สิ่งที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ต้องเผชิญในอนาคต :เสถียรภาพ และความยั่งยืน
การบริหารของรัฐบาลในยุคใหม่ของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ที่จะต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติการเมืองของความขัดแย้งทางความคิดและแนวทางในการบริหารความขัดแย้ง และภาพลักษณ์ที่จะประเทศสู่การปรองดองรวมทั้งการแก้ปัญหาสิ่งที่จุกจิกกวนใจในการบริหารบ้านเมือง ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนจะได้ใช้แนวทางความคิดที่เรียกว่า "Swot Analysis"
1. S = Strongness คือจุดแข็ง พบว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งที่มีคะแนนเสียง เกินกึ่งหนึ่ง ในลักษณะได้ชัยชนะแบบถล่มทลาย (Land slide) ประกอบกับบุคลิกภาพที่นุ่มนวล,ยิ้มแย้มแจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ที่เข้ากับคนอื่นได้ดี และไม่โต้ตอบผู้คัดค้านด้วยความใจเย็น ซึ่งสามารถครองใจคนไทยในประเทศ และชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี ส่วนคณะรัฐบาลก็ประกอบด้วยมืออาชีพทางเศรษฐกิจหลายคน และตัวคุณยิ่งลักษณ์มีภาพลักษณ์ของนักธุรกิจชั้นนำที่ประสบความสำเร็จ ทำให้เป็นความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างไม่ยากนัก
2. W=Weaknessคือจุดอ่อนพบว่าเป็นจุดที่ฝ่ายคัดค้านมักโจมตีว่าเกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรีที่ชื่อว่าทักษิณ ชินวัตรซึ่งความมีอคติและการใส่ร้ายป้ายสีซึ่งหลายครั้งก็เกินความเป็นจริงซึ่งความจริงๆ แล้วนายกทักษิณมีผลงานค่อนข้างมากและเป็นที่พอใจของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเพียงแต่มีคนกลุ่มที่น้อยกว่ายังแฝงด้วยอคติหรือเกรงว่าจะมีบทบาทการเมืองมากเกินไป ทำให้ฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามเกรงกลัว ในขณะที่จุดอ่อนของฝ่ายค้านคือเมื่อมาเป็นรัฐบาลไม่ค่อยมีผลงาน,มีการทุจริตสูงกว่า,มีการจัดตั้งรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม, และการรัฐประหารที่ฉีกรัฐธรรมนูญและร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ยึดโยงอำนาจมาจากประชาชนทำให้กฎหมายมีความเปราะบางในการเลือกข้าง หรือการเป็นสองมาตรฐานซึ่งหมายความว่าการตีความที่ทำให้รัฐบาลมีโอกาสผิดมีสูงมาก เช่นรัฐบาลสมัครมีความผิดเพราะเพียงการทำกับข้าว
3. O = Opportunity คือสิ่งที่รัฐบาลมีโอกาสในการแก้ปัญหาเยียวยาจากสิ่งที่ยังไม่คืบหน้าในคดีต่างๆ รวมทั้งโอกาสในการสร้างสมานฉันท์ของสังคม เพราะเป็นสิ่งที่สังคมใน ยุคปัจจุบันมองว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย และล้าสมัย ซึ่งไม่ช่วยให้สังคมประเทศไทยเดินหน้า ประกอบกับรัฐบาลมีพลังกลุ่มขนาดใหญ่ให้การสนับสนุนแก่รัฐบาลในการช่วยเหลือโอกาสในการเพิ่มพลังอำนาจให้กับประชาชนทุกกลุ่มได้มีส่วนร่วมให้มากที่สุดเช่นการตั้งองค์กรนักวิชาการขนาดใหญ่, องค์กรเยาวชนที่เข้ามากิจกรรมสาธารณะที่เข้ามาช่วยงานบ้านเมืองเพื่อต้าน กระแสนักวิชาการฝ่ายคัดค้านซึ่งค่อนข้างมีมากประกอบกับสื่อมักนิยมนำวาทะกรรมของฝ่ายคัดค้านมาพูดอยู่เป็นประจำ ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลซึ่งเป็นนักปฏิบัติแต่พูดไม่เก่งมักไม่ค่อยมีนักวิชาการเข้ามาเกี่ยวข้องมากเท่าใด ซึ่งอาจจะเจอวาทะกรรมที่โต้แย้งและค่อนแคะตลอดเวลา ทำให้รัฐบาลต้องหวั่นไหวต่อการบริหารประเทศชาติ หรือทำให้สมาธิในการทำงานไม่ดี
4. T = Threath คือปัญหาคุกคาม คือปัญหาของฝ่ายปฏิกิริยาที่คัดค้านอดีตนายกรัฐมนตรี รวมทั้งฝ่ายค้านพยายามหาจุดหรือช่องโหว่โจมตี และรวมทั้งฝ่ายกองทัพที่เข้ามามีบทบาทมากเกินไป จนกระทั่งมีการข่มขู่คุกคามประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งทำอย่างไรทหารจึงจะกลายเป็นทหารอาชีพแบบประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือของกลุ่มองค์การใด ๆ ที่ทำลายอำนาจของประชาชน ซึ่งก็คือการส่งเสริมให้ทหารระดับนำได้เข้ารับการฝึกอบรมประชาธิปไตยในการ พัฒนาจิตสำนึก ก็ย่อมจะทำให้สามารถปรับความคิดที่เข้ากันได้กับสังคมที่มีความหลากหลายทาง ความคิด มิใช่ติดยึดความคิดใดความคิดหนึ่ง ซึ่งคงไม่มีใครที่จะมีความคิดประเสริฐสุด แต่ความคิดประเสริฐสุดเกิดจากการสังเคราะห์หรือบูรนาการความคิดของทุกฝ่ายมา ร่วมกัน ในลักษณะการเมืองแบบทุกฝ่ายเป็นผู้ชนะ (All the win games) แต่ในโลกความเป็นจริงทำให้ได้ตามอุดมคติได้ยาก เพียงแต่การใช้ความพยายามพัฒนาไปทีละขั้น
ส่วนการจัดการเชิงยุทธศาสตร์โดยใช้หลักการทำงานเป็นทีม ในลักษณะทีมรัฐบาลที่แข็งแกร่งมีประสิทธิภาพสูงในการจัดฟอร์มคณะรัฐมนตรี และฟอร์มทีมในทุกหน่วยงานให้มีความเป็นปึกแผ่นในทุกสาขาอาชีพ ในการระดมบุคคลทุกฝ่ายโดยเข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาทในการเยียวยาความรู้สึกนึกคิดไปในทิศทางที่ยอมรับความคิดเห็นที่ แตกต่างซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินของชาติ (National Asset) ดังนั้นความขัดแย้งหากมองในแง่ดีก็คือการเติมเต็มความสมบูรณ์ในความต้องการ ของบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในลักษณะการจัดการเชิงสมดุลให้มากที่สุด โลกนี้คงไม่มีใครทำอะไรได้สมบูรณ์ สิ่งสำคัญคือการตัดสินใจในการทำงานที่พอทำได้เท่านั้น (satisficing) ดังนั้นบางครั้งฝ่ายค้านที่เรียกร้องความสมบูรณ์แบบ (perfectionism) ในทุกเรื่องนั้นในความเป็นจริงไม่มีใครทำได้ เพียงแต่ว่าพอทำได้ในระดับกลาง ๆเท่านั้น แต่ในเวลาที่คนเราสันทัดแล้ว ก็สามารถยกระดับไปสู่ขั้นสูงได้ แต่ถึงเวลานั้นปรากฎการณ์ก็อาจมีการแปรเปลี่ยนไปแล้ว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น