การรื้อปรับระบบหรือยกเครื่อองค์กร (Business Process Engineering)

 https://encrypted-tbn0.google.com/images?q=tbn:ANd9GcTdoImSeIgByR_2VIeBaAc91iAEz6kvzDceH6DQ954o-QU8Bgni9T86jKM            


               การยกเครื่ององค์กรธุรกิจ     ตามความคิดของแฮมเม่อร์และแชมปี้
        ให้คำนิยามความหมายดังกล่าวนี้   คือการที่ทบทวนกระบวนใหม่
        ในกระบวนการออกแบบองค์การ    บรรลุงานปรับปรุงค่อยเป็นไป
        เพื่อผลงาน,ต้นทุน,การก้าวไกล     ความว่องไวปัจจุบันนั้นจำเป็น
               จัดองค์กรหน่วยงานรูปแบบใหม่ ชำนาญในหน้าที่การทำงาน
        การผลิต,การตลาด,บัญชีการ        มองดูงานในหน้าที่แต่ละอย่าง
        แฮมเม่อร์และแชมปี้เสนอแนะ       ควรข้องแวะดูกระบวนการนำทาง
        จากการได้วัตถุดิบเป็นตัวอย่าง      เพื่อถากถางการผลิตการตลาด
               และการจำแนกแจกจ่ายเพื่อจัดวาง ต้องแผ้วถางห่วงโซ่อุปทาน
        ในการปรับองค์กรกระบวนการ       เพื่อสร้างฐานคุณค่าแก่ลูกค้า
        อันเป็นแนวปัจจัยการชักนำ          ความเลิศล้ำแนวคิดบีพีอาร์ (Business Process Engineering)
          และเทคโนโลยีข่าวสารที่ก้าวหน้า คือที่มาบทบาทอย่างสำคัญ
               องค์ประกอบสำคัญยิ่งใหญ่หนา ยกเครื่องมาโดยนักคิดที่กล่าวไว้
       ในชุดตำรายกเครื่ององค์กรใหม่     บรรจุในวาระด่วนควรคำนึง
       เพื่อลดการสูญเสียเวลามาก          โดยมองจากหน่วยงานในที่หนึ่ง
       และอีกหน่วยงานอย่างทั่วถึง         แต่รำพึงว่าห่างไกลสร้างทีมงาน
               แนวทางห้าประการเมื่อคิดถึง  เมื่อคนึงแนวคิดบีพีอาร์
       เป็นตัวแบบดาเวนพอร์ตพรรณนา     หนึ่งพัฒนาวิสัยทัศน์ธุรกิจ
       และพัฒนาจุดประสงค์กระบวนการ   ในเรื่องการลดต้นทุนทุกทั่วทิศ
       รวมทั้งลดเวลาการเป็นนิตย์           เพิ่มผลิตปรับปรุงคุณภาพ  
               สองจำแนกกระบวนการออกแบบคิด เพื่อประดิษฐ์งานใหม่ใส่ใจถึง
       ในองค์การส่วนมากล้วนเหนี่ยวดึง   มุ่งคำนึงผลกระทบกระบวนการ
       เกี่ยวกับการขัดแย้งวิสัยทัศน์          จึงมุ่งดัดแปรเปลี่ยนเร่งเร้างาน
       จัดลำดับความสำคัญดำเนินการ      ออกแบบงานเหมาะสมและลงตัว
               สามเข้าใจและวัดผลกระบวนการ หลีกเลี่ยงการสำคัญผิดอย่างซ้ำซ้อน
       เพื่อสนองพื้นฐานปรับปรุงก่อน        สี่ผันผ่อนใช้ไอทีทวีผล
       เป็นปัจจัยสำคัญในอิทธิพล             ห้าหวังผลออกแบบการคิดค้น
       สร้างต้นแบบกระบวนการอย่างแยบยล ด้วยมองผลจุดปลายทางการรื้อปรับ
               เพื่อส่งมอบสินค้าอย่างได้ผล   รวดเร็วจนลูกค้าพึงพอใจ
       ลูกค้าได้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องได้         จึงได้ใจลูกค้าเข้ามาครอง
       สิ่งสำคัญความคิดบีพีอาร์               เมื่อนำมาพิจารณาการทดลอง
       ว่าการแข่งขันองค์กรยังเป็นรอง       ต้องจดจ้องว่ามีขัดแย้งใหม
               และมีการประชุมบ่อยแค่ใหน   มีการใช้สื่อสารไร้สาระ
       บันทึกย่อ,อีเมลล์เป็นขยะ               เพื่อลดละเสียเวลาไม่สร้างสรรค์
       แม้แนวทางต่อเนื่องทีละน้อย          ต้องมุ่งคอยปรับปรุงต่อเนื่องกัน 
       เพื่อปรับปรุงผลงานอย่างเท่าทัน      การแข่งขันยุคโลกาพัฒนา
               ข้อวิพากย์การนำบีพีอาร์นั้น    ชื่อเสียงนั้นไม่ค่อยดีมีผลทั่ว
      การปลดออกคนงานเริ่มเกรงกลัว       เริ่มรู้ตัวว่ากระทบกับตนเอง
      ทั้งนี้เพราะนักคิดวิชาการ                 รวบผลงานองค์กรที่ยอดเก่ง  
      แต่ลืมถึงการประยุกต์ไม่สุดเจ๋ง          เมื่อละเลงนำใช้ทุกองค์การ
             สิ่งสำคัญแนวคิดไม่อาจเบ่ง       เพราะกริ่งเกรงไม่เที่ยงตรงการนำใช้
      ว่ากระบวนการไร้ผลต้องแก้ไข           อาจไม่ใช่บีพีอาร์เป็นทางรอด
      อีกประการสันนิษฐานการปรับปรุง      ต้องหมายมุ่งรัฐสะอาดอย่างเยี่ยมยอด 
      หากรัฐรักษ์สถานภาพก็คงจอด          เพราะไม่ปลอดจริงใจต่อบุคคล
             การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นค่อยๆตอด แนวทางสอดรับกันปรับดีกว่า
      หากแนวคิดอคติของแนวหน้า           อาจมองว่าแนวคิดอเมริกันชน
      แม้นเปรียบเทียบไคเซ็น,บีพีอาร์         ไคเซ็นหนาถูกมองว่าเน้นคน
      ง่ายต่อการนำไช้อย่างได้ผล             ต้องฝึกฝนใช้เวลาระยะยาว
              และวิถีทางเปลี่ยนแปลงที่ผจญ  ยังดั้นด้นแนวแคบทางวิถี
      ส่วนแนวคิดยกเครื่ององค์กรนี้            เป็นวิธียากกว่า,มุ่งข่าวสาร
      เทคโนโลยี่นำใช้เป็นสะพาน              ต้องเน้นการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วงาน
      มุ่งเปลี่ยนแปลงทักษะการจัดการ        เพื่อสืบสานสำเร็จอย่างเยี่ยมจริง
     

          
            
       
         
                  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

วิศวกรสังคม (Social Engineer) มีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร?