การศึกษาจิตใจนักเผด็จการ ตอนที่หนึ่ง

เรียบเรียงจากนักคิดชื่อ เจมส์ ฟอลเลน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย ณ.สถาบันการแพทย์เออร์วิน

          เป็นเวลากว่า 18 ปีที่ศาสตราจารย์เจมส์ ฟอลเลน ทำการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของสมอง,จิตวิทยา,และพันธุกรรมคนไข้ทางจิต และได้ทำการสแกนสมองของนักสังเวยมนุษย์ที่เป็นโรคจิตเมื่อสองสามเดือนที่ผ่านมา เขาได้รับเชิญจากองค์กรสิทธิมนุษยชนที่ไม่มุ่งหวังกำไรเพื่อส่งเสริมการนำเสนอจิตใจแบบเผด็จการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหยิบยกประเด็นที่ชี้ให้เห็นชัดเจนในการลุกฮือต่อต้านเผด็จการในตะวันออกกลาง และในอัฟริกาเหนือ  ภายหลังจากได้รวบรวมเอาวรรณกรรมของเผด็จการที่เลวร้ายที่สุดในโลกและผสมผสานกับการวิจัยเกี่ยวกับประสาทวิทยาและคนไข้โรคจิตอื่ีน ๆ  เขาได้แสดงทฤษฎีลงในวารสาร Oslo Freedom Forum ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีโดยมูลนิธิสิทธิมนุษยชน  ซึ่งจากบทความของเขาจากการบรรยายได้ล้วงลึกเข้าไปในจิตใจของผู้แสดงตนที่หลงผิดและคิดว่าเป็นผู้ทรงอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในโลก
           ดังนั้นอะไรคือสิ่งที่เชื่อมโยงนักเผด็จการในประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์?   มีบุคคลิกลักษณะอะไรที่พวกเขาแสดงให้เห็น?      เริ่มต้นเรามาทำการทดสอบคนไข้โรคจิต พวกเขามักเป็นคนมีเสน่ห์ (Charming) มีบารมี (Charismatic) มีความเฉลียวฉลาด (Intelligent)   พวกเขามักกระหยิ่มย่องด้วยความเชื่อมั่น และมีอิสระ, มีพลังเพศที่ล้นเหลือ   นอกจากนี้พวกเขายังมีลักษณะจิตใจเลื่อนลอย,เป็นคนเจ้าโกหกพกลมคำโต, ไร้ความเมตตาปรานี มักเป็นพวกชอบใช้ความรุนแรงป่่าเถื่อน,มีความกระหายอำนาจไม่สิ้นสุด  ลักษณะเช่นนี้จะปรากฎกับคนไข้ที่เป็นโรคจิตแบบนี้เพียงไม่กี่คน
          ในยุคที่ไม่มีการสแกนสมองและรายงานทางพันธุกรรมของนักเผด็จการ   จะมีความแตกต่างในบุคลิกลักษณะที่ปรากฎอยู่ทั่วไปที่เห็นเด่นชัดอยู่สองประการที่สามารถนำไปใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาพฤติกรรมของพวกเขาเหล่านั้น  เขาได้วิเคราะห์บุคคลิกลักษณะของนักเผด็จการในยุคปัจจุบันที่เขาได้นิยามเป็นการทั่วไปของโรคจิตแบบดั้งเดิม  เช่นมุมมา อัล-กัดดาฟี เป็นลักษณะพวกจิตคิดหวาดระแวง (paranoic) หรือพวกบูชาคลั่งไคล้ตนเอง (narcissitic), พวกหิวกระหายอำนาจ หรือพวกหยิ่งทะนง (vain)   อเล็กซานเดอร์ ลุกคาเชงโกแห่งบาราลุส ก็เป็นนักเผด็จการที่อันตรายมากที่สุดในโลก   เขากระตือรือร้นที่จะโจมตีศัตรูของเขาด้วยสัญญาลักขณ์ที่ชัดเจนของโรคจิตร้ายแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างความพึงพอใจ  ในขณะนั้นประธานาธิบดีฮิวโก ชาเวส แห่งเวเนซุเอล่านักต่อสู้เพื่ออิสรภาพกลับกลายเป็นนักเผด็จการ  ที่เป็นจุดกึ่ีงกลางระหว่างสเกลของคนปรกติกับสเกลของคนที่เป็นโรคจิต ถึงแม้ว่าไม่ใช่นักเผด็จการ  เขา (ผู้เขียน) ต้องการสแกนสมอง และทดสอบดีเอ็นเอ ของโอสมา บี.ลาเด็น  เขาได้แสดงรุปแบบบุคลิกลักษณะต่าง ๆของนักเผด็จการที่เป็นโรคจิตในแนวคิดแบบเก่า เช่นมีลักษณะแสดงเป็นคนใหญ่คนโต,เป็นคนมีเสน่ห์,มีความคิดล้างแค้น,ฟุ้งเฟ้อเย่อหยิ่ง,ชอบใช้ความรุนแรง ด้วยความคิดที่ฝังอยู่ในตนเองอย่างยาวนานจึงพลาดโอกาสอย่างมหาศาลในการศึกษาการทำงานของจิตใจที่มีความชั่วร้ายแฝงอยู่
          บางครั้งมีการคาคคะเนว่านักเผด็จการไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะปกติต่อคนอื่น ในระหว่างบุคคลต่อบุคคล ในวิถีทางแบบเห็นอกเห็นใจ  พวกเขาอาจเกี่ยวข้องสมาคมกับคนอื่นในฐานะส่วนรวมหรือบุคคลในการรับรู้วิถีโลกแบบนามธรรม หรือชุมชนบุพพกาล (เหมือนฮิตเล่อร์ที่สร้างลัทธิคลั่งไคล้ชาวเยอรมัน)  หรือสตาลิตที่คลั่งไคล้ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวสลาฟ หรือแม้กระทั่งตัวแปรที่หลุดโลกซึ่งพวกเขาจะทำลายดุลยพินิจของตนเอง  อะไรที่ทำให้บุคคลเป็นโรคจิตคิดระแวง?
          สิ่งที่อยู่เบื้องหลังสายตา และสิ่งที่อยู่ลึกในเยื่อหุ้มสมอง ในหยักสมองที่เกี่ยวกับด้านโลกียวิสัย
และเป็นแฉกสมองส่วนหน้า และต่อมทอนซิลขยายตัว ซึ่งเป็นปมสมองในเซอร์กิตสมองที่อยู่ระหว่างกลางสัญชาตญาณสัตว์ และมีเพียงสองเปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่มีปัญหาทางจิตในประชากรโลก และมีคนไข้โรคจิตน้อยร้ายที่จะเป็นนักเผด็จการ
       ต่อมทอนซิลเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของเซอร์กิตสมองที่สั่งให้มีความเกรงกลัว, ความบันดาลโทสะ และความปรารถนาทางเพศ, ความจดจำทางอารมณ์ในสิ่งต่างที่ผ่านเข้ามา  ในส่วนศูนย์กลางของสมองมักเชื่อมโยงกับความอยู่รอดแบบโบราณ และศูนย์กลางสมองที่ต้องการลิ้มรสอาหารในส่วนที่เป็นกระบังสมอง,เหนือก้านสมองและเยื่อสมอง ความผิดปกติทางสมองในบุคคลบางคนที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์  สิ่งนี้ัพัฒนาเกิดขึ้นในระหว่างการเป็นศัตรูและได้รับผลกระทบจากพันธุกรรมทั้งสองอย่างคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเซโรโตนินและสารสื่อประสาทมาโนเอมีน  และสิ่งแวดล้อมเช่นความเครียดเกี่ยวกับมารดา,สารเสพติด,ความเครียดจากการเจ็บป่วย)   ทั้งด้านเยื่อสมองส่วนหน้าและต่อมทอลซินเชื่อมติดต่อกัน และโรคสมองส่วนที่กระตุ้นต่อต้านการควบคุมพฤติกรรมเพียงชั่วขณะใดขณะหนึ่ง  ทั้งทางด้านจริยธรรมที่มีทิศทางจากกลไกควบคุมแรงกระตุ้นของเยื่อสมองในส่วนที่อยู่ด้านล่าง  หรือยิ่งมีสัญชาตญาณของสัตว์มากเท่าใด ก็ยิ่งอยากเอาชนะสงครามมากขึ้น  ในบางคนต่อมทอลซิล พัฒนามาได้ไม่ดีทำให้สร้างบุคลิกแบบชอบพึ่งพาอาศัยคนอื่นอย่างสุดขั้ว

      
 
     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

วิศวกรสังคม (Social Engineer) มีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร?