การคิดเชิงวิพากย์ (critical thinking) และความคิดเชิงสังเคราะห์ (synthesizing thinking)ต่างกันอย่างไร?

การคิดเชิงวิพากย์เป็นความคิดที่ต้องทำลายกำแพงหลายอย่าง เช่นลักษณะนิสัยการคิดของคนเราโดยปกติไม่ค่อยจะมีการวิพากย์สิ่งใด หากสิ่งนั้นไม่ขัดแย้งกับความเคยชินหรือความต้องการทางกายภาพและจิตใจของเรา คนส่วนใหญ่จึงมีการดำเนินชีวิตไปวันหนึ่ง ๆโดยไม่วิพากย์สิ่งใด ทำให้ขาดทักษะการวิพากย์ทำให้การวิพากย์มีประเด็นที่ไม่เหมาะสม, ไม่ตรงประเด็นหรือสะเปะสะปะ,ไม่มีเหตุผลหรืออาจวิพากย์ในลักษณะต้องการเป็นฝ่ายชนะ ในการพัฒนานิสัยการวิพากย์ต้องถามตนเองว่าเหตุใดเราจึงคิดอย่างนั้น, สิ่งที่เราคิดทำได้จริงหรือไม่,สิ่งที่เราคิดดีที่สุดหรือยัง ยังคิดได้ดีกว่านี้หรือไม่ ประการที่สองนักคิดเชิงวิพากย์ต้องเปิดใจกว้าง เผื่อใจว่าสิ่งที่ตนอาจคิดไม่ถูกต้อง,ไม่สมเหตุสมผล,ต้องรับฟังความจริงให้ครบทุกด้าน และกล้าเปลี่ยนความคิด  ประการที่สาม จะต้องเป็นคนรอบคอบ,ไม่ด่วนสรุป,คนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ตนแสดงทัศนะ แต่มักเชื่อตามคำบอกเล่าของสื่อ การตีความจากผู้อื่น หรือเิกิดอคติ ดังนั้นเราต้องฉลาดที่จะชะลอการตัดสินใจ โดยคิดรอบคอบ, คิดหลายแง่มุมและจึงตัดสินใจแสดงทัศนะ  ประการที่สี่ต้องมีจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวง่าย ต้องแสวงหาความรู้เพื่อตอบข้อสงสัย, ชอบค้นคว้า หาความรู้อยู่เสมอช่างสังเกต มีข้อสงสัยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอ ไม่เชื่อหรือคล้อยตามในสิ่งที่เกิดขึ้นง่าย ๆ เป็นนักตั้งคำถามที่ดีเพื่อนำไปสู่การค้นหาคำตอบในข้อสัย  ประการที่ห้าอย่าคิดว่า "ฉันคิดดีกว่า ถูกกว่า", อย่าเลือกรับข้อมูลเฉพาะที่สนใจ,อย่าลำเอียง, อย่าแกล้งรู้,อย่ามีอคติต่อการเปลี่ยนแปลง,และระวังการคิดแบบสองขั้วตรงข้าม
การคิดเชิงสังเคราะห์ เป็นกระบวนการคิดเรียบเรียบและจัดรวมเนื้อหาจากการวิเคราะห์ และการใช้เหตุผลเป็นหลักการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เป็นความคิดในการผสมผสานรวมรวมส่วนย่อยๆ หรือส่วนใหญ่ ๆเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให็เป็นเรื่องราวอันเดียวกัน  การคิดเชิงสังเคราะห์มี 3 ประเภทได้แก่การสังเคราะห์ข้อความเช่นการพูด หรือการเขียน การฝึกฝนในการสื่อการคิด สังเคราะห์แผนงาน ออกแบบให้สอดคล้องกับข้อมูลและจุดมุ่งหมายที่วางไว้  บุคคลที่ฝึกฝนทักษะการคิดเชิงสังเคราะห์จะมีความสามารถในการใช้สมองสร้างสิ่งแปลกใหม่โดยต่อยอดจากความรู้หรือข้อมูลเด็มของตนเอง
           ดังนั้นโดยสรุปการคิดเชิงวิพากย์เน้นการคิดเชิงวิจารณ์เพื่อกลั่นกรองความคิดนั้นถูกต้องหรือไม่ ในขณะที่การคิดเชิงสังเคราะห์เป็นการรวบรวมองค์ประกอบ และพัฒนาต่อยอดจากเดิม หรือการเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไป หรือการเติมเต็มความคิดให้สมบูรณ์มากขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ