ประชาธิปไตยอัจฉริยะ (3)

ความเป็นมาของประชาธิปไตยแบบตะวันตกและแบบไทยๆ    
                     วิวัฒนาการความเป็นมาของประชาธิปไตยมีความแตกต่างกันกับวิถีทางตะวันตกซึ่งวิถีประเพณีตะวันตกซึ่งต่างกับประเทศไทยอย่างมากทั้งในวิถีประเพณีของไทยซึ่งถูกปลูกฝังในการเกรงกลัวผู้มีอำนาจหรือในลักษณะอำนาจนิยม    โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ยังขาดการศึกษา และเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังขาดความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตย   และรวมไปถึงกลุ่มบุคคลในชนชั้นกลางในปัจจุบันที่หลงกระแสโลกาภิวัฒน์ ในเรื่องของวัตถุนิยมที่แพร่หลายจากตะวันตกในเรื่องการบริโภคนิยมซึ่งเราพอจะวิเคราะห์พอสังเขปได้ดังนี้
 ก.กลุ่มประชาชนคนยากจนหรือเกษตรกร  มีวิถีชีวิตค่อนข้างลำบากยากจนในท้องถิ่นชนบทห่างไกลความเจริญของสังคม     มักหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องจึงไม่ค่อยสนใจในวิถีทางประชาธิปไตยอย่างจริงจังในลักษณะสร้างจิตสำนึกในความคิด        ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมักฝากความหวังในการช่วยเหลือจากรัฐบาล   เช่นการช่วยเหลือในเรื่องเงินทอง, สาธารณูปโภค, ซึ่งมักเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการดำเนินชีวิต    พูดง่าย ๆ ก็คือประชาชนคนไทยไม่สนใจว่าการเมืองประชาธิปไตยจะเป็นเช่นใด    จึงมองประชาธิปไตยเป็นเพียงรูปแบบเช่นมีการเลือกตั้ง, มีผู้แทนราษฎรที่เป็นตัวแทนของประชาชน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับรัฐบาลจะมีการคอรัปชั่นมากน้อยเพียงใด  ขอแต่เพียงให้มีกินมีใช้ไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น  ดังนั้นผู้ที่เป็นตัวแทนสมัครเข้ารับการเลือกตั้งหากไม่มีเงินทอง ก็ไม่สามารถจะไปช่วยเหลือชาวบ้านได้   ทำให้การเมืองไทยไม่สามารถทำให้บุคคลธรรมดาซึ่งอาจเป็นคนมีความรู้แต่ไม่มีฐานะทางเศรษฐกิจมากมายไปช่วยเหลือชาวบ้านได้   หรือบางท่านอาจมีฐานะดีแต่ไม่อยากเข้ามาเล่นการเมืองโดยวิธีนี้       แต่ถ้าเข้ามาเล่นจะโดยไม่ซื้อเสียงทางการเมืองก็ต้องเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และได้รับความนิยมจากประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งก็มีอยู่เป็นจำนวนน้อยทีเดียว แ ต่ประชาธิปไตยของตะวันตกในประเทศที่เจริญหรือพัฒนาแล้ว ก็ไม่มีให้เห็นถึงการปฏิวัติรัฐประหาร ทั้งนี้เพราะว่าการพัฒนาประชาธิปไตยของตะวันตกเกิดจากประชาชนของเขามีจิตสำนึกประชาธิปไตยซึ่งเป็นลักษณะเนื้อหามากกว่ารูปแบบประชาธิปไตย    แต่ประชาธิปไตยของตะวันตกอาจจะมีข้อเสียตรงที่ว่าผู้นำในประเทศที่เจริญแล้วอาจชอบไปจัดระเบียบสังคมโลก   และเข้าไปก้าวก่ายซึ่งอาจไม่ใช้วิธีการเป็นประชาธิปไตยก็ได้        ทำให้ระบบโลกทุกวันนี้ยังมีความสับสน (Chaos World Politics)  เพราะว่ากติกาประชาธิปไตยในแต่ละประเทศยังมีลักษณะกติกาที่ไม่เหมือนกัน  และแตกต่างกัน ไม่เหมือนกติกาฟุตบอลล์ซึ่งจะเตะประเทศใหนก็ใช้กติกาเหมือนกันหมด   มีมาตรฐานการเล่นที่แน่นอน  แต่การตัดสินจะยุติธรรมหรือไม่เป็นเรื่องของแต่ละประเทศ       แต่วิถีการปกครองประชาธิปไตยผู้เล่นคือประชาชนทั้งหมด  และต้องรู้กติกาเป็นอย่างดีและมีสปิริตในด้านการเล่น     แต่ถ้าหากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังขาดจิตสำนึกด้านประชาธิปไตยที่ถูกต้องแล้ว   ผลก็คือทำให้การเมืองไทยมีลักษณะวงจรอุบาทว์ คล้ายกับวงจรอุบาทว์ของความยากจนนั่นเอง     และเป็นความยากไร้ และความจนทางปัญญาด้านประชาธิปไตย และรวมไปถึงด้านจิตใจที่ดีมีศีลธรรม แต่อาจฟุ้งเฟ้อทางด้านวัตถุ และหลงใหลไปตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป     ทำให้จิตวิญญาณประชาธิปไตยที่คนไทยอุตส่าห์ต่อสู้มาตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เจือจางสูญหายไป    เพราะขาดรัฐบาลที่สนใจและเอาใจใส่บำรุงเลี้ยงดูประชาธิปไตยให้เจริญงอกงาม     และมัวแต่ไปสนใจด้านเศรษฐกิจปากท้องโดยเฉพาะรัฐบาลยุค พณ.ท่านดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเน้นทางด้านโลกาภิวัตน์ และประกาศตนเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง  ในขณะที่ทุกภาคส่วนในสังคมยังตามท่านไม่ทัน  เพราะท่านเน้นการบริหารแต่ไม่ได้เน้นการปกครองจึงทำให้กลุ่มนักวิชาการไม่มีความพอใจซึ่งจริง ๆ แล้ว   เรื่องปากท้องก็เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดของคนไทย   แต่เนื่องจากมีบุคคลกลุ่มชนชั้นกลาง และนักวิชาการที่สนใจวิถีการปกครองแบบประชาธิปไตยได้เข้ามามีบทบาท และคอยติดตามดูมาตลอด       แต่ก็เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่มีประชาชนสนใจมากพอสมควร  มักเป็นประชาชนภายในสังคมเมืองมากกว่าในชนบท        สังคมไทยจึงคาดหวังผู้นำที่จะทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง และมีความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ซึ่งเปรียบเสมือนรถไฟรางคู่ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายทีเดียวดังนั้นวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนกลุ่มนี้จึงมีลักษณะวัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้า (Subject political culture)  และมองว่าการเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง ไม่เกี่ยวกับประชาชน 
                 กลุ่มประชาชนชนชั้นกลาง   ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลที่มีการศึกษาดี และมักอยู่ในเมือง  ความต้องการด้านเสรีภาพในการคิด, ขีดเขียน และการแสดงออกจึงมีความต้องการมากกว่ากลุ่มบุคคลอื่น ๆ และหากรัฐบาลไม่ฟังเสียงคนกลุ่มนี้ หรือมีนโยบายที่ขัดแย้งกับกลุ่มที่ทำงานในภาครัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นกลุ่มที่มีองค์กรเข้มแข็งมากจากประวัติศาสตร์เท่าที่ผ่านมา        โดยเฉพาะรัฐบาลยุค ดร.ทักษิณ  ชินวัตรได้ประสบปัญหากับความขัดแย้งทางความคิด    รวมทั้งบทบาทของฝ่ายค้านที่มองว่ารัฐบาลมีเสถียรภาพมากเกินไป     และใช้อำนาจในลักษณะเชิงประชานิยม    ซึ่งนับวันเป็นการเพาะเชื้อให้เกิดความไม่พอใจ ซึ่งผู้นำไทยควรจะมีบุคลิกลักษณะประนีประนอม   และมีความเห็นอกเห็นใจกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ด้วยท่าทีที่เป็นกันเอง    และมีลักษณะเป็นการเปิดเผย,  ให้เสรีภาพ และยอมรับฟังความคิดเห็น    ก็จะทำให้กลุ่มบุคคลต่าง ๆ ได้ลดทิฐิ, การเอาชนะโดยใช้วิธีที่รุนแรง, หรือการโจมตี รวมไปถึงการใส่ร้ายป้ายสี   ซึ่งไม่เกิดผลดี     บทบาทของผู้นำและพฤติกรรมของผู้นำไทยจึงมีความสำคัญ  เช่นการลดระดับความเชื่อมั่นในตนเองให้น้อยลง, รับฟังความเห็นให้มากขึ้น,   ใส่ใจกับทุกปัญหาไม่ว่าปัญหาจะเป็นปัญหาเล็กน้อยก็ตาม     แต่ปัญหาเล็ก ๆอาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ยากที่จะเยียวยาแก้ไขได้  เปรียบเสมือนน้ำผึ้งหยดเดียวก่อให้เกิดปัญหาลุกลามบานปลายจนไม่สามารถหยุดยั้งได้    ในโลกตะวันตกมีปัญหาคนยากจนค่อนข้างน้อย  ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง (middle class)   หรือเป็นชนชั้นที่ร่ำรวยแล้ว  และมีการศึกษาค่อนข้างสูง    ทำให้ประเทศในตะวันตกมักไม่ปรากฏมีปัญหาที่ต้องใช้รถถังมาทำการก่อรัฐประหารเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถขจัดปัญหาการก่อการรัฐประหารและทหารก็อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลซึ่งเกิดจากจิตสำนึกทางประชาธิปไตยที่ได้รับการพัฒนามาเป็นอย่างดี     หรือที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบต้นโพธิ์ต้นไทร มีลักษณะประชาธิปไตยค่อนข้างยั่งยืนไม่ล้มลุกคลุกคลาน หรือถอยหลังลงคลอง     ประชาชนมีระเบียบวินัย เข้าใจและสำนึกประชาธิปไตยโดยไม่ต้องสอน    เพราะถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ระบบครอบครัว, สังคม, ชุมชน, องค์การต่าง ๆ  ทุกคนต่าง ๆ ทนุถนอมให้ประชาธิปไตยมีวิถีที่ดี, มีเสรีภาพ, มีความเสมอภาค และมีภราดรภาพ   อย่างสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีลินคอล์นที่ว่า การปกครองประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน,โดยประชาชนและเพื่อประชาชน  และจากคำสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สันที่ว่า มนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน (Man is equal)   ดังนั้นในสังคมที่มีการแบ่งชั้น หรือแบ่งฝักแบ่งฝ่ายจะไม่สามารถเป็นสังคมประชาธิปไตยได้  ดูตัวอย่างจากประเทศอินเดียที่มีชนชั้นวรรณะ 4 วรรณะเช่นวรรณะพรามณ์, แพทย์, จัณฑาล, สูตร แม้ว่านายกรัฐมนตรีดอกเตอร์อัมเบก้า ประกาศในรัฐธรรมนูญข้อแรกว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันภายใต้รัฐธรรมนูญ  แต่พฤติกรรมในสังคมของคนอินเดียก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงกล่าวคือยังมีการถือชั้นวรรณะกันอยู่  ดังนั้นสิ่งสำคัญของรัฐบาลพลเรือนต้องทำให้ประชาชนมีการกินดีอยู่ดีเสมอภาคกัน     เพื่อสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยอย่างที่คนไทยต้องการ        การปลูกฝังประชาธิปไตยในหมู่ชนชั้นกลางจึงไม่ใช่เรื่องยาก   แต่เราจะพบว่าสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ของไทยยังไม่ค่อยมีการสอนเรื่องประชาธิปไตยอย่างเป็นจริงเป็นจัง    ส่วนใหญ่หลักสูตรมหาวิทยาลัยมักเป็นหลักสูตรที่เน้นการทำมาหากินมากกว่าสนใจสังคม หรือการเมืองแบบประชาธิปไตย  การที่ผู้มีความรู้และการศึกษาดีขาดการศึกษาในเรื่องนี้เป็นส่วนใหญ่  ทำให้ประชาธิปไตยมักไปสนใจในกลุ่มบุคคลที่เรียนทางด้านรัฐศาสตร์, นิติศาสตร์, สังคมวิทยา, พัฒนาสังคม ฯลฯ     เป็นส่วนใหญ่      แต่กลุ่มวิชาชีพอื่น ๆ แล้วไม่ได้มีการถ่ายทอดอย่างเต็มที่       แม้กระทั่งการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาก็ไม่ค่อยเห็นมีวิชาเกี่ยวกับประชาธิปไตยเพื่อสร้างจิตสำนึกตั้งแต่เล็ก ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมไทย  เพราะว่าการปกครองประชาธิปไตยของไทยเป็นการลอกเลียนแบบหรือนำรูปแบบจากต่างประเทศ คนไทยส่วนใหญ่ในวิถีชีวิตไม่ค่อยมีประสบการณ์ในเรื่องประชาธิปไตยและเข้าใจประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบประชาธิปไตยตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516  ทำให้ประชาธิปไตยของไทยถูกตัดตอน และลดทอนความสนใจอย่างมาก      
            กลุ่มประชาชนคนชั้นสูง และร่ำรวย   เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญในการกำหนดทิศทางการเมือง และการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง  โดยเฉพาะนักธุรกิจ, พ่อค้าวาณิชย์,   ข้าราชการระดับสูง, นักวิชาการที่มีชื่อเสียง , และนักการทหารระดับสูง      มักเป็นกลุ่มผู้คอยสังเกตการณ์และบางครั้งก็เข้าร่วมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง         ซึ่งคนกลุ่มนี้มักมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลง และการเข้าไปแสวงหาอำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์จากทางการเมือง    แต่บางคนก็มีลักษณะที่ไม่สนใจและไม่สนใจในการเข้ามามีบทบาททางการเมือง    เพราะมองว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เปลืองตัว   หากทำดีก็เสมอตัว  หากทำมีปัญหาก็อาจทำให้เกิดเสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงได้         การเล่นการเมืองจึงเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อชื่อเสียง, วงศ์ตระกูล   เข้าทำนองเสียงมากได้มาก, เสี่ยงน้อยได้น้อย (High Risk, High Return, Low Risk, Low Return)    บางคนอาจมีราชรถมาเกยในตอนที่มีการปฏิวัติรัฐประหารซึ่งถือว่าเป็นเรื่องโชคดี ที่ไม่ต้องลงทุนทางการเมือง หรือนักวิชาการที่เข้าร่วมทางการเมืองอาจถูกวิพากย์วิจารณ์จากนักประชาธิปไตยว่ายอมรับใช้กลุ่มที่ล้มอำนาจทางด้านประชาธิปไตย จึงถือว่าเป็นการเสี่ยงทั้งนั้น แต้ถ้าหากมีความจริงใจในการแก้ปัญหาบ้านเมืองก็อาจเป็นเรื่องดีก็ได้แต่ก็อาจถูกกล่าวหาว่าไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน     แม้กระทั่งผู้สมัครรับเลือกตั้งก็ต้องเสียเงินเสียทองมากมาย แม้จะมี กกต. ก็ตาม         เนื่องจากนักการเมืองส่วนใหญ่มีความเห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังยากจน หากไม่ช่วยเหลือแล้ว  การสอบได้เป็นผู้แทนก็คงเป็นเรื่องที่ลำบาก  ซึ่งหากพิจารณาอย่างเป็นรูปธรรมว่าผู้ที่ลงเล่นการเมืองแล้วมีแต่ความรู้หรือมียศถาบรรดาศักดิ์ก็ตาม  แต่ถ้าไม่มีเงินแจกจ่ายชาวบ้านแล้ว ก็ไม่สามารถได้รับเลือกเป็น สส.ได้แน่นอน ลองท่านผู้ที่ทำการปฏิรูปการปกครองมาลงเลือกตั้งก็เหมือนกัน  ท่านก็จะไม่สามารถหนีกฎเกณฑ์นี้  เว้นเสียแต่การเมืองบ้านเราสามารถขจัดปัญหาการซื้อเสียงได้อย่างจริงจัง      แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นรัฐบาลที่ได้เสียงข้างมากควรปลูกฝังอย่างจริงจัง      ในการไม่ให้มีการซื้อเสียงเข้ามา    เพราะถ้าหากลงทุนมากผู้ที่เข้ามาบริหารประเทศก็หวังจะถอนทุนคืนซึ่งมักเกิดกับรัฐบาลพลเรือนแทบทุกรัฐบาลก็ว่าได้และมักเป็นเหยื่อหรือเงื่อนไขของการปฏิวัติรัฐประหารเรื่อยมา   เพราะประเทศไทยยังขาดกลไกที่ควบคุมการซื้อเสียงเลือกตั้งได้   นอกเสียจากหากลวิธีที่ทำให้การซื้อเสียงน้อยที่สุด ในลักษณะการบังคับให้ระบบการเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม และให้ความเสมอภาคกันในการหาเสียง, การติดป้าย, การรณรงค์เลือกตั้ง, การที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งแบบเคลื่อนที่เข้าหาชุมชน หรือการบริการรถโดยสารฟรีเพื่อนำพาประชนไปสู่สนามเลือกตั้ง, หรือการสมนาคุณแก่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด   ก็อาจแก้ปัญหาได้  แต่ก็ต้องระวังถูกกล่าวหาว่าเป็นเรื่องประชานิยม     ซึ่งแก้ปัญหาได้โดยมีองค์กรกลางเข้ามาจัดการด้านนี้โดยตรงที่เชื่อถือได้  เช่นอาจมีองค์กรกลางเลือกตั้งที่เลือกตั้งจากประชาชนในแต่ละจังหวัดมาทำหน้าที่ก็ได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง