การจัดการสมรรถนะ :แนวคิดของทรัพยากรมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป
เป็นความชอบธรรมที่ีจะตอบสนองต่อความโกลาหลของต้นปี ค.ศ. 1980 จากการลดปัญหาบุคลากรที่เป็นไม้ตายซากเพื่อลดบุคคลที่เป็นปัญหาต่อประสิทธิผลขององค์การ ในกลางปี ค.ศ.1980 ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิถีทางที่เราคิดเกี่ยวกับสมรรถภาพของมนุษย์ แรงกดดันจากการแข่งขันเปลี่ยนแปลงเป็นการคุกคามจากการแ่ข่งขัน กำลังแรงงานมีการลดลง งานของปัจเจกชนกลับมีการดูแลด้วยตนเองที่ต้องใช้ทักษะ และความแตกต่างหลากหลายมากขึ้น และระดับการบังคับบัญชามีน้อยลงซึ่งเป็นผลส่งเสริมความต้องการให้บุคลากรมีการควบคุมดูแลกิจกรรมของเขาเอง การส่งเสริมให้บุคคลากรมีขอบเขตงานที่มากขึ้น และมีอิสระมีความมุ่งหมายที่ว่าองค์การมีความสนใจในตัวบุคคลากรที่ควรลงทุนเพื่อเพิ่มคุณค่าแก่เขา องค์การอยู่รอดได้การจากสภาวะถดถอยในต้นปี ค.ศ.1980 เรียกร้องมีการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ด้วยการมุ่งเน้นการปรับปรุงบุคคลากรซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเติบโตโดยตระหนักว่าพนักงานมีส่วนสำคัญในการนำกลยุทธ์ไปใช้ในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตามก็มีการเพิ่มความไม่แน่นอนในการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่จะจัดการให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
เป็นที่ประัจักษ์ว่ายังไม่มีข้อกังขาถึงของการได้บุคคลที่เหมาะสมในการทำงาน ซึ่ง Evan (1991) มีทัศนะว่าการจัดการได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นการปฏิบัติที่สร้างความสมดุล มากกว่าจะเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่นระหว่างการตัดสินใจรวมศูนย์อำนาจกับการกระจายอำนาจ, การผลิตสินค้าหรือบริการที่ต้นทุนต่ำสุด หรือการสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งองค์การต้องสามารถถ่วงดุลในสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามได้
องค์การนอกจากจะจำเป็นต้องสร้างโอกาสแล้วยังต้องวางแผนด้วยโดยเน้นสายการบังคับบัญชาจากสูงลงมาต่ำเช่นเดียวกับการมีส่วนร่วมในงานระหว่างจากเบื้องล่างไปสู่เบื้องบน องค์การต้องสร้างความสมดุลในความต้องการในการให้ความสำคัญระหว่างคุณภาพกับการเงิน, ผู้ที่มีความรอบรู้ทางธุรกิจกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน, และทีมงานที่ดีกับบุคคลากรที่ชาญฉลาด จากสภาวะแวดล้อมเช่นนี้องค์การต้องการได้บุคคลากรที่สามารถช่วยกำหนดสถานการณ์ ผู้บริหารจำเป็นต้องส่งเสริมให้มีการเผชิญหน้ากัน เข้าใจในแรงผลักดันจากภายนอกองค์การอย่างกว้างขวาง ซึ่งหมายถึงจะต้องปรับปรุงทักษะ,ทัศนคติ,ค่านิยม และสภาพจิตใจ เพื่อเป็นหนทางที่จะสร้างการผสมผสานในความเ็ป็นเลิศ และความสามารถที่จะจัดการความตีงเครียดภายในองค์การได้อย่างสร้างสรรค์
เป็นที่ประัจักษ์ว่ายังไม่มีข้อกังขาถึงของการได้บุคคลที่เหมาะสมในการทำงาน ซึ่ง Evan (1991) มีทัศนะว่าการจัดการได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นการปฏิบัติที่สร้างความสมดุล มากกว่าจะเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่นระหว่างการตัดสินใจรวมศูนย์อำนาจกับการกระจายอำนาจ, การผลิตสินค้าหรือบริการที่ต้นทุนต่ำสุด หรือการสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งองค์การต้องสามารถถ่วงดุลในสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามได้
องค์การนอกจากจะจำเป็นต้องสร้างโอกาสแล้วยังต้องวางแผนด้วยโดยเน้นสายการบังคับบัญชาจากสูงลงมาต่ำเช่นเดียวกับการมีส่วนร่วมในงานระหว่างจากเบื้องล่างไปสู่เบื้องบน องค์การต้องสร้างความสมดุลในความต้องการในการให้ความสำคัญระหว่างคุณภาพกับการเงิน, ผู้ที่มีความรอบรู้ทางธุรกิจกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน, และทีมงานที่ดีกับบุคคลากรที่ชาญฉลาด จากสภาวะแวดล้อมเช่นนี้องค์การต้องการได้บุคคลากรที่สามารถช่วยกำหนดสถานการณ์ ผู้บริหารจำเป็นต้องส่งเสริมให้มีการเผชิญหน้ากัน เข้าใจในแรงผลักดันจากภายนอกองค์การอย่างกว้างขวาง ซึ่งหมายถึงจะต้องปรับปรุงทักษะ,ทัศนคติ,ค่านิยม และสภาพจิตใจ เพื่อเป็นหนทางที่จะสร้างการผสมผสานในความเ็ป็นเลิศ และความสามารถที่จะจัดการความตีงเครียดภายในองค์การได้อย่างสร้างสรรค์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น