ประชาธิปไตยอัจฉริยะ (9)

    8. ประชาธิปไตยในหมู่ข้าราชการพลเรือน,ทหาร,ตำรวจ ซึ่งสำหรับประเทศไทยในปัจจุบันมีผู้วิเคราะห์กลายเป็นพรรคการเมืองที่ไม่ได้จดทะเบียน และมีการใช้อำนาจแบบอมาตยาธิปไตย (bureaucratic polity) ซึ่งในจำนวนข้าราชการ,ทหาร และตำรวจก็มีข้าราชการจำนวนมากที่รักประชาธิปไตยถึงแม้ฝ่ายข้าราชการกลับเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม และไม่เท่าทันต่อกระแสโลกในยุคโลกาภิวัฒน์เพราะระบบราชการเคยชินกับการทำงานประจำ  แต่ข้าราชการมีน้อยคนที่จะเดินทางไปดูงานต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประชาฺธิปไตยที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่การดูงานมักเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหรืองานในกระทรวง,ทบวง,กรม นั้น  ความเคยชินในการรับคำสั่งจากผู้ใหญ่ในทางราชการ หรือระเบียบแบบแผนทางราชการมีความเป็นระบบการทำงานแบบขุนนางแบบยุคก่อนซึ่งยังมีการเปลี่ยนแปลงกันน้อยมาก  ทำให้ข้าราชการจำนวนมากยังติดระบบการทำงานแบบเก่าแก่และไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง  ในยุครัฐบาลทักษิณมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบซีอีโอ ซึ่งต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้ตัวแบบตลาด (market model)ที่เรียกว่า "entrepreneur government" เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีความสามารถเป็นพ่อค้า หรือสามารถทำเศรษฐกิจแต่ละจังหวัดให้เจริญขึ้น และสนับสนุนการกระจายรายได้ให้กับประชาชนเพื่อยกระดับคนจนให้มีฐานะเศรษฐกิจดีขึ้น  แต่เมื่อมีการเชิญปรมาจารย์จากต่างประเทศเช่น ไมเคิล พอร์ตเตอร์ และทอม ปีเตอร์ เป็นกูรูอันดับ 1 และอันดับ 3 ของโลกมาอบรมให้ความรู้กับผู้ว่าซีอีโอ การณ์ปรากฎว่าผู้ว่าราชการจังหวัดยังเคยชินกับระบบเก่า ๆ แบบขุนนางราชการไม่สามารถตอบสนองในการรับความรู้ที่เป็นประโยชน์ และสังเกตว่าผู้ว่าราชการจังหวัดที่เข้าอบรมมีการหลับไหล, และไม่ค่อยกระตือรือร้นในการรับฟังความรู้วิชาการ ซึ่งธรรมดาผู้ว่าราชการจังหวัดเคยชินกับการทำงานที่รับคำสั่งจากส่วนกลาง ตัดสินใจเองก็ไ่ม่กล้าเพราะเกรงว่าจะผิดพลาด ดังนั้นการทำงานของผู้ว่าราชการจึงไม่นิยมความเสี่ยง แต่เน้นความมั่นคงในตำแหน่งมากกว่า  จึงก่อให้เกิดแรงต่อต้านนโยบายของรัฐในยุคนั้น  เพราะหากผู้ว่าราชการไม่มีผลงานก็จะถูกปรับเปลี่ยน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นของรัฐบาลอาจเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป และข้าราชการส่วนใหญ่ยังตามไม่ทันจึงเกิดกระแสการต่อต้านมากขึ้นเพราะไม่เคยชินกับแนวคิดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น  แต่สิ่งที่รัฐบาลทำก็มีความคาดหวังให้ข้าราชการทำประโยชน์หรือรับใช้บริการให้ประชาชนดีขึ้น    ส่วนข้าราชการทหารที่มีจิตใจแบบประชาธิปไตยนั้นค่อนข้างมีน้อย และไม่ลึกซึ้งกับการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะวิถีชีิวิตของทหารคุ้นเคยอยู่ภายในกรมกอง และไม่เคยได้ใช้ชีวิตแบบประชาชนทั่วไป การดำเนินกิจกรรมจึงมักเกี่ยวข้องกับคำสั่ง ต้องอยู่ในระเบียบวินัย ทำให้ไม่ค่อยได้รับรู้โลกความเป็นจริง และวิถีชีวิตของประชาชนโดยทั่วไป แต่ในปัจจุบันมีกลุ่มทหารจำนวนมากพอสมควรที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของบ้านเมือง และต้องการประชาธิปไตยเหมือนกับประชาชนโดยทั่วไป  แต่บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากระบบราชการกลับมักเป็นผู้ที่ไม่นิยมระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย  ซึ่งสังเกตได้ว่านายทหารที่มีตำแหน่งมัักไม่ให้ความสำคัญกับอำนาจของประชาชน หรือการมีสิทธิเสรีภาพของประชาชน  การที่ทหารมีชีวิตไม่ผูกติดกับประชาชนหรือความเดือดร้อนของประชาชนทำให้จิตสำนึกในการรับใช้บ้านเมืองแบบนายทหารอาชีพมีน้อยลง และมักมีการวิ่งเต้นเส้นสายตำแหน่งกันมาก ทำให้นายทหารที่เป็นคนรับใช้ประชาชนตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงมีน้อย มีแต่เพียงระดับรอง ๆ ลงมา และผู้มีจิตใจแบบประชาธิปไตยก็ไม่สามารถแสดงออกอย่างเต็มที่  แต่มีลักษณะอึดอัดใจและคับข้องใจกับทหารที่ไม่รักประชาธิปไตย   แต่ปัจจุบันทหารได้ตื่นตัวกันมาก และยอมรับว่าการรัฐประหารไม่ได้ช่วยให้บ้านเมืองดีขึ้น กลับทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเลวร้ายลง และเืมื่อใดก็ตามที่มีการรัฐประหารจะสังเกตุว่าประเทศก็มักจะถอยลงเกือบทุกครั้ง เพราะทหารไม่ถนัดกับงานของบ้านเมือง และเมื่อมามีตำแหน่งทางการเมืองก็มักกำหนดงบประมาณทางด้านความมั่นคงของสูง ทำให้เงินที่จะพัฒนาชาติบ้านเมืองเืพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประชาชนเพื่อการกินดีอยู่ดีเสียหายไป ทั้ง ๆ ที่ฝ่ายทหารคิดว่าพยายามทำอย่างดีแล้ว แต่ไม่สามารถทำได้สำเร็จ จนบ้านเมืองมีความขัดแย้งมากขึ้น ดังนั้นทหารจึงควรยอมรับบทบาทของตนเองว่างานบ้านเมืองเป็นของประชาชน แต่ควรทำหน้าที่เป็นรั้วของชาติจะดีกว่า และสิ่งสำคัญในอัจฉริยะประชาธิปไตยของนายทหาร คือต้องส่งนายทหารไปดูงานการเมืองแบบประชาธิปไตย, และการกำหนดบทบาทนายทหารที่พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตยและประชาชน จึงจะเป็นนายทหารที่มีเกียรติยศ และเป็นที่วางใจของประชาชนทั้งประเทศ  โดยที่นายทหารต้องระวังไม่เป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมือง หรือพรรคการเมือง แม้แต่ผู้มีอำนาจที่อยู่เหนือกว่าก็ต้องนำมาตัดสินวิเคราะห์เพื่อรักษาประชาธิปไตยให้เจริญก้าวหน้ากว่าประเทศอื่น  ดังที่นายทหารระดับนายพลของประเทศอินโดนีเซียได้ประกาศก้องว่าเขาจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดของประเทศโดยไม่คอรัปชั่น และเขาก็ทำหน้าที่ได้ดี จนเป็นที่ยอมรับของประชาชน    ส่วนข้าราชการตำรวจหรือทหารเรือกลับเป็นข้าราชการที่มีความเข้าใจประชาชนมากที่สุด และมีชีวิตที่มีเวลาอยู่กับพื้นที่ของประชาชนจึงเข้าใจปัญหาของประชาชน โดยเฉพาะอาชีพตำรวจอยู่กับพื้นที่ใกล้ชิดประชาชนทุกวัน จึงทำให้ลึกซึ้งกับวิถีชีวิตของประชาชนว่าอะไรดีอะไรเหมาะสมถูกต้อง  ทำให้ตำรวจกลายเป็นข้าราชการที่รักประชาธิปไตยมากพอ ๆ กับทหารเรือ  ซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศไทยควรส่งเสริมข้าราชการให้มีจิตสำนึกจิตวิญญานประชาธิปไตยโดยไม่ใช่มุ่งแต่การแสวงหาอำนาจนอกระบบ,นอกกติกา จนบ้านเมืองทุกวันนี้มีวิกฤติอยู่ทกวันนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ