ใครจะเป็นผู้ตัดสินความผิด กกต.

ชนวนทางการเมืองที่สำคัญของระบบการเมืองไทย คือการก้าวก่ายแทรกแซงทางการเมืองขององค์การนอกระบบ เช่นมีการรัฐประหารทำให้เกิดองค์กรอิสระ รวมทั้ง กกต.ที่ได้อำนาจมาจากนักรัฐประหาร ทำให้บ้านเมืองไม่เดินหน้า รวมทั้งองค์การ กกต.เป็นที่จับตาของประชาชนทั่วประเทศ  ดังนั้นการตัดสินใจของคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่สวนทางประชาชนทั้งประเทศเป็นเรื่องอันตรายได้ แต่ควรปล่อยให้การตัดสินใจของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะกลายเป็น กกต.เป็นอุปสรรคทางการเมือง ซึ่งคาดหวังว่าจะได้คนดีมีความสามารถมาทำงาน ซึ่งก็จะเห็นว่าการได้รัฐบาลชุดก่อนที่คาดคิดว่าจะเป็นรัฐบาลในอุดมคติ และคิดว่าจะเป็นคนดีมีคุณธรรมกลับทำให้บ้านเมืองได้รับความเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ,การเมือง,วัฒนธรรม รวมทั้งความแตกแยกทางสังคม  ซึ่งสิ่งสำคัญ กกต.คือองค์กรที่ปลดชนวนอำนาจ 2 ขั้วไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาประเทศชาติอย่างมาก นำไปสู่การจราจลทางการเมือง ในเมื่อสังคมไม่ต้องการจราจลในท้องถนน  องค์กรอิสระทั้งหลายไม่สามารถทวนกระแสความต้องการของประชาชนได้ และทำให้ภาพพจน์ของต่างชาติมองประเทศไทยเสียหายจากการกระทำขององค์กรอิสระเอง เช่นในความเห็นของนักวิจารณ์ชาวสิงคโปร์ก็ออกมาพูดว่าประเทศไทยใช้กฎหมายทำการรัฐประหารอำนาจของประชาชน และเจตจำนงของประชาชน   บ้านเมืองจะลุกลามอย่างไม่สิ้นสุด  และผู้คนจะสงสัยว่า กกต.เป็นพลพรรคของพรรคการเมืองหรือไม่  การเมืองมิใช่เรื่องที่จะให้คนสมบูรณ์แบบมาแก้ัปัญหา เพราะในชีวิตจริง ๆ ไม่มี และคนที่คิดว่าสมบูรณ์แบบก็อาจเป็นคนชั่วร้ายก็ได้ เพราะเป็นคนเอาตัวรอด, หรือเล่นกลเ่ก่งกว่า ทำให้เมื่อมาบริหารบ้านเมืองเสียหายกว่าคนที่คิดว่ามีความสามารถ แต่เป็นคนที่ กกต.ไม่สนับสนุน    ดังนั้นจึงขอให้ กกต.โปรดใช้วิจารณญาณเพื่อบ้านเมือง ให้จัดตั้งรัฐบาลของประชาชน ไม่ควรแสดงการสกัดกั้นดาวรุ่ง หรือบุคคลที่จะช่วยเหลือบ้านเมือง  และประเทศไทยบอบช้ำเกินเยียวยาแล้ว  รวมทั้ง กกต.เองก็ทำงานผิดพลาด ใครจะเป็นผู้ตัดสิน กกต.ในความบกพร่องผิดพลาด  ดังนั้นไม่ควรเอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  เพื่อให้สังคมเดินไปได้อย่างสงบเรียบร้อย โดยไม่ต้องฟังเสียงที่มีเสียงน้อยกว่า  จึงจะถือว่าเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ