ผลการวิจัยนักวิชาชีพการบริหารทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์

         จากวารสาร journal of management issues ประจำวันที่ 22 กันยายน 2554 ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของนักวิชาชีพบริหารทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวกับการให้ความสนใจในเรื่องการฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์มีค่อนข้างน้อย  ทั้งนี้เพราะว่าองค์การบริษัทส่วนใหญ่มักใช้วิธีการจ้างหาบุคลากรโดยผ่านบริษัทที่่ทำการหาคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสมัครเป็นรายตำแหน่งหรือรายบุคคล    หากทางบริษัทรับสมัครเองก็มักไม่ค่อยเห็นความสำคัญและมองว่าเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ  ทั้งนี้ผลงานวิจัยที่ทำเรื่องนี้มีน้อยมาก จึงทำให้งานวิจัยนี้ต้องการทดสอบว่าหากมีการเปรียบเทียบแล้วผลจะเป็นเช่นใด จึงได้มีการตั้งสมมติฐานดังนี้
        ก. ผู้ชำนาญการทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์จะมีทักษะที่ดีกว่าผู้ขำนาญการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญการการฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์
       ข. ผู้ชำนาญการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการจัดหาพนักงานและการประเมินคนเก่ง (talent) จะมีทัศนคติเชิงบวกที่เล็งเห็นประโยชน์มากกว่าผู้ชำนาญการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการจัดหาพนักงานและการประเมินคนเก่ง
       ค. ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำการสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงานจะมีทัศนคติเชิงบวกในการเห้นประโยชน์ของการฝึกอบรมเพื่อการจ้างงานมากกว่าผู้ที่มีประสบการณ์การสัมภาษณ์การจ้างงานค่อนข้างน้อย
       ง. ผู้ชำนาญการทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นสตรีจะมีบทบาทสนับสนุนการฝึกอบรมในเพื่อการจ้างงานมากกว่าผู้ชำนาญการทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นผู้ชาย
       จ. ผู้ชำนาญการทรัพยากรมนุษย์ที่ได้รับการสนับสนุนให้มีการจัดฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์ในองค์การจะให้น้ำหนักความสำคัญเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาสำคัญในการตัดสินใจสนับสนุนเพื่อการฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์
       จากการเก็บตัวอย่างข้อมูลประชากร 127 ตัวอย่างเพื่อการสำรวจเพื่อความแม่นตรงของการรับรู้เกียวกับการฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างทั้กษะการสัมภาษณ์ที่ดีกว่าเดิม   ตัวอย่างสำรวจมีผู้หญิง110 คน และผู้ชายเพียง 17 คน การสุ่มตัวอย่างจากอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยที่ร้อยละ 55 เป็นองค์กรบริการ ร้อยละ 29 เป็นโรงงานอุตสาหกรรม และร้อยละ 16 เป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไร
สถิติที่ใช้เปรียบเทียบปัจจัย เรียกว่า factor analysis และทดสอบสถิติโดยใช้ Regression Analysis ผลปรากฎดังนี้
       ก.จากสมมติฐานที่ 1 ผลปรากฎว่าผู้ชำนาญการทรัพยากรมนุษย์ที่สนับสนุนการฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์จะมีทัศนคติเชิงบวกมากกว่าผู้ชนำาญการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่ให้การสนับสนุน
      ข. ผู้ชำนาญการทรัพยกรมนุษย์ที่ีมึความเชี่ยวชาญเฉพาะในการจัดหาพนักงานงานและการประเมินคนเก่งจะมีทัศนคติเชิงบวกมากกว่าผู้ไม่เชียวชาญ
      ค. ผู้ชำนาญการทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสบการณ์ในการสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงานมากกว่าคนที่ขาดประสบการณ์
      ง. ผู้ชำนาญการทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นเพศสตรีจะให้ความสำคัญกับการสนับสนุนโดยเล็งเห็นประโยชน์ของการฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์มากกว่าเพศชาย ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของการควบคุมองค์การ และประเภทขององค์การ
     จ. ผู้ชำนาญการทรัพยากรมนุษย์ที่ได้รับสนับสนุนการฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์ในองค์การจะให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงปัญหาการฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์
      สรุป องค์การควรให้ึความสำคัญกับการฝึกอบรมเพื่อการสัมภาษณ์ เพราะเป็นการเพิ่มพูนทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการฝึกอบรมเเพื่อการสัมภาษณ์  และเป็นเครื่องชี้ว่าบุคลากรผู้ขำนาญการทรัพยากรมนุษย์ควรหันใส่ใจต่อการสร้างความสำคัญในการสัมภาษณ์พนักงานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเลือกสรรบุคลากรเข้ามาทำงานเพื่อแสวงหาคนที่ดีที่สุดเข้ามาทำงาน และการค้นหาสมรรถนะในตัวบุคคลอย่างลึกซึ้งเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการรับบุคคลเข้ามาทำงานในองค์การ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

วิศวกรสังคม (Social Engineer) มีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร?