การเมืองที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้ชาติบอบช้ำ

การเมืองที่ดีควรเป็นการเมืองที่ประชาชนศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นวิทยาศาสตร ลักษณะการเมืองที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์มักจะมีลักษณะที่ใช้วัฒนธรรมความเชื่อหรือศรััทธาผิด ๆ ทำให้ภาพที่มองเห็นไม่ใช่ภาพที่แท้จริง และทำให้คนที่สร้างภาพให้ผู้คนหลงไหลได้ปลื้มกลายเป็นภาพลวงตา การเมืองแบบภาพลวงตาเกิดจากมนุษย์มีความต้องการในลักษณะเช่นนี้
     1. ต้องการได้อำนาจ และผลประโยชน์ เพราะเป็นการลงทุนน้อยแต่ได้มาก แต่ความเป็นจริงคือทำลายชาติ และความมั่นคงในภาพรวม เป็นการเมืองแบบเหมือนเห็นน้ำในทะเลทราย ซึ่งเมื่อมองจากถนนจริง ๆ แล้วเป็นเพียงภาพสะท้อนกลับหมด แต่เข้าใจว่ามีอยู่ ก็จะทำให้นักการเมืองที่เล่นกลเก่งได้โอกาสหลอกลวงประชาชนที่ไม่รู้ความจริง
     2. ยอมตกเป็นเครื่องมือของคนบางกลุ่ม เพียงเพื่ออำนาจ,เกียรติยศ, และผลประโยชน์ โดยลุ่มหลงมัวเมา อันเกิดจากค่านิยมของสังคมไทยที่เน้นอำนาจนิยม ทำให้คนเราทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มา แม้ว่าสิ่งนั้นจะได้มาที่มิใช่คุณธรรม ก็จะทำทุกอย่างเพื่อให้คงความมีอำนาจไว้ กล่าวคือที่มาของมิจฉาทิฐินั่นเอง
    3. หลงไหลได้ปลื้มผิด ๆ คิดว่ากำลังทำงานกับคนที่คิดว่าดี กล่าวคือมองคนที่รูปแบบ แทนที่จะมองคนที่ผลงาน หรือความสามารถกลับมองในลักษณะว่ามีชาติตระกูลดีเป็นคนมีชื่อเสียง แต่ภาพความจริงคือเบื้องหลังอาจเป็นคนที่น่าเกลียดน่ากลัวก็ได้  ดังนั้นภาพที่เห็นว่าคนนั้นเป็นคนไม่ดีอาจเป็นคนปลุกกระแสให้ร้ายกับบุคคล ทั้ง ๆ ที่อาจไม่ได้เลวร้ายอะไรเลย แต่ถูกวาดภาพดูดีนั่นเอง แต่ท้ายที่สุดการสร้างภาพเหล่านั้นเมื่อคนรู้ความจริงแล้ว ก็ย่อมจะเสื่อมความนิยมไปเอง
    4. การเมืองที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ เป็นการเมืองที่คนรับรู้ความจริงเพียงครึ่งเดียว แต่ไม่สามารถมองเห็นรอบด้าน เปรียบเสมือนผลส้มที่อยู่ต่อหน้าเราจะรู้เห็นเพียงครึ่งเดียว  แต่ควรไปสัมผัสหรือไปดูมิติของผลส้มทั้งใบก็จะเห็นรอบด้าน และแม้แต่ลองฉีกเปลือกส้มดู ก็จะเห็นความจริงเนื้อในได้ โลกเรานี้มีความซับซ้อนเกินกว่าจะมีเวลาไปศึกษาให้ถ่องแท้  เช่นพระเครื่องที่ปลอมต้องใช้เวลาศึกษาจึงจะรู้ว่าพระเครื่องที่แท้เป็นอย่างไร แต่ไม่เชื่อเพียงเพราะฟังมา หรือเห็นแต่ของปลอมมา และคิดว่าคงเป็นพระแท้   หรือไปเชื่อกรรมการที่บอกว่าพระนั้นแท้หรือปลอม หากเป็นกรรมการไม่ดีก็จะบิดเบือนได้  อาจจะเจอปัญหาแก๊งสิบแปดมงกุฎได้  หรือขบวนการหลอกต้มคนทั้งชาติก็เป็นได้
   5. การเมืองที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ มักเกิดสังคมที่สร้างข่าวลือและไม่ได้พิสูจน์ความจริงก่อนที่จะเชื่อ แต่ด่วนสรุปและเชื่อเลย  แทนที่จะค้นหาข้อมูลหาความจริงก่อน  พระพุทธศาสนาสอนหลักกาลามสูตร ทรงไม่ให้เชืออะไรง่าย ๆ เพราะคนเชื่ออะไรง่ายจะนำสู่ความหลงงมงายไม่เป็นวิทยาศาสตร์
แต่การเมืองที่ตาสว่าง, ใจสว่าง, และจิตสำนึกสว่าง จะทำให้เราเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ และมีเครดิตทางการเมือง เพราะความซื่อสัตย์ต่อความจริง, ซื่อสัตย์ต่อบุคคลและหน้าที่การงาน ก็จะเป้นที่ยอมรับในท้ายที่สุด  ของจริงก็จะเป็นของจริงอยู่วันยังค่ำ นั่นคือสัจจธรรมอยู่เหนือกาลเวลานั่นเอง
   6. การเมืองแบบไม่เป็นวิทยาศาสตร์ มักเกิดกับบุคคลที่ไม่ศึกษาประวัติศาสตร์การเมือง หมายถึงการดูแฟ้มภาพ หรือจินตภาพคล้ายแผ่นฟิลม์ที่ต่อเนื่อง เราก็จะเห็นภาพทั้งหมด และสามารถสรุปได้ แต่ภาพนั้นไม่ได้เกิดจากการเติมแต่ง หรือสร้างมายาหลอกลวงให้เรา  สรุปง่าย ๆ คือเราไม่ควรเชื่ออะไรง่าย ๆ
   7. การเมืองแบบวิทยาศาสตร์ ควรนำตัวเข้าสู่สภาพความเป็นจริง เพราะบางทีผู้ไม่ได้เข้าไปสัมผัส หรือเพียงแต่เชื่อตำรา หรือทฤษฎีนั้นก็จะทำให้เราไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ในบ้านเรานั้น ยังคงกอดคัมภีร์โดยไม่ได้เข้าไปสัมผัสในห้องปฏิบัติการทางสังคมการเมืองอย่างแท้จริง  จึงไม่รับรู้ความจริง แต่รับรู้จากสื่อ ซึ่งสื่อบางครั้งก็เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจทางสังคมก็เป็นได้ และคนเราล้วนแต่เป็นสัตว์การเมือง (political animal) เพียงแต่ว่านักการเมืองนั้นเป็นคนใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์เท่านั้นจึงจะเชื่อถือได้
   8. ปัญหาสำคัญคือการแต่งหน้าเค๊กทางการเมืองอาจดูสวยหรู แต่เมื่อชิมเค๊กแล้วขาดความเอร็ดอร่อย  การชงนโยบายมิใช่คิดว่าเมื่อนำเสนอแล้วจะเป็นสิ่งที่สวยงามเลิศหรู แต่ถ้าทำแล้วไม่ได้ผล ผลของงานนั้นก็ไม่สะท้อนความสำเร็จ แต่ผู้ชงนโยบายคิดว่าีดีแล้วสำเร็จแล้ว   แต่ผู้ปกครองอาจแอบกินเค๊กก้อนนี้ไปมากแล้ว เหลือเพียงเศษ ๆ เท่านั้น
      ถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องตื่นตัวทางการเมือง อย่าให้นักการเมืองที่แอบกินมาหลอกพวกเราได้เลย นั่นก็คือร่วมกันมีส่วนร่วมเปิดหูเปิดตา พิสูจน์ผลงานความจริงของนักการเมือง กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ย่อมดีกว่าการเจอวาทะกรรม และหลงผิดว่าเป็นของดี แต่อันที่จริงแล้วอาจเป็นของไม่ดีอย่างทีคิดก็ได้   แต่สรุปแล้วว่าปัจจุบันประชาชนเกือบทั้งประเทศเริ่มตื่นตัวแล้ว เปรียบเสมือนมังกรทางการเมืองในเอเชียเริ่มผงาดแล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ