟังด้านเดียว เช่นการรับข้อมูลข่าวสารในลักษณะที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เช่นสื่อรัฐไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวที่ดี และมีแต่รายการที่ไม่ได้วิเคราะห์ปัจจัยทางการเมืองอย่างลึกซึ้งว่าสังคมไทยเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ เป็นเพียงการให้คนไทยคิดเอง ทั้งนี้สื่อมวลชนอาจถูกครอบงำจากอำนาจบางอย่างในกลไกของบุคคลที่มีอำนาจ ทำให้สื่อทำงานไม่เต็มที่ หรือไม่กล้าวิพากย์วิจารณ์ หากมีสื่อใดที่จะทำให้คนฉลาดก็ไม่ค่อยพยายามเผยแพร่ และคนไทยส่วนใหญ่ยังติดอยู่ละครที่ไม่ได้กระตุ้นการเมืองแบบประชาธิปไตย
   2. การอบรมกล่อมเกลาทางสังคม (socialization) ระบบการศึกษาไทย หรือสภาพสังคมมักถูกชักชวนไม่ให้สนใจทางการเมือง หรือเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องเลวร้าย, นักการเมืองไทยเป็นคนไม่ดี และมีบุคคลที่มีแนวคิดแบบเก่าพยายามบั่นทอนการเมืองแบบประชาธิปไตย และพยายามสร้างอัตลักษณ์แนวนิยมแบบประเพณีโบราณ ทำให้กลายเป็นการขัดขวางระบบประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยเฉพาะนักวิชาการมักเป็นบุคคลที่มีฐานะดี หรือเป็นคนชั้นกลาง ทำให้การศึกษาไม่ผูกติดกับภาคประชาชน  และส่งผลให้นักศึกษาไม่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยเหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ทั้งนี้เกิดแนวคิดตื่นตัวของประชาธิปไตยรากหญ้า (grass-root democracy) อย่างไม่เคยมีมาก่อน
   3. ลักษณะการเมืองไทย มีแนวทางที่จะวางกับดักเพื่อให้คนเบื่อหน่ายทางการเมือง เช่นขาดการสร้างจิตสำนึกคนไทยให้รักหวงแหนประชาธิปไตย แต่เป็นการรักหวงแหนแผ่นดินซึ่งเป็นความคิดที่ไม่สอดคล้องต่อความต้องการของประชาชน มีลักษณะเน้นความมั่นคง แต่ไม่รู้ว่าเป็นความมั่นคงของคนบางกลุ่ม แต่ไม่ใช่ความมั่นคงของประชาธิปไตยของประชาชน การเข้าใจอย่างลึกซึ้งในแนวทางประชาธิปไตย ทำให้พฤติกรรมและอุปนิสัยของคนเรามักใช้ตัวตนที่เอนเอียงหรือชอบตัวบุคคล มากกว่าจะสนใจวิเคราะห์ความเป็นนักประชาธิปไตย หรือการมีจิตวิญญานประชาธิิปไตย แต่ปัจจุบันการเมืองไทยคนไทยตื่นตัวเต็มที่ก็จริง แต่อาจไม่ทราบปัญหาลึกซึ้ง หรือกับดักประชาธิปไตยที่คนบางกลุ่มวางระเบิดเพื่อทำลายการเมืองภาคประชาชน
    4. กลุ่มชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม มีลักษณะการหวงแหนอำนาจ และต้องการอำนาจตอบสนองให้กับกลุ่มตน โดยไม่เห็นความสำคัญของประชาชนที่มีความตื่นตัว และการใช้วาทะกรรมที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งการใช้ประชานิยมที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของไม่ดี  แต่อันที่แท้ัจริงแล้วประชานิยมที่ทำได้อย่างมีประสิทธิผลกลับกลายเป็นสวัสดิการของภาครัฐที่คืนภาษีสู่ประชาชน  อย่างไรก็ตามรัฐบาลที่ดีก็ต้องตอบสนองต่อกลุ่มหลากหลาย  เพราะคนชนบทเป็นคนเืลือกรัฐบาล แต่คนในเมืองเป็นคนไล่รัฐบาล  แต่ปัจจุบันกลับเปลี่ยนไป ว่าทั้งคนในเมืองและคนชนบทสามารถไล่รัฐบาลได้หากผลงานของรัฐบาลไม่ดี
    5. กลุ่มอำนาจเก่าพยายามรื้อฟื้นอำนาจที่ตนเองหวงแหน และเกรงกลัวเสียผลประโยชน์ จึงลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อตนเอง ในลักษณะปฏิกิริยาทางการเืมือง แต่ไม่อิงประโยชน์ของฝ่ายประชาชน ทำให้การกำหนดรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐประหาร จึงไม่มีคำว่าประชาชนอยู๋ในความคิดของกลุ่มอำนาจเก่า มีแต่เพียงการเอาใจคนชั้นกลางในเมือง, คนชั้นสูง,นายทุน,นักวิชาการ, ขุนนางข้าราชการ,กลุ่มผลประโยชน์เอ็นจีโอ ฯลฯ เท่านั้นจึงละเลยไม่สนใจการเมืองภาคประชาชนทีีแท้จริง จึงทำให้มีการบิดเบือนความต้องการของประชาชนฐานราก  ทำให้การเมืองไทยขาดความมั่นคง เหมือนบ้านเมืองที่ฐานรากไม่ดี แต่สนใจที่หลังคาบ้าน และฝ้าเพดานบ้าน แต่ไม่สนใจสร้างรากฐาน หรือเสาหลักประชาธิปไตย
   6. การที่สังคมข่าวสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ เช่นเทคโนโลยี่ ทำให้ข่าวสารมีมาก  แต่ผู้เบื่อหน่ายการเมือง ใช้วิถีชีวิตที่ไม่สนใจข่าวสารการเมือง เพราะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างอื่นที่หลากหลาย และมองว่าการสนใจการเมืองไม่ได้ประโยชน์อะไร และมองว่าผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมืองในลักษณะที่มองไปในแง่ร้าย หรือมองว่าไม่เกิดประโยชน์ จึงไม่พยายามเข้าไปเรียนรู้,ศึกษา ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็มีมากพอสมควร
      ถึงเวลาที่คนไทยควรใส่ใจการเมืองแบบประชาธิปไตย เพราะเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของคนทุกฝ่าย มิฉะนั้นจะมีคนเพียงบางกลุ่มอาจเคลื่อนไหวเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง และปกปิดซ่อนเร้นในลักษณะการคอรัปชั่นอำนาจ, คอรัปชั่นงบประมาณ, และคอรัปชั่นจิตสำนึกประชาธิปไตยด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ