ลักษณะประชาธิปไตยแบบเทียม ๆ (Psudo-democratcy)

การปกครองแบบประชาธิปไตยที่แท้จริง กับแบบประชาธิปไตยปลอมปนนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการปกครองประชาธิปไตยของประเทศที่พัฒนาแล้วจะแตกต่างกันค่อนข้างมาก  ซึ่งลักษณะประชาธิปไตยแบบเทียมหรือแบบปลอมนั้นมีลักษณะสำคัญดังนี้
    1. การใช้กฎหมาย หรืออำนาจตามกฎหมายไม่ได้จากฉันทานุมัติของประชาชน เช่นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่คนไทยส่วนใหญ่ได้ช่วยกันเขียนมาโดยประชาชนมีส่วนร่วมเรือนแสนคน โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2540 นั้นจัดว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด  แต่พอปี พ.ศ.2550 กลับเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากการรัฐประหาร และทำลายโครงสร้างอำนาจของประชาชน หรือทำลายการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมักเป็นข้ออ้างในทุกยุคทุกสมัย และเกิดจากบุคคลทางการเมืองไม่ได้ช่วยสร้างสรรค์ประชาธิปไตย แต่กลับยินยอมให้มีการใช้อำนาจ และการใช้กำลังกับประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย
   2. การจัดตั้งรัฐบาล ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคการเมืองที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่กลับเป็นรัฐบาลที่มีการรวบรวมพรรคเล็กพรรคน้อย และมีการช่วยเหลือป้องกันความผิดกับนักการเมืองในลักษณะแลกเปลี่ยนผลประโยชน์โดยไม่มุ่งอุดมการณ์ แต่กลับมุ่งผลประโยชน์หรือการก้าวเข้าสู่อำนาจ โดยมีกลุ่มกองกำลังช่วยพิทักษ์ปกป้อง  แต่ประชาชนกลับไม่มีส่วนร่วมทางการเมือง   ในทางการเมืองอำนาจกลับตกเป็นลักษณะอำนาจของข้าราชการ ที่นักวิชาการต่างประเทศเคยวิจัยว่าเป็น bureaucratic polity คือระบบการปกครองแบบอำมาตย์  ทำให้ระบบประชาธิปไตยกลายเป็นประชาธิปไตยเพื่อกลุ่มขุนนางข้าราชการ รวมทั้งพรรคการเมืองที่สนับสนุนระบบการเมืองที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย     กลุ่มองค์กรอิสระกลับมีการเลือกข้างทำให้กฎหมายเกิดสองมาตรฐาน ไม่เกิดความยุติธรรม  ทำให้สังคมไทยสับสนในขณะนั้น
   3. รัฐบาลประชาธิปไตยแบบเทียม ๆ กลับไม่ได้กระจายโอกาส หรือผลประโยชน์ของชาติให้กลับประชาชนอย่างถ้วนหน้า  ทำให้คนไทยยากจนลง และเกรงกลัวว่าประชาชนจะแข็งแรงคิดมาต่อต้านรัฐบาล ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด  เพราะถ้าหากรัฐบาลทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี  ประชาชนก็จะเลือกตั้งรัฐบาลที่ทำดีกับประชาชน คงไม่มีใครไม่รักรัฐบาลที่ทำดีกับประชาชนเป็นแน่แท้  ซึ่งอยู่ทีความจริงใจต่อประชาชน ไม่เอาผลประโยชน์ของชาติมาให้กับบุคคลบางกลุ่มบางก้อน ไม่กระจายผลประโยชน์
  4. รัฐบาลประชาธิปไตยแบบเทียม ๆ มักจะเป็นรัฐบาลที่มีวาทะกรรมสวยหรู แต่ในทางปฏิบัติกลับขาดวิสัยทัศน์ในการทำงานเพื่อประเทศชาติ เพราะผลงานของรัฐบาลที่สำคัญคือผลงานทางเศรษฐกิจ  แต่แทนที่จะมุ่งทำงานเพื่อชาติบ้านเมืองเพื่อสร้างผลงาน กลับเสียเวลาไปปราบปรามประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริง มีการใช้กฎหมายสองมาตรฐาน, ความยุติธรรมหดหายไปในสังคมอย่างมากมาย, การเรียกร้องให้คนต้องอยู่ในกฎหมาย แต่ลืมไปว่าผู้ดูแลกฎหมายหากมีการใช้พรรคพวก หรือการใช้อำนาจตุลาการที่เล่นพวกก็ทำให้เกิดสองมาตรฐาน  ทำให้กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อถือของสังคมในปัจจุบันมีน้อยมาก ก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างไ่ม่เคยมีในประวัติศาสตร์
  5. ผู้นำแบบประชาธิปไตยแบบเทียม ๆ มักทำงานไม่เป็นตัวของตัวเอง แต่จะเกรงใจผู้มีอำนาจเหนือคอยบงการอยู่เบื้องหลัง  จริง ๆผู้นำในการเมืองประชาธิปไตยเมื่อได้อำนาจจากประชาชนก็ควรตัดสินใจที่ไม่อิงแอบอำนาจที่สนับสนุนเบื้องหลัง เช่นไม่ควรเกี่ยวข้องกับกองทัพ, ไม่ควรเกี่ยวข้องกับขุนนางข้าราชการ,ไม่ควรเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์นายทุนที่คอยสนับสนุนทำให้ราคาสินค้าแพงปรกติ สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนทั้งมวล
  6. รัฐบาลประชาธิปไตยแบบเทียม ๆ มักมีการแอบโกงแบบซ่อนเร้นเป็นเครือข่ายของระบบคณาธิปไตย (oligarchy) ทำให้การใช้งบประมาณของประเทศสูญหายจากการไม่ได้นำมาพัฒนาปากท้องของคนไทย  หากตั้งใจบริหารประเทศคงไม่เกิดผลงานที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้
      ถึงเวลาที่รัฐบาลชุดใหม่ ต้องสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม และเลิกมองคนคิดแตกต่างเป็นศัตรู แต่ควรมองว่าผู้คิดต่างคือผู้ที่ช่วยให้เราพัฒนาความคิดให้ก้าวไกล  และควรจะขอบคุณผู้ที่คิดต่างจากเราด้วยซ้ำไป  เพราะช่วยให้เราทำงานไม่ผิดพลาด และกลายเป็นมิตรกับเราในท้ายที่สุด    ดังนั้นสัมมาทิฐิตามหลักพระพุทธเจ้ายังคงเป็นสัจจธรรมมาจนถึงทุกวันนี้

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง