สิ่งที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นกับประเทศไทยในรัฐบาลยุคใหม่
จากการวิเคราะห์สังคมประเทศไทย และสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ไม่ว่าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ,สังคม, การเมือง และวัฒนธรรม ที่ปรารถนาให้เิกิดขึ้นกับประเทศไทยอีกต่อไป ดังนี้
ก. ในทางการเมือง
1. ปรารถนาให้การเืมืองนิ่ง เพื่อการพัฒนาประเทศชาติ ไม่ปรารถนาความวุ่นวายหรือมีผู้ก่อกวนทำให้ชาติบ้านเมืองเสียหายต่อส่วนรวม
2. นักการเมืองตั้งใจทำงานเพื่อชาติบ้านเมือง โดยให้ความสำคัญกับประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และไม่อยากให้ฝ่ายค้านคอยตีรวน หรือส่งกระแสให้กับกลุ่มต่าง ๆ และกองทัพเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง โดยไม่ฟังเสียงประชาชน
3. ส่งเสริมวาระแห่งชาติว่าด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตย ขจัดปัญหาเงื่อนไขการรัฐประหาร และการอ้างชอบธรรมในทุกรูปแบบ โดยถือหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ว่าเป็นการปกครองของประชาชน, โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกหมู่เหล่าให้เข้ามามีบทบาท หรือกิจกรรมทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตย และควรทำอยู่เป็นประจำเพื่อความมั่นคงของการปกครองแบบประชาธิปไตย
5. ส่งเสริมการปรองดองแห่งชาติ ในการจัดสรรเงินงบประมาณกระจายไปทุกชนชั้น และละลายพฤติกรรมแบบแบ่งขั้ว แบ่งสี่แบ่งเหล่าเพื่อความสามัคคีของคนในชาติ สร้างความเสมอภาคในชนชั้นให้เกิดความเท่าเทียมกัน ผู้ที่มั่งมีควรเีสียสละให้แก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
6. การทำงานของคณะรัฐบาลมีลักษณะการทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็ง แต่ละกระทรวงทบวงกรมควรเชื่อมโยงเครือข่ายถึงกัน และสอดรับนโยบายโดยไม่ซ้ำซ้อนในการจัดสรรงบประมาณ
7. ป้องกันการคอรัปชั่นโดยหาทางตัดวงจรที่ทำให้มีช่องโหว่ หรือสร้างพันธมิตรร่วมกับองค์กรภาคธุรกิจที่สร้างเครือข่ายต้านคอรัปชั่น (ลดปัญหาการคอรัปชั่นให้เหลือน้อยที่สุด)
ข. ในทางเศรษฐกิจ
1. เพิ่มรายได้, กระจายโอกาสที่เป็นธรรม,สร้างงานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาในทุกรูปแบบ
และเชื่อมโยงเป็นพันธมิตรเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเชียน
2. สร้างโครงการขนาดใหญ่โดยรัฐไม่ลงทุน หรือลงทุนน้อย แต่ไ้ด้ัรับผลประโยชน์ทันทีทันใด
เช่นการสร้างรถไฟฟ้า, ทางด่วน,รถไฟฟ้าใต้ดิน, สร้างเมืองธุรกิจ, ศูนย์แฟชั่น,ศูนย์ภูมิปัญญาไทยฯลฯ
3. ส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อม โดยเป็นพันธมิตรร่วมกับภาคธุรกิจในการเชื่อมต่อธุรกิจขนาดกลางหรือธุรกิจขนาดใหญ่ ในลักษณะร่วมมือกัน และไม่แข่งขันเอง แต่เป็นการทำธุรกิจที่มีโครงข่ายสอดรับทั้งระบบ
4. ส่งเสริมเศรษฐกิจรากหญ้าให้มีความมั่นคง และพ้นขีดความยากจนอย่างรวดเร็ว ด้วยการสร้างโอกาสหารายได้จากเวลาว่างจากการทำนา หรือทำสวน ฯลฯ มีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตสินค้าแบบกองทุนหมู่บ้าน
5. ส่งเสริมให้ระบบการธนาคาร หรือสถาบันการเงินให้มากกว่านี้ เพื่อสร้างสภาพคล่องต่อการลงทุน หรือการร่วมทุนหรือการปล่อยสินเชื่อที่มีความคล่องตัว
6. ส่งเสริมระบบการค้าเสรี ลดการผูกขาดตัดตอน การกักตุนสินค้าที่ทำให้ราคาสินค้าแพง ลดห่วงโซ่อุปทานของการตลาดเพื่อประชาชนสามารถเข้าหาแหล่งซื้อจากตลาดโดยตรงได้ หรือรัฐบาลรับซื้อมาจำหน่าย หรือจัดให้มีสหกรณ์สินค้าราคาถูกทั่วประเทศ ในลักษณะ 1 ตำบล 1 สหกรณ์
7. ส่งเสริมการรวมกลุ่มมืออาชีพทางเศรษฐกิจ หรือนักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์และนักบริหารธุรกิจมืออาชีพในการประชุมโต๊ะกลม ในเดือนละ 1-2 ครั้งเพื่อหาลู่ทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และทำให้เศรษฐกิจขยายตัว เสนอเป็นยุทธศาสตร์แก้ปัญหาของภาครัฐ
ค. ในทางสังคม
1. สร้างสังคมแห่งการปรองดอง, การลดช่องวางทางสังคม, การพัฒนาสังคมทุกชุมชนในรูปแบบการรวมกลุ่มเป็นหน่วยพัฒนาสังคมประจำหมู่บ้านและตำบล
2. ส่งเสริมระบบคุณธรรม หรือจริยธรรมทางสังคมในด้านการสรรหา,บรรจุแต่งตั้ง,โอนย้าย
ด้วยระบบคุณธรรม โดยใช้องค์กรกลางการสรรหาบุคลากรโดยเฉพาะระดับผู้บริหาร
3. สร้างสรรค์สังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยใช้ระบบการเลือกตั้งตั้งแต่ระดับผู้ว่าราชการจังหวัดใหญ่ควรให้มีการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระดำรงตำแหน่งวาระเดียวไม่เกิน 4 ปี
4. การระดมความคิดของสังคมเพื่อการเสนอแนะภาครัฐในทุกกิจกรรม เพื่อระดมการมีส่วนร่วมของประชาชน สร้างภาคประชาชนให้เข็มแข้งเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันบุคคลที่ไม่ปรารถนาประชาธิปไตย
5. ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมทุกรูปแบบ ในลักษณะการกระจายรายได้ในสังคมชนบทที่เป็นพื้นฐานของสังคม ยกระดับฐานะคนรากหญ้าให้มีชีวิตที่ดึขึ้น เช่นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
6. ส่งเสริมความเข้าใจของคนในชาติร่วมกันในเรื่องการยอมรับความแตกต่างทางความคิด,ความเชื่่อ, และเสียสละเพื่อสังคม โดยเฉพาะระบบการศึกษาต้องมีการปฏิวัติการเรียนรู้ครั้งใหญ่ และการเปลี่ยนแปลงตัวผู้บริหารการศึกษาโดยใช้ระบบคุณธรรมมาใช้อย่างเต็มที่โดยให้มีการดำรงตำแหน่งในวาระไม่เกิน 3-4 ปีเพียงวาระเดียว
7. ลดปัญหายาเสพติดทั่วประเทศ โดยโครงการคืนคนดีสู่สังคม จัดตั้งหมู่บ้านปลอดยาเสพติดทั่วไทย ช่วยกันสอดส่องบุคคลที่ค้ายาเสพติด และสร้างงานให้ผู้หลงผิดกับตัวเป็นคนดีมีงานทำ
ง. ทางด้านวัฒนธรรม
1. ส่งเสริมความเชื่่อ,ค่านิยม,พฤติกรรมในระบอบประชาธิปไตย เปลี่ยนจากวัฒนธรรมการเมืองแบบเฉื่อยชาหรือไพร่ฟ้าให้เป็นวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม
2. ร่วมกันขจัดความเห็นที่แตกต่างโดยการสัมมนาบุคคลที่มีความเห็นแตกต่างให้มาประชุมระดมความคิดกัน ในลักษณะที่มุ่งดีต่อกัน เปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตร เปลี่ยนความคิดเชิงลบมาเป็นบวก
3. ส่งเสริมให้มีความเชื่อที่ยึดถือความจริง ไม่เชื่อไสยศาสตร์, ผีสางนางไม้, ซึ่งทำให้ประชาชนไม่มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์
4. ส่งเสริมและรักษาจารีตประเพณีที่ดีงามของคนไทย โดยรื้อฟื้นประเพณีเก่าที่ดีงาม เช่นประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว, ประเพณีไทยในด้านการแต่งกายให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
5. สร้างความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง และสามารถหลอมรวมกันได้ โดยส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มผู้ที่มีความแตกต่างกัน เพื่อลดช่องว่างแบบพวกใครพวกมัน แต่จะกลายเป็นพวกเดียวกัน
สรุป สิ่งสำคัญคือรัฐบาลเป็นหลักชัย ที่เริ่มจากความร่วมมือ และเป็นทีมงานที่เข้มแข็ง และเป็นทีมที่มีผลงานเป็นเลิศ โดยสรรหาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่ง และมีสมรรถนะเหมาะสมกับงานในหน้าที่นั้น ๆ
ก. ในทางการเมือง
1. ปรารถนาให้การเืมืองนิ่ง เพื่อการพัฒนาประเทศชาติ ไม่ปรารถนาความวุ่นวายหรือมีผู้ก่อกวนทำให้ชาติบ้านเมืองเสียหายต่อส่วนรวม
2. นักการเมืองตั้งใจทำงานเพื่อชาติบ้านเมือง โดยให้ความสำคัญกับประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และไม่อยากให้ฝ่ายค้านคอยตีรวน หรือส่งกระแสให้กับกลุ่มต่าง ๆ และกองทัพเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง โดยไม่ฟังเสียงประชาชน
3. ส่งเสริมวาระแห่งชาติว่าด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตย ขจัดปัญหาเงื่อนไขการรัฐประหาร และการอ้างชอบธรรมในทุกรูปแบบ โดยถือหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ว่าเป็นการปกครองของประชาชน, โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกหมู่เหล่าให้เข้ามามีบทบาท หรือกิจกรรมทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตย และควรทำอยู่เป็นประจำเพื่อความมั่นคงของการปกครองแบบประชาธิปไตย
5. ส่งเสริมการปรองดองแห่งชาติ ในการจัดสรรเงินงบประมาณกระจายไปทุกชนชั้น และละลายพฤติกรรมแบบแบ่งขั้ว แบ่งสี่แบ่งเหล่าเพื่อความสามัคคีของคนในชาติ สร้างความเสมอภาคในชนชั้นให้เกิดความเท่าเทียมกัน ผู้ที่มั่งมีควรเีสียสละให้แก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
6. การทำงานของคณะรัฐบาลมีลักษณะการทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็ง แต่ละกระทรวงทบวงกรมควรเชื่อมโยงเครือข่ายถึงกัน และสอดรับนโยบายโดยไม่ซ้ำซ้อนในการจัดสรรงบประมาณ
7. ป้องกันการคอรัปชั่นโดยหาทางตัดวงจรที่ทำให้มีช่องโหว่ หรือสร้างพันธมิตรร่วมกับองค์กรภาคธุรกิจที่สร้างเครือข่ายต้านคอรัปชั่น (ลดปัญหาการคอรัปชั่นให้เหลือน้อยที่สุด)
ข. ในทางเศรษฐกิจ
1. เพิ่มรายได้, กระจายโอกาสที่เป็นธรรม,สร้างงานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาในทุกรูปแบบ
และเชื่อมโยงเป็นพันธมิตรเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเชียน
2. สร้างโครงการขนาดใหญ่โดยรัฐไม่ลงทุน หรือลงทุนน้อย แต่ไ้ด้ัรับผลประโยชน์ทันทีทันใด
เช่นการสร้างรถไฟฟ้า, ทางด่วน,รถไฟฟ้าใต้ดิน, สร้างเมืองธุรกิจ, ศูนย์แฟชั่น,ศูนย์ภูมิปัญญาไทยฯลฯ
3. ส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อม โดยเป็นพันธมิตรร่วมกับภาคธุรกิจในการเชื่อมต่อธุรกิจขนาดกลางหรือธุรกิจขนาดใหญ่ ในลักษณะร่วมมือกัน และไม่แข่งขันเอง แต่เป็นการทำธุรกิจที่มีโครงข่ายสอดรับทั้งระบบ
4. ส่งเสริมเศรษฐกิจรากหญ้าให้มีความมั่นคง และพ้นขีดความยากจนอย่างรวดเร็ว ด้วยการสร้างโอกาสหารายได้จากเวลาว่างจากการทำนา หรือทำสวน ฯลฯ มีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตสินค้าแบบกองทุนหมู่บ้าน
5. ส่งเสริมให้ระบบการธนาคาร หรือสถาบันการเงินให้มากกว่านี้ เพื่อสร้างสภาพคล่องต่อการลงทุน หรือการร่วมทุนหรือการปล่อยสินเชื่อที่มีความคล่องตัว
6. ส่งเสริมระบบการค้าเสรี ลดการผูกขาดตัดตอน การกักตุนสินค้าที่ทำให้ราคาสินค้าแพง ลดห่วงโซ่อุปทานของการตลาดเพื่อประชาชนสามารถเข้าหาแหล่งซื้อจากตลาดโดยตรงได้ หรือรัฐบาลรับซื้อมาจำหน่าย หรือจัดให้มีสหกรณ์สินค้าราคาถูกทั่วประเทศ ในลักษณะ 1 ตำบล 1 สหกรณ์
7. ส่งเสริมการรวมกลุ่มมืออาชีพทางเศรษฐกิจ หรือนักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์และนักบริหารธุรกิจมืออาชีพในการประชุมโต๊ะกลม ในเดือนละ 1-2 ครั้งเพื่อหาลู่ทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และทำให้เศรษฐกิจขยายตัว เสนอเป็นยุทธศาสตร์แก้ปัญหาของภาครัฐ
ค. ในทางสังคม
1. สร้างสังคมแห่งการปรองดอง, การลดช่องวางทางสังคม, การพัฒนาสังคมทุกชุมชนในรูปแบบการรวมกลุ่มเป็นหน่วยพัฒนาสังคมประจำหมู่บ้านและตำบล
2. ส่งเสริมระบบคุณธรรม หรือจริยธรรมทางสังคมในด้านการสรรหา,บรรจุแต่งตั้ง,โอนย้าย
ด้วยระบบคุณธรรม โดยใช้องค์กรกลางการสรรหาบุคลากรโดยเฉพาะระดับผู้บริหาร
3. สร้างสรรค์สังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยใช้ระบบการเลือกตั้งตั้งแต่ระดับผู้ว่าราชการจังหวัดใหญ่ควรให้มีการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระดำรงตำแหน่งวาระเดียวไม่เกิน 4 ปี
4. การระดมความคิดของสังคมเพื่อการเสนอแนะภาครัฐในทุกกิจกรรม เพื่อระดมการมีส่วนร่วมของประชาชน สร้างภาคประชาชนให้เข็มแข้งเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันบุคคลที่ไม่ปรารถนาประชาธิปไตย
5. ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมทุกรูปแบบ ในลักษณะการกระจายรายได้ในสังคมชนบทที่เป็นพื้นฐานของสังคม ยกระดับฐานะคนรากหญ้าให้มีชีวิตที่ดึขึ้น เช่นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
6. ส่งเสริมความเข้าใจของคนในชาติร่วมกันในเรื่องการยอมรับความแตกต่างทางความคิด,ความเชื่่อ, และเสียสละเพื่อสังคม โดยเฉพาะระบบการศึกษาต้องมีการปฏิวัติการเรียนรู้ครั้งใหญ่ และการเปลี่ยนแปลงตัวผู้บริหารการศึกษาโดยใช้ระบบคุณธรรมมาใช้อย่างเต็มที่โดยให้มีการดำรงตำแหน่งในวาระไม่เกิน 3-4 ปีเพียงวาระเดียว
7. ลดปัญหายาเสพติดทั่วประเทศ โดยโครงการคืนคนดีสู่สังคม จัดตั้งหมู่บ้านปลอดยาเสพติดทั่วไทย ช่วยกันสอดส่องบุคคลที่ค้ายาเสพติด และสร้างงานให้ผู้หลงผิดกับตัวเป็นคนดีมีงานทำ
ง. ทางด้านวัฒนธรรม
1. ส่งเสริมความเชื่่อ,ค่านิยม,พฤติกรรมในระบอบประชาธิปไตย เปลี่ยนจากวัฒนธรรมการเมืองแบบเฉื่อยชาหรือไพร่ฟ้าให้เป็นวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม
2. ร่วมกันขจัดความเห็นที่แตกต่างโดยการสัมมนาบุคคลที่มีความเห็นแตกต่างให้มาประชุมระดมความคิดกัน ในลักษณะที่มุ่งดีต่อกัน เปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตร เปลี่ยนความคิดเชิงลบมาเป็นบวก
3. ส่งเสริมให้มีความเชื่อที่ยึดถือความจริง ไม่เชื่อไสยศาสตร์, ผีสางนางไม้, ซึ่งทำให้ประชาชนไม่มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์
4. ส่งเสริมและรักษาจารีตประเพณีที่ดีงามของคนไทย โดยรื้อฟื้นประเพณีเก่าที่ดีงาม เช่นประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว, ประเพณีไทยในด้านการแต่งกายให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
5. สร้างความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง และสามารถหลอมรวมกันได้ โดยส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มผู้ที่มีความแตกต่างกัน เพื่อลดช่องว่างแบบพวกใครพวกมัน แต่จะกลายเป็นพวกเดียวกัน
สรุป สิ่งสำคัญคือรัฐบาลเป็นหลักชัย ที่เริ่มจากความร่วมมือ และเป็นทีมงานที่เข้มแข็ง และเป็นทีมที่มีผลงานเป็นเลิศ โดยสรรหาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่ง และมีสมรรถนะเหมาะสมกับงานในหน้าที่นั้น ๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น