การปฏิรูปการศึกษาเพื่อประชาธิปไตย
การปฏิรูปการศึกษาของมหาวิทยาลัยไทยสำหรับประเทศไทยนั้นแทบจะต้องรื้อปรับระบบอย่างขนานใหญ่มิใช่การรื้อเฉพาะทางกายภาพ หรือเพียงแตะในเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนนั้น เป็นเพราะโครงสร้างระบบการศึกษาของไทยยังไม่ทันสมัย เหมือนบ้านเก่าที่เตรียมซ่อมแซม และควรรื้อใหม่แล้ว และไม่สามารถจะแข่งขันกับนานาชาติได้ มหาวิทยาลัยคือกระจกสะท้อนความเจริญของประเทศ และสะท้อนความจริงของประเทศ เป็นแหล่งของปัญญาชนที่ชี้นำสังคมให้ก้าวรุดไปข้างหน้า เป็นแหล่งแห่งมันสมองที่ช่วยให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า ทำให้บุคลากรที่ศึกษาเล่าเรียนจบไปแล้วเป็นบุคลากรที่ประโยชน์ให้กับประเทศชาติประชาชน เพราะงบประมาณทั้งหลายนั้นเป็นของประชาชนที่ได้จัดสรรให้โอกาสแก่ผู้เรียน ให้เงินเดือนและสถานภาพแก่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในทุกระดับชั้น ให้ความเป็นเกียรติยศ,ตำแหน่งเงินตรา, และความมั่นคงแก่ผู้ปฏิบัิติงาน แต่สิ่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยไม่ควรลืมว่าการได้รับเกียรติยศ,เงินตรา และผลประโยชน์ที่ประชาชนมอบให้นั้น เราได้ตอบแทนประชาชนคุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนไปหรือไม่ แต่สิ่งที่สำคัญทำให้มหาวิทยาลัยก้าวไกลนั่นก็คือ การศึกษาต้องทำให้เกิดบรรยากาศเสรีภาพทางวิชาการ, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น,เสรีภาพในการแสดงศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานโดยไม่มีการกดทับศักยภาพของอาจารย์ และนักศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่ทำงานในทุกตำแหน่ง แต่โลกแห่งประชาธิปไตยที่มหาวิทยาลัยควรสร้างสรรค์นั้นกลับถูกม่านหมอกบดบังเสรีภาพที่แท้จริงของมนุษย์ ซึ่งในยุคนี้เราจะเห็นว่าบทบาทมหาวิทยาลัยที่เชื่อมโยงสู่การแก้ปัญหาสังคมมีค่อนข้างน้อย ระบบการศึกษาไม่ได้สัมพันธ์กับปัญหาสังคมที่เป็นอยู่ เสมือนว่ามหาวิทยาลัยเกิดขึ้นมาลอย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องอิงกับมวลประชาชนที่มีความต้องการให้สังคมเป็นอย่างที่ต้องการให้เป็น และการศึกษาถูกกำหนดตามความต้องการของผู้บริหารมหาวิทยาลัย แต่มิใช่เกิดจากการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของปัญญาชน อาจารย์ส่วนใหญ่ต่างทำหน้าที่กันไปเช่นสอนหนังสือ, เขียนผลงานวิชาการ, การฝึกอบรมตามสถานที่ต่าง ๆ และรวมถึงการรับงานจากภายนอกเพื่อแสวงหารายได้มากกว่าจะมองปัญหาสังคมอย่างแท้จริง จะมีเพียงบางอาจารย์ที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลที่ออกมาสำรวจปัญหาของประเทศเกี่ยวกับสิ่งที่ประชาชนต้องการ ปัญญาชนหลายคนยังปฏิบัิติงานที่อยู่ในห้องแอร์ แต่ไม่เคยออกมาสำรวจความจริงของโลก ก็เป็นแต่เพียงมีความรู้ทางทฤษฎีและวิชาการเท่านั้นหรือกลายเป็นลัทธิคาบคัมภีร์ ซึ่งอยู่ในโลกอุดมคติ หรือโลกที่ไม่เป็นจริงเป็นส่วนใหญ่ ระบบการศึกษามีการครอบงำให้คนคิดตาม ๆ กัน โดยเฉพาะอาจารย์รุ่นใหม่ ๆ มีการถ่ายทอดระบบอำนาจนิยม (authoritarinism) เพื่อให้ยอมรับระบบโดยไม่มีการวิพากย์เชิงสร้างสรรค์ หากมีบุคคลใดที่วิพากย์ก็จะถูกมองว่าเป็นคนแปลกประหลาด เพราะบรรยากาศสังคมมหาวิทยาลัย และวัฒนธรรมองค์การไม่ได้เอื้อต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย ระบบการบริหารมหาวิทยาลัยจึงกลายเป็นความคิดที่อยู่แต่ในกล่อง (think in the box) ไม่สามารถคิดออกนอกกรอบ หรือนอกกล่องได้ ความคิดของนักศึกษาจึงเป็นการใส่วิชาการเข้าสมอง หรือไม่ส่งเสริมการคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ค้นคว้าแสดงความสามารถที่มีอยู่ในตัวเองให้มากที่สุดได้ ด้วยพันธนาการของระบบการศึกษาซึ่งเกิดจากระบบมหาวิทยาลัยเน้นโครงสร้างการบริหารที่เก่าจนไม่ทันโลก และอาจารย์และบุคลากรที่อยู่ในระบบมีความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจ เพราะการคิดสร้างสรรค์นั้นมหาวิทยาลัยควรมีงบประมาณสนับสนุน แต่การสนับสนุนกลับเป็นความคิดของผู้บริหารเอง ทำให้บุคลากรต้องทำงานตามคำสั่ง, ตามสายการบังคับบัญชา และการทำงานเน้นการควบคุมและบังคับบัญชา (control and command oriented) ทำให้งานการบริหารบุคคลจึงเป็นระบบที่เก่าแก่ สิ่งนี้สะท้อนว่ามหาวิทยาลัยยังไม่ได้มีการพัฒนาการบริหารอย่างแท้จริง คงไว้ซึ่งรูปแบบเก่า ๆ และเน้นการไต่เต้าส่วนบุคคลและบางครั้งถึงการเลือกปฏิบัติในการให้คุณให้โทษเฉพาะบุคคล มากกว่าจะใช้ความรู้ดูความจริงของสังคม และเข้าไปมีบทบาทในการสะท้อนภาพ ทำให้สังคมการศึกษาจึงขาดประชาธิปไตย,มีการล้างสมองตั้งแต่นักศึกษาเข้าใหม่ในลักษณะการรับน้อง, หรือรับน้องไม่รุนแรง อะไรก็แล้วแต่ ล้วนเป็นวิธีการทำให้คนเราติดอยู่กับระบบอาวุโส, ระบบอำนาจนิยม, ระบบพวกพ้องนิยม (favoritism) ทำให้สังคมมหาวิทยาลัยกลายเป็นแหล่งระบบอุปถัมภ์ขนาดใหญ่ และไม่ค่อยชอบระบบคุณธรรม (Merit system) มาตรแม้นจะมึความคิดใด ๆ เข้ามาในระบบของมหาวิทยาลัยก็ตาม ระบบมหาวิทยาลัยก็จะกลืนความคิดใหม่เข้ามา แต่อัตลักษณ์และพฤติกรรมยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้มีสาเหตุจากสภาพบรรยากาศที่ไม่เอื้อ รวมทั้งปัจจัยภายนอกรั้วสังคมมหาวิทยาลัยก็มีลักษณะดังกล่าว ระบบการศึกษาจึงทำให้คนเราเห็นแก่ตัว, มุ่งแข่งขัน และเน้นวัตถุนิยมมากกว่าจะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และนำความรู้ไปช่วยชาติบ้านเมือง และประชาชนที่ด้อยโอกาสกว่า บุคคลเหล่านี้ในสังคมเป็นบุคคลที่น่าเห็นใจเพราะขาดโอกาส ปัญญาชนส่วนมากเมื่อกลายเป็นผู้มีฐานะดีก็มักจะลืมบ้านถิ่นเมืองเกิด หรือไม่สนใจในการออกมาช่วยเหลือคนในสังคม แต่อาจไปช่วยสังคมที่ให้ประโยชน์มากกว่า จากแนวคิดของศาสตราจารย์โรแนลด์ ไมคานของประเทศอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า "..หากพวกเราต้องการระบบสังคมที่แตกต่างกันออกไปมีสิ่งหนึ่งได้แก่อิสรภาพ, และพวกเราจะต้องปลดปล่อยให้คนหนุ่มสาวให้มีอิสรภาพตั้งแต่เขาเกิดมาในโลกนี้" เขายังเน้นความจริงจากคำที่ว่า "การศึกษา"เป็นสัญญาบ่งบอกถึง "การทำให้เป็นเงื่อนไข,ความเชื่อ ที่จะปฏิบัติและทำตามในวิถีทางที่กำหนด" เขาเสนอแนะว่าการเรียนรู้เป็นกิจกรรมของความแตกต่างอย่างอย่างเด่นชัด สำหรับชาร์ล เฮยส์ผู้อุทิศตนที่นิยมในความเสียสละเสนอแนะว่าการศึกษาคือสิ่งหลายอย่างที่มอบให้กับผู้เรียน, ในขณะที่การเรียนคือหลายสิ่งที่ผู้เรียนได้รับ และอีวาน อีลิชในข้อเขียน "สังคมที่ลดระดับความเป็นโรงเรียน" (Deschooling Society) ได้ชี้ถึงความแตกต่างและสรุปว่าสังคมไม่สามารถปรับปรุงตราบเท่าที่นักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาถูกล้างสมอง (Brainwashed) ให้คงไว้ในสภาพเดิม (Status quo) เปาโล แฟร์ ที่เขียนเรื่อง "การศึกษาสำหรับผู้ถูกกดขึ่ให้ทัศนะว่าควรยุติระบบการศึกษาแบบเก่าแก่ และปรับปรุงให้มีจิตใจเปิดกว้าง และ่จอห์น โฮลต์ภายหลังจากชีวิตในการพยายามทำให้โรงเรียนพัฒนาขึ้น เขาตระหนักว่าการศึกษาเดินไปสู่เส้นทางที่ผิด และเสนอแนะว่าพวกเรา "จงสอนตัวพวกเราเอง" และมานิชส์ เจนของอินเดียส่งเสริมให้ไม่ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่ครอบงำจากการล้างสมองของโรงเรียน และให้เีรียนรู้แบบคิดเชิงวิพากย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาโดยตระหนักว่าการศึกษาทุกวันนี้ไม่เหมาะสมกับความต้องการยุคปัจจุบันนี้ แต่มีเพียงบางส่วนที่ก้าวข้ามจากระบบโรงเรียนเปรียบเสมือนย่ำอยู่กับที่ (fix the schools) ประเด็นปัญหาที่นำมาคิดในทุกวันนี้คือการคิดออกจากกล่อง (think out of the box) และมุ่งเข้าสู่รากฐานของเหตุผลที่ว่าเราเรียนไปทำไม?, เราจะเรียนอย่างไร? เมื่อไรเราจะเีรียน และสิ่งที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องอันดับต่อมาก็คืออะไรที่พวกเราควรเรียน เราจำเป็นต้องคิดในแง่ของการเรียนรู้ ไม่ใช่การศึกษา จากเหตุผลดังกล่าวนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่าสิ่งที่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุก ๆ คนและทุก ๆ องค์การควรจะทำคือ "บุคคลทุกคนมีอิสรภาพ, มีสิทธิในทรัพยากร และมีโอกาสในการเรียนรุ้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ เมื่อพวกเขาต้องการและรวมถึงวิธีการที่ต้องการด้วย" จากความสำคัญในความต้องการปรับเปลี่ยนอย่างรุนแรงไม่เพียงแต่พวกเราเรียนรู้เท่านั้น แต่วิธีทีพวกเราดำรงชีวิต และวิธีที่เราจะปกครองดูแลกันอย่างไร ซึ่งเค้าโครงเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และความรับผิดชอบ ไม่ใช่เพียงแต่ให้สิทธิและความรับผิดชอบต่อรัฐบาล,ต่อครอบครัว, ต่อพิธีกรรมทางศาสนา หรือความมีตัวตนในสังคม ห้องสมุด,พิพิธภัณฑ์,สวนสาธารณะ,ศูนยสุขภาพ,ไร่นา,โรงงาน,วัดหรือโบสถ์, หอประชุม,สภานิติบัญญัติ และองค์การภาคธุรกิจ และองค์กรภาคพลเมืองจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการตอบสนองโอกาสในการเรียนรู้เพื่อความเป็นพลเมือง (เปลี่ยนไพร่เป็นพลเมือง) สิ่งนี้เป็นการเปิดเผยของความมีอิสรภาพส่วนบุคคล ไม่ตกเป็นเครื่องพันธนาการ ทุกคนจึงมีอิสระในการเรียนรู้ และเรียนรู้ในอิสรภาพในการได้ความเสรี การปรับเปลี่ยนสถาบันฝึกอบรมครูไปสู่ศูนย์เรียนรู้อันเป็นเจตน์จำนงของผู้เรียนรู้ ส่งเสริมโลกของนักคิดเชิงวิพากย์อย่างสร้างสรรค์ เป็นการปรับเปลี่ยนครูและพ่อแม่เป็นที่ปรึกษาที่คุ้นเคยกับเจตจำนงของผู้เรียน ส่งเสริมนักคิดเชิงการวิพากย์ที่ดีที่สุดที่สามารถให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโลก เป็นการถ่ายโยงเงินที่เสียไปในคุกเหมือนโรงเรียน, จ่ายภาษีเพื่อทำลายกำแพงองค์การในการให้โอกาสการเรียนรู้ที่ได้รับการเลือกสรรโดยผู้เรียน โดยยกเลิกระบบควบคุมตามสายการบังคับของแต่ละบุคคล,ครอบครัว,ชุมชน,สังคม และโลกที่เน้นความเป็นมนุษย์มากขึ้น แทนการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว, การแข่งขัน และวัตถุนิยมด้วยการเรียนรู้อย่างยาวนานในฐานะที่เป็นจุดประสงค์ของชีวิต
สรุป ระบบการศึกษาที่ดีคือการปลดโซ่ตรวนแห่งการไร้เสรีภาพ,อิสระภาพทางความคิด และปัญญา ทั้งในแง่หลักสูตร,โครงสร้างวิชา,การจัดการมหาวิทยาลัย ฯลฯ ซึ่งหมายถึงไม่ครอบงำความคิด และคิดนอกกรอบ โดยให้ประชาธิปไตยแก่มหาวิทยาลัยเพื่อก้าวสู่สังคมโลกาภิวัฒน์ มิใช่กะลาภิวัฒน์อย่างที่เป็นอยู่
สรุป ระบบการศึกษาที่ดีคือการปลดโซ่ตรวนแห่งการไร้เสรีภาพ,อิสระภาพทางความคิด และปัญญา ทั้งในแง่หลักสูตร,โครงสร้างวิชา,การจัดการมหาวิทยาลัย ฯลฯ ซึ่งหมายถึงไม่ครอบงำความคิด และคิดนอกกรอบ โดยให้ประชาธิปไตยแก่มหาวิทยาลัยเพื่อก้าวสู่สังคมโลกาภิวัฒน์ มิใช่กะลาภิวัฒน์อย่างที่เป็นอยู่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น