ประชาธิปไตยของไทยมีลักษณะเกิดจากข้างบนลงล่าง

        ประชาธิปไตยของไทยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยกลุ่มคณะราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการพลเรือน,ทหาร,ตำรวจ ได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ซึ่งประชาธิปไตยขณะนั้นมีความตื่นตัวทางการเมืองโดยชนชั้นนำ ในสมัย ดร.ปรีดี พนมยงค์ และพลเอกพระยาพหลพยุหเสนา ต่อมาประชาธิปไตยก็ได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ ทำให้กลุ่มคณะราษฎร์ไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยได้อย่างยั่งยืน   จนในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ก็เกิดความตื่นตัวทางการเมืองแบบประชาธิปไตยโดยนักเรียน,นิสิตนักศึกษา มีการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตย จนเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยในระดับหนึ่งเท่านั้น  เพราะขบวนการประชาธิปไตยที่เกิดในยุคนั้น ยังเป็นขบวนการที่เป็นประชาธิปไตยของชนชั้นระดับกลางเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยโดยคนส่วนใหญ่ของประเทศ  เพราะยังมีกลุ่มบุคคลหนุนนำนักเรียน, นิสิต,นักศึกษา ให้ต่อต้านอำนาจของพลเอกถนอม, ประภาส และคณะ   จนมาถึงยุคมีการปฏิวัติรัฐประหารปี 2535 ก็มีการปฏิวัติ และเกิดคนชั้นกลางลุกขึ้นมาต่อสุ้จนได้ประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง   และได้เกิดร่างรัฐธรรมนูญที่กว้างขวางใน ปี 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดในประวัติศาสตร์    และในยุคปัจจุบันได้เกิดกลุ่มพลังเรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกลับเป็นคนรากหญ้าที่เรียกร้องให้มีผู้นำมาช่วยแก้ปัญหาให้เขา และต้องการสิทธิ,เสรีภาพ,ความเสมอภาค เฉกเช่นเดียวกับคนชั้นกลางและคนชั้นสูง   ทำให้แนวทางประชาธิปไตยปัจจุบันเกิดความสับสน เพราะคนชั้นกลาง และคนชั้นสูงยังไม่ยอมรับประชาชนระดับรากหญ้า เพราะมองว่ามีระดับการศึกษาต่ำ คงไม่เ้ข้าใจประชาธิปไตย และถูกมองว่าถูกชี้นำของอดีตผู้นำ   ซึ่งจริง ๆ แล้วเกิดจากประชาชนมองว่าประเทศไทยหากไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงแล้ว  คนรากหญ้าจะเป็นคนที่ลำบากมากที่สุด เพราะจะถูกเอารัดเอาเปรียบ,ไม่มีใครช่วยเหลือหรือยกระดับฐานะของเขาให้ดีขึ้น   และต้องการพึ่งพาผู้นำที่พึ่งได้ และมองผู้นำที่มีความสามารถ  แต่มิใช่เป็นประเด็นที่ว่าประชาชนสนับสนุนอดีตผู้นำ    เพียงแต่ว่าประชาชนปัจจุบันเ้ข้าใจการเมืองมากขึ้น และต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง และต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้  เพราะในระบบปัจจุบันหากใช้วิธีบริหารแบบเดิม ๆ ก็ไม่สามารถทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น   ซึ่งไม่ใช่ความผิดของประชาชนที่ดิ้นรนเพื่อการมีชีวิตที่ดีกว่า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

แนวคิดปรัชญาของรุสโซ่ : เจตน์จำนงทั่วไปและสังคมที่มีการจัดระเบียบที่ดี