บุคคลที่เป็นผู้นำ ไม่ควรแสดงบทบาทของนักเผด็จการนิยมอำนาจ

อำนาจเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย เปรียบเสมือนเหล้ากินแล้วเมา หากมัวเมาอำนาจก็เหมือนคนกินเหล้าแล้วเมา
ทำให้ขาดสติ พูดไปโดยขาดยั้งคิด ยั้งทำ ทำให้ตัดสินใจทำในสิ่งชั่วร้ายได้โดยง่าย   พระพุทธศาสนาสอนเรื่องการห้ามดื่มสุราเมรัย หรือของมึนเมา    แม้กระทั่งอำนาจหากเราเสพหรือหลงอำนาจเราก็จะกลายเป็นคนขาดสติ   เมื่อเราแสดงออกทีใดก็จะเป็นที่น่ารังเกียจได้ เพราะผู้แสดงที่เมามันอำนาจมีโอกาสเผลอสติตัวเอง  คิดว่าตนเองเป้นผู้มีอำนาจเหนือกว่าคนอื่น ๆ  ทั้งที่การปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นคนเรามีสิทธิ เสรีภาพเท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่าคนเราจะมีฐานะทางเศรษฐกิจ, บทบาทที่แตกต่างกัน  แต่หากเราหลงบทบาท, หลงอำนาจวาสนา, จนลืมไปว่าคนไทยทั้งหลายที่มีความคิดเห็นต่างนั้นล้วนแต่เป็นคนไทยด้วยกัน    หากเราเป็นคนดีมีความสามารถจริง และทำประโยชน์แก่บ้านเมืองได้จริง  ก็คงเป็นที่รักของประชาชน  คงไม่มีประชาชนคนใหนจะรังเกียจผู้นำ  แต่กลับจะเคารพบูชาเพราะว่าผู้นำทำตนให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้  แต่ถ้าหากผู้ปกครองมีการกดขี่, เบียดเบียนบีฑาแล้วก็จะทำให้ประชาชนรังเกียจ   ดังนั้นนักปกครองที่ดีควรทำให้เป็นที่รักของประชาชน เป็นที่หวังและพึ่งพิงเพราะผู้ที่มีอำนาจหรือมีฐานะเศรษฐกิจดีกว่าย่อมช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่าในสังคมโดยลดช่องว่างในการเข้าถึงผู้มีอำนาจ   ดังนั้นขอให้คนไทยมีสติในการปกครองที่ดี ใช้สติกำกับมากกว่าการใช้อำนาจ, ให้ความรักผู้อื่นท่านจะได้รับความรักตอบแทน, ให้ความต่ำต้อยแก่ประชาชนประชาชนก็จะไม่เคารพนับถือ, ให้ความยุติธรรมประชาชนก็จะรู้สึกรักประเทศนี้, ให้ความเป็นธรรมประชาชนจะรู้สึกปลอดภัย   ไม่ควรปกครองที่ทำให้คนในชาติสับสนจะเป็นเรื่องดี  และให้อภัยต่อความผิดพลาดซึ่งกันและกันมากกว่าจะเคียดแค้นพยาบาท ซึ่งจะทำให้เป็นเวรกรรมไม่มีสิ้นสุด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)