ความคิดที่ไม่ต่อยอด ก็เท่ากับว่าจมอยู่กับเรื่องเดิม ๆ
ไม่ว่าการบริหารกิจการใด ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน หากไม่มีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ก็เ่ท่ากับว่าการบริหารไม่มีอะไรใหม่ ยังคงไว้ซึ่งการบริหารในรูปแบบเก่า ๆ เดิม ๆ ทำให้สังคมประเทศไม่มีความเจริญก้าวหน้า เพราะขาดสิ่งใหม่ ๆ มาต่อเติมเพิ่มสีสัน และหากความคิดนั้นไม่มีคุณภาพหรือวิสัยทัศน์แล้วก็จะทำให้ผลการปฏิบัติงานไมสามารถสร้างประสิทธิภาพได้ ทั้งนี้ไม่สามารถมีความคิดเชิงระบบ (systematic thinking) ดังนั้นความคิดเชิงระบบจะทำให้ผู้ที่คิดนั้นจะมองในเชิงการใส่ความคิดนำเข้า (input) ไปสู่กระบวนการจากจุดเริ่มต้นไปหาจุดปลายทาง (process) และนำไปสู่ผลลัพธ์ (output) ดังนั้นผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชนควรมองว่าการดำเนินงานใด ๆ ควรมองให้ใกล,กว้าง,ลึก และมองประเด็นแบบจากต้นชนปลาย และทบทวนย้อนกลับ (feedback) ก็จะทำให้ความคิดนั้นมีความกระจ่างชัด (clearcut) ในการตัดสินใจใด ๆ ก็จะทำให้การวางแผนดำเนินงานเป็นไปอย่างสุขุมรอบคอบ ไม่กระทำการบุ่มบ่าม หรือขาดสติ หรือลุแก่การใช้อำนาจ ทำให้การตัดสินใจนั้นกระทำไปด้วยอารมณ์ ไม่ใช่การกระทำด้วยเหตุผล นอกจากนี้ผู้ตัดสินใจยังต้องใช้แนวคิดที่มองภววิสัยนั้นกับอัตวิสัยควรมีความสอดคล้องต้องกัน การขาดวิสัยทัศน์และขาดความคิดเชิงระบบทำให้การตัดสินใจได้ผลที่ไม่ดี ทำให้ประเทศชาติเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า หรือเอกชนก็ไม่สามารถพัฒนาให้เป็นองค์การที่มีผลปฏิบัติงานที่ดีได้ ดังนั้นความคิดใหม่ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงให้มีการเสริมแต่งปัจจัยที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดแนวทางใหม่ๆ ไม่จมปลักอยู่กับวิธีการเก่า ๆ และเป็นวิธีที่ไม่พัฒนาจากเดิม ก็จะทำให้การตัดสินใจนั้นไม่สอดคล้องต่อการแก้ัปัญหาที่ได้พัฒนาขึ้นมาได้ ดังนั้นนักบริหารนักปกครองควรเป็นผู้รับฟังความคิดเห็น และให้โอกาสในการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางก็จะทำให้ความคิดของผู้บริหารมีความคิดคับแคบ และมีความมั่นใจตนเองมากเกินไป บุคลิกลักษณะของผู้บริหารหรือผู้ปกครองที่มีลักษณะการไม่รับฟัง หรือไม่รับฟังผู้อื่น ๆ ทำให้เขากลายเป็นผู้บริหารหรือผู้ปกครองกลายเป็นผู้นิยมอำนาจ(authoritarianim) ในการตัดสินใจ ซึ่งหากมีลูกน้องรอง ๆ ลงมาที่นิยมรับคำสั่งโดยไม่มีการเสนอแนะ หรือมีการอภิปรายรับฟัง ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอ เพราะควรฟังบุคคลที่มีแนวคิดต่างกัน หรือทัศนะที่ไม่เหมือนกัน เพื่อทำให้เกิดมุมมองวิสัยทัศน์รอบด้าน อย่างเป็นระบบ ทำให้สังคมตัดสินใจที่ฟังรอบด้านและไม่ใช้ความชอบพอใจชอบความคิดใดความคิดหนึ่งเท่านั้น หรือการรับอิทธิพลเพียงความคิดไม่กี่คนในการตัดสินใจย่อมมีโอกาสผิดพลาดได้มากขึ้น สรุปผู้บริหารหรือผู้ปกครองควรเป็นผู้ที่ติดดินกับปัญหา เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ใช่ให้คนอื่นมาเอาใจเราจนเคยชิน ให้มองผู้ที่มีความแตกต่างจากเราว่าเขาคิดอย่างไร ทำไมต้องคิดอย่างนั้น มีมูลเหตุความคิดมาอย่างไร อะไรคือเหตุจูงใจให้เขาคิดเช่นนั้น หากเราตัดสินใจแบบนั้นจะได้รับอย่างนั้นอย่างไร และหากตัดสินใจผิดพลาดไปแล้ว จะหาวิธีการใหม่ ๆ อย่างไรที่ดีกว่ามาแก้ปัญหา
โดยไม่จมกับวิธีการในอดีต หรือความเคยชิน มีลักษณะการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ก็จะทำให้ความคิดนั้นมีความกระจ่างเหมือนเห็นน้ำใสอยู่ตู้ปลาก็จะทำให้ความคิดของเราไม่ผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะมีการปรับเปลี่ยนความคิด พร้อมจิตใจพร้อมเปลี่ยน รวมทั้งปรับภววิสัยให้สอดคล้องกับอัตวิสัยก็จะทำให้การตัิดสินใจที่โอกาสจะผิดพลาดมีน้อยลง หรือไม่มีเลยก็เป็นได้
โดยไม่จมกับวิธีการในอดีต หรือความเคยชิน มีลักษณะการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ก็จะทำให้ความคิดนั้นมีความกระจ่างเหมือนเห็นน้ำใสอยู่ตู้ปลาก็จะทำให้ความคิดของเราไม่ผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะมีการปรับเปลี่ยนความคิด พร้อมจิตใจพร้อมเปลี่ยน รวมทั้งปรับภววิสัยให้สอดคล้องกับอัตวิสัยก็จะทำให้การตัิดสินใจที่โอกาสจะผิดพลาดมีน้อยลง หรือไม่มีเลยก็เป็นได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น