การขึ้นเงินเดือนลูกจ้างและข้าราชการมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ?
ปัจจุบันการที่รัฐบาลมีนโยบายขึ้นเงินเดือนข้าราชการ และลูกจ้างทั่วประเทศนั้นเกิดประโยชน์หรือเป็นผลเสียอย่างไร โดยเฉพาะการขึ้นเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีให้กับลูกจ้างเป็นเืดือนละ 15,000 บาทซึ่งกระทบต่อเนื่องกับการขึ้นเงินเดือนข้าราชการสำหรับผู้จบปริญญาตรีด้วย ส่วนค่าจ้างแรงงานทั่วไปเพิ่มจากเดิม 200 กว่าบาท เป็นวันละ 300 บาท โดยรัฐบาลลดภาษีเงินได้จากภาคเอกชน 7 % ซึ่งมีข้อดีข้อเสียตามทัศนะของผู้เขียนดังนี้
ก. การขึ้นค่าจ้างคนงานวันละ 300 บาท ทำให้คนงานมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่พออยู่พอกินได้ และมีแรงจูงใจในการทำงาน เพราะปัจจุบันกรรมกร หรือคนงานรับประทานอาหารวันละ 2 มื้อ แต่อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจอุตสาหกรรม หรือการจ้างงานอื่น ๆ ที่ไม่สามารถจ่ายไ้ด้ หากนายจ้างมีการลดคนงานลงก็จะเป็นที่รัฐบาลต้องคำนวณผู้ว่างงานโดยรัฐควรสร้างโครงการขนาดใหญ่เพื่อจ้างแรงงานขนาดใหญ่เพื่อก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานน้อยลง แต่รัฐมีรายได้สูงขึ้น และทำให้นายจ้างจะหาลูกจ้างที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นได้แก่พม่า,ลาว,เขมร เข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลควรทำเพื่อการจ้างงานขนานใหญ่ได้แก่ การทำรถไฟเชื่อมประเทศจีน,ลาว,เวียดนาม ฯลฯ เพื่อให้เกิดการจ้างงานขนานใหญ่โดยรัฐไม่ต้องลงทุนหรือลงทุนน้อยที่สุด หรือการปฏิรูปเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่ปล่อยว่างโดยให้เกิดทุนต่างชาติเป็นผู้จ้างรายใหญ่ในการเป็นพันธมิตรร่วมกับรัฐบาล หรือส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศในแถบตะ่วันออกกลาง ฯลฯ
ข้อเสียก็คือนายจ้างมีต้นทุนในการประกอบการสูงขึ้น มีผลกระทบต่อการลดการจ้างแรงงาน แต่ผลดีก็ืคือคุณภาพชีวิตของลูกจ้างดีขึ้น มีเงินเหลือพอเลี้ยงครอบครัว
ข. การขึ้นเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี ถ้าเป็นภาคธุรกิจเอกชนข้อดีคือทำให้ผู้ทำงานภาคธุรกิจเอกชนมีความสามารถในการจ่ายซื้อสินค้าบริการได้ ธุรกิจต้องปรับตัวในการยกระดับการทำงานให้สูงขึ้น และสามารถแ่ข่งขันกับต่างประเทศได้ เป็นการกระจายรายได้ ส่วนรัฐบาลก็ลดภาษีให้กับภาคเอกชน 7 % ก็จะทำให้สามารถกำหนดเงินเดือนระดับปริญญาตรี แต่ส่วนที่ภาคธุรกิจก็ต้องเพิ่มเงินกับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยุ่ในองค์การนั้นโดยยึดหลักความเสมอภาคในการจ่ายค่าตอบแทน
ส่วนผลเสียคือภาคธุรกิจเอกชนอาจมีการแบกภาระบ้าง ก็ต้องไปเน้นการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ เพื่อกำหนดราคาสินค้าที่สูงกว่าเดิม และสามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ เท่ากับการบริหารธุรกิจต้องมีความเป็นมืออาชีพสูงขึ้น และเป็นโอกาสที่ภาคธุรกิจจะพยายามลดค่าใช้จ่าย และอาจรวมตัวกันต่อต้านการคอรัปชั่น ซึ่งเป็นเรื่องดีที่ภาคธุรกิจควรขยายภาคีการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น
เพื่อลดต้นทุนในการจ่ายค่าคอมมิชชั่น ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐควรสนับสนุนแนวคิดนี้ ก็จะยิ่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ หรือการสร้างความเชื่อมั่นในรัฐบาล ทำให้ต่างประเทศอยากมาลงทุนมากขึ้น
ค. การขึ้นเดือนข้าราชการ ก็เป็นอีกภาระหนึ่งที่รัฐบาลต้องจ่ายค่าตอบแทนเพื่อให้ข้าราชการมีสถานภาพในการทำงานที่มั่นคง แต่เนื่องจากระบบราชการมีเงินเดือน และสวัสดิการที่สูงพอสมควรซึ่งมีข้าราชการและลูกจ้างประจำไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน ดังนั้นแนวโน้มควรลดจำนวนข้าราชการให้น้อยลง โดยส่งเสริมการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด (early retire) การเพิ่มเงินเดือนข้าราชการมีข้อดีตรงที่ทำให้ผู้ที่จบปริญญาตรี หรือผู้มีความสามารถอยากมาทำงานราชการเพิ่มขึ้น ทำให้ระบบราชการได้คนดีมีความสามารถเข้าสู่ระบบมากขึ้น และทำให้ฐานะรายได้ข้าราชการอยู่ได้ และไม่ก่อหนี้สินให้เป็นภาระครอบครัวในอนาคต เมื่อรายได้ข้าราชการอยู่ได้ก็จะไม่นิยมการทุจริตคอรัปชั่น หรือยอมเป็นเครื่องมือของผู้บริหารราชการในการทุจริตแบบสมคบคิด ทำให้การคอรัปชั่นในวงราชการระบาดไปทั่วประเทศ รวมทั้งการปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ข้าราชการต้องรักษาสถานภาพที่ดี และการจ่ายค่าตอบแทนแบบนี้สร้างความเสมอภาคในระบบราชการด้วยการยกระดับข้าราชการอืน ๆ ไปพร้อม ๆ กันเพื่อความเป็นธรรม รวมทั้งผู้เกษียณข้าราชการไปแล้ว ซึ่งรัฐบาลต้องมีมาตรการป้องกันการทุจริตการคอรัปชั่นในทุกรูปแบบ และให้ร่วมกันตรวจสอบซึ่งกันและกัน หรือหาวิธีเพิ่มสวัสดิการภาครัฐประประชาชนด้วยการนำเงินจากค่าบริการประชาชนหรือผู้ต้องการความสะดวก ก็จะมีการเก็บเงินเป็นกองกลางด้วยการตรวจสอบจากประชาคมหน่วยงาน และชี้แจงตัวเลขและมีความโปร่งใส สามารถนำเงินไปสร้างสวัสดิการภาครัฐและประชาชนได้ รวมทั้งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ควรเป็นระบบคุณธรรม ในการรับสมัครตำแหน่งผู้บริหารรัฐวิสาหกิจด้วยระบบคุณธรรม และส่งเสริมการใช้กฎหมายระบบคุณธรรม หรือกฎหมายการจ้างงานที่เป็นธรรม (Equal employment equity) เพื่อลดปัญหาการฮั้วกันในระบบหน่วยงาน การโอนย้ายตำแหน่งที่ใช้ระบบอุปถัมภ์ หรือพรรคพวกเป็นใจ (favoritism)
การจ่ายค่าตอบแทนนี้ ภาครัฐต้องแสวงหารายได้ และลดรายจ่าย, และลดปัญหาการคอรัปชั่น โดยเฉพาะการหารายได้นั้นรัฐอาจเชิญชาวต่างชาติมาลงทุนทุกรูปแบบที่เป็นโครงการใหญ่ ๆ เช่น
- โครงการรถไฟฟ้าข้ามประเทศลาว และจีน และประเทศอื่น ๆ
- โครงการรถไฟฟ้าเพื่อเชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั่วประเทศ
- โครงการสร้างรถไฟทางด่วนโทลล์เวย์, มอเตอร์เวย์ หรือกระเช้าลอยฟ้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวต่าง ๆ
- โครงการสร้างเมืองใหม่เพื่อธุรกิจการค้า ในจังหวัดที่สำคัญ ๆ เพื่อการขยายเมืองใหม่ทางธุรกิจ
เพื่อการลงทุน
- โครงการพัฒนาซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อการพัฒนาสารสนเทศโดยเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและเอกชนในด้านสารสนเทศ เพื่อความรวดเร็วในบริการ
- โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในโซนที่ปลอดภัย มีระบบประกันความปลอดภัย
- โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ ฯลฯ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น