กรอบแนวคิดในการออกแบบความคิดสำหรับการจัดการความรู้
การออกแบบความคิดคือองค์ความรู้ที่เข้มงวดเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบในฐานะที่เป็นปัจจัยเกี่ยวกับการนำเสนอแนวทางปัญหาการจัดการ (Simon, 1996) ภายใต้กรอบเค้าโครงความคิดในการออกแบบ ผู้เรียนควรจะได้รับการส่งเสริมให้คิดปัญหาได้อย่างกว้างขวาง, มีการพัฒนาให้เกิดความเข้าใจในประเด็นปัญหาอย่างลึกซึ้ง และวางแผนกระบวนการนำเอาความคิดที่ดีไปใช้ แนวคิดของการออกแบบความคิดสามารถนำมาเผยแพร่วิพากย์วิจารณ์ได้อย่างมากมายในปัจจุบันนี้เพื่อจัดวางตำแหน่งระดับของแผนธุรกิจ (Dunne and Martin,2006) การออกแบบความคิดคือสิ่งที่แตกจากความคิดในเชิงวิพากย์ในสิ่งที่การออกแบบความคิดเน้นกระบวนการ(process-oriented)ในขณะที่ความคิดเชิงวิพากย์เน้นการใช้ดุลยพินิจ (judgment-oriented) การศึกษากรณีตัวอย่างในการศึกษาธุรกิจย้ำเน้นเกี่ยวกับความคิดเชิงวิพากย์อย่างมาก แต่มีความคิดในเชิงออกแบบค่อนข้างน้อน การออกแบบความคิดเป็นผลที่เกิดขึ้นมาจากธรรมชาติของการออกแบบงาน: กระแสไหลของงานที่ขึ้นอยู่กับโครงการที่เป็นปัญหา (Dunne and Martin, 2006) 2. แนวทางการออกแบบความคิดไปสู่การจัดการความรู้ การจัดการความรู้เป็นหลักวิชาการที่เพิ่งเกิดขึ้นมา(Grossman,2007) การจัดการความรู้ได้รับการถ่ายทอดในโปรแกรมธุรกิจมาเป็นเวลาสองสามปีนี้เอง เมื่อเร็ว ๆ นี้สถาบันทางธุรกิจหลายแห่งได้เปิดโปรแกรมหลักสูตรปริญญาโทเอ็มบีเอ โดยเน้นการจัดการความรู้ (WWL,2007) ในคำจำกัดความที่กว้างขวางที่สุด การจัดการความรู้คือกระบวนการทีนำเอาคุณค่าสำหรับองค์กรโดยผ่านการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพย์สินทางความรู้ (Schultz and Leidner,2002) การจัดการความรู้ร่วมสมัยจะต้องได้สิ่งอำนวยความสะดวกโดยเทคโนโลยี่สื่อสาร และดังนั้นการจัดการความรู้จึงเป็นการถ่ายทอดโดยคณะระบบการจัดการข้อมูลข่าวสาร ได้ให้โอกาสเปิดสาขาวิชานี้และทำอย่างไรเมื่อเกิดความสับสนตลอดหลักสูตรโปรแกรมทางธุรกิจ จึงเป็นธรรมชาติที่ว่ามีความหลากหลายของวิธีการสอนและการเรียนรู้การจัดการความรู้ อย่างไรก็ดีทางสถาบันทางธุรกิจสามารถกำหนดวางในประเภทใหญ่ ๆ สองประเภทด้วยกันคือแบบไม่ลงปฏิบัติกับมีการลงปฏิบัติ ในวิธีการไม่ได้ลงปฏิบัตินั้นนักศึกษาจะได้เรียนรู้รูปแแบบการจัดการความรู้ ได้แก่กลยุทธ์การจัดการความรู้, การสนับสนุนเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารเพื่อการจัดการความรู้ และการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับองค์การและการบูรนาการทรัพยากรในทางวิสาหกิจ (Davenport and Prusak,2000) ความแตกต่างหลากหลายของตัวแบบการจัดการความรู้เช่น OODA loop (Fallows,1981) และวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA (Deming,1992) และจำนวนกรณีตัวอย่างของการจัดการความรู้ (เช่น Heier,et,al,2005) นักศึกษามีมุมมองเกี่ยวกับการจัดการความรู้โดยทั่วไป บางที่มีการปฏิบัติในแบบจำลองที่เหมือนกันและได้รับมองมุมมองผลกระทบเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในเครือข่ายสังคม อย่างไรก็ตามในวิธีการนี้ไม่ได้จงใจที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับกระบวนการการจัดการความรู้ วิธีการลงปฏิบัติมีความแตกต่างอย่างเห็นเด่นชัดกับวิธีการแบบไม่ลงปฏิบัติในการนำการออกแบบความคิดไปใช้ ในวิธีการลงมือปฏิบัติผู้เรียนต้องนำเอาแผนงานการจัดการความรู้ขององค์การในชุมชนธุรกิจ นักศึกษาสมควรได้รับความจำเป็นสำหรับการจัดการความรู้ในโลกที่แท้จริงรอบตัวเขาและเรียนรู้ในการให้แยกแยะโอกาสการจัดการความรู้ และวางแผนการจัดการความรู้สำหรับองค์การ์ที่แท้จริง โครงการการจัดการความรู้จะต้องขึ้นอยู่กับองค์การใดองค์การหนึ่งในขณะที่นักศึกษาได้รับประสบการณ์เป็นมือแรก จำนวนหลักสูตรในโปรแกรมธุรกิจจำนวนมากมีข้อจำกัดที่เคร่งครัด จึงเกี่ยวข้องกับการบูรนาการสองวิธีการโดยการใช้หลักสูตรเร่งรัดแบบโมดูลเช่นเดียวกับหลักสูตรเร่งรัดแบบลงปฏิบัติในการสอนวิชาการจัดการความรู้ อย่างไรก็ตามจึงมีตำราวิชาการเพียงไม่กี่เล่มที่จะต่อต้านการถ่วงดุลย์ระหว่างสองวิธีการนี้ (แนวการสอนแบบผู้ใหญ่นำไปสู่การบูรนาการของสองวิธีการที่ค่อนข้างหายากในวรรณกรรมเกี่ยวกับการศึกษาทางธุรกิจ) 3. ตัวแบบเชิงอนุมานสำหรับหลักสูตรเร่งรัดแบบปฏิบัติการ (An induction model for the clinical module) วรรณกรรมที่เป็นตัวอย่างเช่นของโบแลนด์และคอลล้อปปี้,2004 เผยแพร่ลักษณะของการออกแบบความคิดอย่างมากมายในมุมองของลักษณะการรับรู้ การออกแบบความคิดได้แก่การศึกษาหาข้อเท็จจริงหลาย ๆอย่างจนนำไปสู่การตั้งเป็นทฤษฎี,การหาเหตุผลจากสาเหตุปัจจัยต่าง ๆ (duductive), และกระบวนการทางจิตใจที่มีการกักขังตัวเอง การอนุมานคือการหาข้อสรุปอย่างกว้างขวาง(generalization) ไปสู่สาระเฉพาะอย่างคือขั้นแรกของการออกแบบความคิด สำหรับการออกแบบการศึกษาผู้ใหญ่เพื่อใช้เป็นหลักสูตรเร่งรัดสำหรับภาคปฏิบัติควรเน้นอนุมานเพื่อที่จะกระตุ้นตอบสนองให้มีการออกแบบความคิดโดยผู้เรียน โดยทั่วไปเพื่ออำนวยความสะดวกในการออกแบบความคิด เราจำเป็นต้องมีแบบอย่าง (Dunne and Martin,2006) งานที่สำคัญของการออกแบบหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่สำหรับหลักสูตรเร่งรัดกลับมาเป็นการพัฒนาของตัวแบบเชิงอนุมานเพื่อโครงการการจัดการความรู้ ภายหลังการทบทวนกรณีตัวอย่างระเบียบวิธีการจัดการความรู้ (ตัวอย่างเช่น บัคแมน,2004; ไฮเออร์และคณะ, 2005) เราได้มีการปรับปรุงรูปแบบการอนุมานของเราเพื่อการสอนการจัดการความรู้ ดังที่จะได้อธิบายดังต่อไปนี้ 3.1 การจัดการความรู้คือกุศโลบายจากกลยุทธ์ในทางธุรกิจแนวใหม่ การจัดการความรู้เกิดจากข้อเรียกร้องในกลยุทธ์ธุรกิจแนวใหม่ในการตอบสนองโลกธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป กล่าวโดยทั่วไปเมื่อธุรกิจมีความเคลื่อนไหวจากแรงขับผลิตภัณฑ์ไปสู่แรงขับของตลาด และนำไปสู่แรงขับเคลื่อนความรู้การจัดการความรู้ควรตอบสนองความได้เปรียบเชิงแข่งขันเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนความรู้ 3.2 กลยุทธ์เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารสำหรับการจัดการความรู้ มิติแรกสำหรับการจดการความรู้สำหรับนักศึกษาเพื่อคิดคือกลยุทธ์เทคโนโลยี่ข่าวสารข้อมูลที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่ดีที่สุดสำหรับการจัดการความรู้ ลักษณะของมิตินี้ของการจัดการความรู้ได้แก่สิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับเทคโนโลยี่ข้อมูลข่าวสารได้แก่ระบบคอมพิวเตอร์และการสร้างเครือข่าย มาตรฐานทางจริยธรรมที่มีต่อการใช้เทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล, การสร้างทีมเสมือนจริง (virtual team) และสถาปนิกของระบบความรู้ (ตัวอย่างเช่นกรุ๊ฟแวร์ และเครื่องมือจัดการความรู้ 3.3 กลยุทธ์องค์การเพื่อการจัดการความรู้ มิติที่สองสำหรับการจัดการความรู้คือกลยุทธ์องค์การที่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการความรู้ที่ดีที่สุด ลักษณะของมิติได้แก่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม, บรรยากาศแห่งการเชื่อถือไว้วางใจเพื่อการแบ่งปันความรู้,ระบบรางวัลเพื่อการถ่ายโอนความรู้, และการเติบโตและการรักษาเกี่ยวกับพนักงานความรู้ 3.4 สินค้าและบริการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ มิติที่สามของการจัดการความรู้คือสินค้าและบริการที่กระทำโดยการจัดการความรู้ ฐานข้อมูลและฐานความรู้เป็นตัวอย่างของผลิตภัณฑ์สำหรับการ แบ่งปันความรู้แบบเปิดเผย (explicit knowledge), บล๊อคและศูนย์เรียนรู้สำหรับการฝึกอบรมบริษัทเป็นตัวอย่างของบริการสำหรับการแบ่งปันความรู้แบบฝังอยู่ในตัวคน (tacit knowledge) นักศึกษาจำเป็นต้องคิดถึงวิธีการของผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านี้ซึ่งดำเนินการโดยการจัดการความรู้ที่สามารถสนับสนุนทั้งการแบ่งปันและการถ่ายทอดความรู้แบบเปิดเผยและแบบฝังความรู้อยู่ในตัวคน 3.5 ผลที่ได้จากการจัดการความรู้ มิติที่สี่คือผลที่ได้ของการจัดการความรู้คือกระบวนการระยะยาว, อย่างไรก็ตามองค์การตองมีการปรับปรุงการวัดและเครื่องมือวัดเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการความรู้ การตอบสนองโดยทันทีทันใดต่อความต้องการของลูกค้าเร็วเท่าใด วงจรนวัตกรรมสร้างสรรค์ในผลิตภัณฑ์ก็ยิ่งสั้นมากขึ้น, และระดับของทรัพย์สินทางปัญญาสูงขึ้นเป็นตัวอย่างของผลที่ได้ของการจัดการความรู้ 4. การสอนหลักสูตรเร่งรัดแบบเน้นปฏิบัติ (Clinical Module) การสอนแนวนี้ได้รับการนำทางจากการรูปแบบอนุมาน (คือหาข้อสรุปอย่างกว้างขวางเพื่อนำไปสู่ผลที่ได้เฉพาะอย่าง) ได้นำมาใช้ในหลักสูตรการจัดการความรู้ในโปรแกรมหลักสูตรเอ็มบีเอสองหลักสูตรเกี่ยวกับสถาบันของผู้เขียน จากประสบการณ์ของผู้เขียนในการสอนแบบหลักสูตรเร่งรัดจะได้อธิบายดังนี้ 4.1 สร้างหลักสูตรเร่งรัดหลากหลายอย่างหนาแน่น หลักสูตรเร่งรัดแบบไม่เน้นลงมือปฏิบัติ เช่นกรณีตัวอย่างมักจะใช้ทั้งภาคการศึกษา ในขณะที่หลักสูตรเร่งรัดแบบปฏิบัติการเริ่มสัปดาห์แรกหลังจากนักศึกษาได้เรียนรู้บริบทและตัวแบบเชิงอนุมาน ผู้บรรยายจะช่วยให้นักศึกษาได้ถ่วงดุลย์ภาระงานที่ก้าวข้ามหลักสูตรโดยระบุวาระงานอย่างชัดเจน ยิ่งกว่านั้น ผู้บรรยายจะทำทั้งด้านหลักสูตรแบบเร่งรัดแบบไม่เน้นปฏิบัติ และเน้นปฏิบัติอย่างแน่นแฟ้นรัดกุม และเชื่อมต่อหลักสูตรเร่งรัดโดยผ่านการอภฺิปรายหน้าชั้นเรียน 4.2 การสนับสนุนความก้าวหน้าที่ต่อเนื่อง ระยะเวลาที่่ผ่านไปจำเป็นต้องมีการตรวจสอบโครงการ ตัวอย่างเช่น นักศึกษาอาจจำเป็นต้องการส่งข้อเสนอโครงการแบบย่อเพื่อให้มั่นใจว่าหลักสูตรแบบเร่งรัดเริ่มต้นได้ตรงเวลา มันอาจจะจำเป็นต้องมีการสอบมิดเทอร์มเพื่อดูว่าโครงการอยู่ในร่องรอยแนวทางการออกแบบความคิดที่นำทางจากตัวแบบเชิงอนุมานหรือไม่ ผู้บรรยายจะนำเสนอแนะต่อกลุ่มเดียว กลยุทธ์การสอนนี้จะช่วยให้สร้างพันธะระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และตอบสนองกลไกของการควบคุมคุณภาพเพื่อหลักสูตรแบบเน้นปฏิบัติการ 4.3 การดำเนินการให้นักศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผู้บรรยายจะกำหนดให้นักศึกษาให้นำเสนอแบบปากเปล่าเพื่อว่านักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ แนวทางนี้ใช้ประโยชน์สำหรับหลักสูตรเร่งรัดแบบปฏิบัติการ นักศึกษาถูกสมมติให้แสดงบทบาทแบบเจ้าหน้าที่ผู้บริหารความรู้ (CKO) และประเมินโครงงานในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน ผู้บรรยายจะส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการอภิปรายภายหลังการประชุมเพื่อการนำเสนอรายงาน การปฏิบัตินี้จะช่วยส่งเสริมความคืบหน้าการออกแบบความคิด 5. สรุป แนววิธีการออกแบบความคิดเพื่อการสอนการจัดการความรู้ได้นำมาประยุกต์ใช้ในโปรแกรมธุรกิจ ความคิดเห็นของูนักศึกษาได้ระบุชัดถึงประสบการณ์การเรียนรู้ในเชิงปฏิฐานและมีความพึงพอใจทั้งหมดด้วยวิธีการนี้ จากข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการจัดการความรู้ที่นักศึกษาใคร่ทีีจะมีตัวแบบเชิงอนุมานสำหรับโครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการออกแบบความคิด ลักษณะความก้าวหน้าของโครงการการจัดการความรู้ยังสนับสนุนระดับความก้าวหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่เขาทำเอง เราพบว่าหลักสูตรเร่งรัดแบบปฏิบัติการใช้ตัวแบบอนุมานเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาเพื่อพัฒนาการออกแบบความคิดสำหรับการจัดการความรู้ก ในส่วนของผู้เขียนที่ได้เรียบเรียงการออกแบบความคิดในการจัดการความรู้นี้ได้มีการทดลองในการฝึกให้นักศึกษาได้คิดค้นภูมิปัญญาไทยในรูปแบบที่ไปทำการศึกษาหาข้อมูลในแต่ละกลุ่ม และแต่ละเรื่อง และให้ทำการนำเสนอในรูป Future Board และ Power Point ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิดค้นหาทางเลือกว่าจะทำภูมิปัญญาเรื่องอะไร? และจัดทำเป็นแผนธุรกิจ (Business Plan) โดยออกไปทำการสัมมนาผสมผสานกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือแบบผจญภัยเดินป่า หรือปีนเขา,ล่องแก่ง ฯลฯ ผลปรากฎว่านักศึกษามีความสนุกสนานกับการได้พักผ่อน และการสัมมนาที่ทุกคนมีส่วนร่วม นักศึกษามีความภาคภูมิใจในผลงานของกลุ่มของตนเอง เมื่อได้จบการศึกษาไปแล้วจึงเห็นคุณค่า และเป็นการได้กลุ่มสัมพันธ์, แนวทางการทำงานเป็นทีม, การฝึกภาวะผู้นำในลักษณะเชิงบูรนาการ 6. ACKNOWLEDGEMENTS The comments of the Editor and anonymous reviewers have made valuable contributions to the revision of this article. 7. REFERENCES Boland, R. J. and F. Collopy, Eds.(2004), Managing as Designing, Stanford University Press, Stanford, CA. Buckman, R. H.(2004), Building a Knowledge-Driven Organizations, McGraw Hill, New York, NY. Davenport, T. H. and L. Prusak(2000), Working Knowledge: How Organizations Manage What They Know, Harvard Business School Press, Boston, MA. Deming, W. E.(1992), Out of the Crisis, Press Syndicate, University of Cambridge, UK. Dunne, D. and R. Martin(2006), "Design thinking and how it will change management education: An interview and discussion," Academy of Management Learning & Education, 5(4), 2006, 512-523. Grossman, M.(2007), "The emerging academic discipline of knowledge management," Journal of Information Systems Education, 18(1), 31-38. Fallows, J.(1981), National Defense, Random House, New York, NY. Heier, H., H. P. Borgman and A. Manuth(2005), "Siemens: Expanding the knowledge management system ShareNet to research & development," Journal of Cases on Information Technology, 7(1), 2005, 92-110. Schultz, U. and D. E. Leidner(2002), "Studying knowledge management in information systems research: Discourses and theoretical assumptions," MIS Quarterly, 26(3), 213242 Simon, H. A.(1996), The Sciences of the Artificial, 3rd ed. The MIT Press, Cambridge, MA. WWL(2007), Shouhong Wang is a Professor of Management Information Systems at University of Massachusetts Dartmouth. He received his PhD in Information Systems from McMaster University. His teaching and research interests include knowledge management, e-commerce, and business intelligence. He has published over eighty papers in academic journals and four books in MIS. Hai Wang is an Assistant Professor of Computing and Information Systems at Saint Mary's University. He received his PhD from University of Toronto. His teaching and research interests are in areas of knowledge management, e-commerce, and data warehouse and data mining. Shouhong Wang Department of Decision and Information Sciences University of Massachusetts Dartmouth Dartmouth, MA 02747-2300, USA swang@umassd.edu Hai Wang Sobey School of Business Saint Mary's University Halifax, NS B3H 3C3, Canada |