การบริหารกลยุทธ์ด้วยความจริงใจของผู้นำ สำคัญกว่าการใช้กลยุทธ์ที่ใช้เล่ห์เหลี่ยม

ปัจจุบันการบริหารเชิงกลยุทธ์ (strategic management) นำมาใช้โดยทั่วไปในองค์การ ภายใต้สถานการณ์ขององค์การธุรกิจจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (competitive advantage) ซึ่งได้แก่กลยุทธ์ความเป็นผู้นำต้นทุน (cost leadership strategy) และกลยุทธ์ความสร้างความแตกต่างหลากหลาย (market differentiate strategy) ซึ่งการใช้กลยุทธ์นี้เป็นเรื่องจำเป็นของภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องพัฒนาเพื่อให้สามารถแข่งขันบนเวทีโลกได้ แต่การบริหารเชิงกลยุทธ์ในภาครัฐมีการใช้กลยุทธ์กันน้อยกว่าภาคเอกชน เพราะว่าภาครัฐเป็นภาคสาธารณะที่ไม่เน้นกำไร แต่เน้นการบริการสังคม, การบริการที่รวดเร็ว, การสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชน, และรวมถึงความจริงใจของผู้บริหารหรือผุ้นำที่มีต่อประชาชนในทุกระดับชั้นให้เป็นที่พึงพอใจ  ดังนั้นข้าราชการภาครัฐควรวางตนเป็นกลาง และไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองให้กับนักการเมือง หรืออำนาจพิเศษต่าง ๆ เพราะในการปกครองแบบประชาธิปไตยการมุ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการตอบสนองความต้องการคนบางกลุ่ม, บางคนเท่านั้น  หรือการแอบอิงผลประโยชน์อยู่เบื้องหลัง หรือการใช้องค์การด้านมืดทำให้การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นไปในลักษณะใ้ช้เล่ห์เหลี่ยมในลักษณะที่ไม่ดีโดยจงใจช่วยเหลือ หรือเข้าข้างซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม และเมื่อคนรู้ความจริงก็จะเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม   โดยสรุปผู้บริหารไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชนควรบริหารกลยุทธ์ที่ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมในการผลิตหรือบริการต่อสังคมโดยแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนเหนือผลประโยชน์ส่วนรวม  การมีคอรัปชั่นมากในสังคมไทยก็แสดงให้เห็นว่ามีการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมให้เกิดการโกงกิน หรือการกินใต้โต๊ะ หรือค่าน้ำร้อนน้ำชาก็จะเป็นการบริหารที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใส แต่เป็นการจัดภาพว่าดูสวยงาม แต่เมื่อรื้อพรมแ้ล้วปรากฎว่ามีความสกปรกที่ฉาบหน้าแลดูสวยงาม  เหมือนการเล่นพระเครื่องหากคนที่เล่นมีคุณธรรมก็จะเล่นพระเครื่องที่เป็นพระแท้แยกออกจากพระเก๊   สมาคมเล่นพระเครื่องก็ควรจัดหาบุคลากรที่ดี หรือมีคุณธรรมในการเป็นกรรมการตัดสินพระเครื่องที่มีมาตรฐาน  หากเกิดผิดพลาดก็ควรยอมรับ และขออภัยในความผิดพลาดซึ่งก็เป็นธรรมดาที่การทำงานอาจมีข้อผิดพลาด   และในทางการเมืองกรรมการอิสระต่าง ๆ เช่นกกต. ศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลปกครอง, สตง. ปปช. ฯลฯ ควรวางตัวเป็นกลางทางการเมือง (political neutrality) แต่ไม่องค์กรอิสระที่จะทำอะไรก็ได้ จะเลือกข้างฝ่ายใหนก็ได้ ซึ่งถ้าวางตัวผิดพลาดแล้วสังคมจะมีการมองภาพพจน์ที่ไม่ดี หรือเสียหายได้  ดังนั้นเวลาตัดสินใครทำถูกก็ว่าถูก ใครผิดก็ว่าตามผิด เหมือนกับการตัดสินพระเครื่องว่าอันนี้เป็นพระแท้ อันนั้นเป็นพระปลอม มิใ่ช่พูดแบบเลี่ยงบาลีว่าพระแท้ต้องบิณฑบาตได้ แต่การมีพระปลอมเป็นการฝึกทักษะความฉลาดของคนเล่นพระเครื่อง  แต่ในทางการเมืองเป็นการฝึกทักษะว่าใครของปลอม ใครของแท้ั ใครจริงจัง ใครหลอกลวง ใครดีแต่พูด หรือใครพูดแล้วทำได้ ใครโกหกมากกว่ากัน ใครโกงมากกว่ากัน ซึ่งประชาชนจะรู้สึกรับรู้เองเมื่อประชาชนฉลาดขึ้น  ทำให้องค์การต้องปรับปรุงประสิทธิภาพ และคุณภาพให้ดีขึ้น ซึ่งก็จะทำให้สังคมไทยก้าวหน้า ไม่ล้าหลังโดยไม่ปล่อยให้นักการเมืองเล่นการเมืองกันเอง แต่ประชาชนเ้ข้ามามีส่วนร่วมรู้เห็น เพราะถ้าประชาชนไม่สนใจ ผลประโยชน์ของชาติก็จะตกไปอยู่กับคนที่หลอกประชาชนโดยบอกว่าการเมืองเป็นเรื่องเลวร้าย, การเมืองเป็นเรื่องสกปรก ฯลฯ ทำให้คนเราไขว้เขวสับสนเพราะไม่รู้ความจริง   ดังนั้นประชาชนทุกหมู่เหล่าควรตื่นตัวทางการเมือง ไม่ควรเฉื่อยชาหรือไม่สนใจทางการเมือง เพราะถ้าประชาชนตื่นตัว อัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจจะเจริญเติบโต และผลประโยชน์ก็ตกอยู่กับประชาชน   แต่ถ้าหากผู้ปกครองหลอกลวงประชาชนและครอบงำปล่อยให้กินบ้านโกงเมือง ก็เหมือนกับปล่อยให้ปลวกกินบ้าน จนบ้านเมืองอยู่ไม่ได้ ถึงเวลานั้นก็ไม่มีบ้านอยู่ต้องเสียเงินในการซ่อมบ้านแปลงเมือง ฝนตกหรือแดดออกก็จะทำให้ไม่สามารถหาที่พึ่งพิงได้ ควรถือหลักว่าควรกำจัดปลวก เพราะปลวกกลัวความโปร่งใส หรือแสงแดด หรือถ้าเนื้อไม้ไม่แข็งแรงปลวกก็กินได้ แต่ไม้ไม่แข็งแรงเหมือนการเมืองภาคประชาชนไม่แข็งแรงปลวกก็กินได้ดี เพราะมีความชื้นทำให้ไม้อ่อนตัว และปลวกนิยมทำเป็นอุโมงค์ดินและคืบคลานเจาะใชกินเนื้อไม้ได้    โดยสรุป ถึงเวลาที่ประชาชนควรตื่นตัวทางการเมืองเพื่อตอบรับกับความอยู่รอดของคนทุกฝ่าย, ทุกระดับ และทุกคน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ