ผู้นำ,ผู้ปกครองที่เข้าไม่ถึงประชาราษฎรย่อมห่างไกลการยอมรับจากประชาชน

     การเป็นผู้นำประเทศ หากเกิดมาอยู่ในท่ามกลางฐานะดี และมีชาติตระกูล แต่หากไม่เคยสัมผัสชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศแล้ว หรือสัมผัสเพียงผิวเผินย่อมไม่ทราบความจริง หรือความทุกข์ร้อนของราษฎรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ   เมื่อเกิดมาตระกูลดีก็อยู่ในสังคมที่หรูหรา, จบสถาบันการศึกษาสูงส่ง แต่เราอาจลืมดินหรือประชาชนที่เป็นรากหญ้า  เมื่อไม่เข้าถึงจิตใจของรากหญ้าการดูถูกดูแคลนจึงตามมา   เพราะตนเองอาจได้ดีจากคนชั้นสูง และคิดว่าตนเองไม่ได้ดีจากประชาชนรากหญ้า   แต่หารู้ไม่ว่าการเป็นนักปกครองล้วนแล้วแต่เกิดจากการอุ้มชูของราษฎร  การยืนไม่ถึงพื้นที่ของประชาชน  ทำให้เราหลงลอย และลืมตัวได้โดยง่าย  ยิ่งไม่เคยมีประสบการณ์ในชีวิต หรือเคยทำความสำเร็จอะไรมาเป็นที่ประจักษ์แล้ว   ประชาชนก็จะมองว่าไม่สามารถเป็นที่พึ่งพิงได้   แม้ว่าจะพึ่งได้แต่เพียงชั่วครูชั่วยาม มิใช่ลักษณะการพึ่งพิงแบบยั่งยืน  การที่เราอยู่สูงเกินไปจนทำให้เรากลายเป็นชนชั้น และมีทัศนะเหยียดหยามคนด้อยกว่า หรือต่ำกว่า ซึ่งทำให้เสรีภาพ, ความเสมอภาค และภราดรภาพขาดหายไป  ซึ่งเป็นแก่นแกนของประชาธิปไตยด้วยซ้ำไป    ประชาธิปไตยหากยังมีแนวคิดเป็นชนชั้นแล้ว  ก็จะเป็นกฎหมายที่มีชนชั้น เกิดการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม  การเข้าถึงคนมีอำนาจเป็นไปด้วยความยากลำบาก (power distance) ทำให้ผู้ปกครองไม่สามารถเข้าถึงราษฎร  แต่จะเข้าึถึงเฉพาะตอนเลือกตั้งเท่านั้น  การจะเป็นผู้นำที่ดีต้องทำให้ราษฎรอยู่ดีกินดีเสียก่อน  แต่หากทำราษฎรยากจน ข้าวยากหมากแพง  ไม่สามารถพึ่งพิงได้นั้น   ประชาชนจะพอใจท่าน, รักท่าน,หรือไม่    อย่าได้ให้ความสำคัญกับอำนาจมากเกินไป แต่ควรสนใจใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์จะเป็นการดีกว่า และจะได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)