สังคมไทยควรเปิดกว้างในการใช้ความคิดสร้างสรรค์

      การที่บุคคลในสังคมไม่คุ้นเคยกับการรับฟังความคิดเห็น  เพราะมีวัฒนธรรมเกรงใจและเกรงกลัวผู้มีอำนาจก็จะทำให้บุคคลไม่กล้าแสดงความคิดเห็น  ซึ่งจะสังเกตได้จากในการประชุมต่าง ๆ จะพบว่าผู้เข้าร่วมประชุมไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเป็นส่วนใหญ่   อาจเป็นเพราะว่าบรรยากาศการทำงานในบ้านเราไม่เอื้อต่อการแสดงความคิดเำห็น  เพราะผู้บริหารอาจไม่อดทนในการรับฟังความเห้นที่แตกต่าง หรือคุ้นเคยกับวํฒนธรรมการทำงานที่เป็นไปเช่นนี้ และการที่มีค่านิยมให้คนทำตามคำสั่ง, ความนิยมให้คนใช้ค่านิยมที่ว่า "เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด" หรือหลักที่ว่า "เป็นผู้น้อยคอยก้มประณมกร เมื่อเติบใหญ่จะได้ดี" ซึ่งหากเรายังติดค่านิยมเก่า ๆในอดีตแล้วบรรยากาศที่เอื้อต่อการแสดงความเห็นไม่มี  และจะสะท้อนให้เห็นในการทำงานเป็นกลุ่ม (group work) มากกว่าการทำงานเป็นทีม กลายเป็นการทำงานแบบเออออห่อหมก (groupthink) ทำให้ผู้ตามต้องคอยระแวดระวังในการพูดมากเกินไปจนไม่กล้าพูด ถือหลักว่า"พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" ทำให้ผู้ตามมีพฤติกรรมไม่กล้าแสดงความเห็น ถือหลักว่าปลอดภัยไว้ก่อน หรือถือหลักว่าโง่ไม่เป็นเป็นใหญ่ยาก ดังนั้นเมื่อผู้นำมาเจอสถานการณ์ความคิดต่อต้าน หรือแตกต่างก็จะรู้สึกไม่คุ้นเคย และมองว่าคนต่อต้านเป็นศัตรู ทั้ง ๆ ที่บางครั้งความคิดของผู้ต่อต้านบางครั้งเป็นทรัพย์สินเสียด้วยซ้ำ และคอยชี้ขุมทรัพย์ให้กับผู้นำซึ่งเป็นประโยชน์ หากเราคิดบวกก็จะไม่ไปโกรธคนคิดแตกต่าง เพราะเราอาจจะถูกกับดักความคิดเออออไม่ขอโต้แย้งเพื่อเอาตัวรอดของผู้ตาม ซึ่งผู้นำที่คิดบวกกลับชอบพอบุคคลที่นำขุมมาทรัพย์มาให้เราเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้ควรนำเอาวิธีการทำงานเป็นทีมจริง ๆ มาใช้โดยขจัดบรรยากาศความคิดแบบเก่า ๆ และลดความหวาดกลัวต่อผู้แสดงความคิดเห็น จนทำให้เราคุ้นเคยกับทัศนะที่แตกต่าง และมีขันติต่อความคิดที่ไม่เหมือนกันกับเรา ซึ่งผู้นำต้องฝึกฝนวิชานี้ถือว่าเป็นหลักสูตรอย่างหนึ่งทีเดียว และเมื่อมาพิจารณาการทำงานที่ถือว่าเป็นทีม  ถือหลักว่าต้องมีศรัทธาเป้าหมายอันเดียวกัน, ต้องถือความเห็นแตกต่างเป็นการมองคนละด้าน, ถือความถูกต้องแต่ไม่จำเป็นต้องถูกใจ, เมื่อเกิดความผิดพลาดรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกันและไม่ถือโทษโกรธเคืองกัน   สิ่งที่เป็นผู้นำในสถานการณ์ที่บ้านเมืองมีความแตกต่างทางความคิดนั้น   ผู้นำควรรับฟังทุกฝ่าย และระวังผู้ตามที่คอยแต่ฟังโดยไม่วิพากย์วิจารณ์ หรือไม่เสนอทัศนะความเห็นที่เป็นประโยชน์  ก็จะมีโอกาสตัดสินใจโดยตัวผู้นำเพียงคนเดียวก็ยิ่งเป็นเรื่องน่าอันตราย   ดังนั้นผู้นำควรแสวงหาบุคคลที่แตกต่างหลายฝักหลายฝ่ายที่ไม่จำเป็นต้องมีบุคลิกเหมือนกับเรา ก็จะทำให้เราคุ้นเคยกับความแตกต่างหลากหลาย ทำให้ไม่เกิดอคติในการแบ่งพวกแบ่งฝ่าย เพราะเราคนไทยเหมือนกันควรถกปัญหาให้แตก และมีลงลึกอย่าเพิ่งปฏิเสธความคิดผู้อื่น หรือสร้างกำแพงป้องกันความคิดผู้อื่นไม่ให้เรารับฟังก็จะทำให้เราไม่ไ้ด้ข้อมูลดี ๆ ไปวินิจฉัยตัดสินใจได้ดี     ในประเทศที่เจริญแล้วเขาจะนิยมรับฟังและทำงานเป็นทีม ซึ่งในประเทศอเมริกาก็มีปัญหาเรื่องผิว, เพศ ที่ไม่ให้ความเท่าเทียมกัน แต่เขาได้แก้ปัญหาในการรับฟัง และคิดเชิงวิเคราะห์โดยปราศจากอคติหรือลำเอียงตามความเห็นของตน ก็จะทำให้การบริหารการปกครองมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพในการตัดสินใจมากขึ้น หากเราเป็นผู้นำที่ไม่ดีแล้วไซร้ก็จะกลายเป็นสภาวะที่ขาดความเป็นผู้นำนั่นเอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

แนวคิดปรัชญาของรุสโซ่ : เจตน์จำนงทั่วไปและสังคมที่มีการจัดระเบียบที่ดี