ความหมายของพันธมิตรเชิงกลยุทธ์

    

          พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ หมายถึงหุ้นส่วนระยะยาว และการตกลงความร่วมมือขององค์การหรือบริษัทตั้งแต่สององค์การขึ้นไปเพื่อกำหนดเป้าหมายที่สำคัญร่วมกันโดยที่องค์การยังมีความเป็นอิสระตามตัวบทกฎหมาย  ความร่วมมือนั้นปรากฎในรูปของขนาด,รูปร่าง รวมทั้งรูปแบบความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกันและเป็นไปตามสัญญาข้อตกลง   โดยธรรมดาการจัดเตรียมเพื่อสร้างพลังร่วมกันเพื่อให้องค์การมีส่่วนร่วมกันนำไปสู่ความเข้มแข็งและสมรรถภาพที่แตกต่างกันต่อพันธมิตร  สิ่งจูงใจที่สำคัญสำหรับการก่อตัวพันธมิตรเชิงกลยุทธ์นั่นก็คือสิ่งจูงใจด้านองค์การ,เศรษฐกิจ,กลยุทธ์และการเมือง
         ขั้นตอนการก่อรูปในกระบวนการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Formation for strategic alliance process)
          1. การพัฒนากลยุทธ์ (strategy developement)  ขั้นนี้จะเกี่ยวข้องกับการศึกษาความยืดหยุ่นของพันธมิตร,วัตถุประสงค์,ความสมเหตุสมผลที่มุ่งเน้นประเด็นสำคัญและสิ่งท้าทายและการพัฒนาของกลยุทธ์ทรัพยากรเพื่อการผลิต,เทคโนโลยี่,และคน,  จำเป็นต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ในวัตถุประสงค์เชิงพันธมิตรเพื่อกลยุทธ์ของกิจการ (corporate strategy)
         2.  การประเมินหุ้นส่วน (Partners Assessment) เป็นขั้นสำรวจเกี่ยวกับการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของหุ้นส่วนในเชิงศักยภาพเป็นการสร้างกลยุทธ์เพื่อรองรับรูปแบบการจัดการของหุ้นส่วน โดยเตรียมการคัดเลือกหุ้นส่วนอย่างเหมาะสม, การเข้าใจสิ่งจูงใจของหุ้นส่วนในการร่วมเป็นพันธมิตร และนำช่องว่างความสามารถในการใช้ทรัพยากรที่อาจเกิดขึ้นกับหุ้นส่วน
         3. การเจรจาต่อรองสัญญา (Contract Negotiation) ขั้นนี้จะเกี่ยวข้องกับการพิจารณาว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ทำได้ (realistic),มีการกำหนดทีมเจรจาต่อรองที่มีคุณสมบัติสูง หมายถึงการทุ่มเทและรางวัลของหุ้นส่วนแต่ละฝ่ายจะ้ต้องมีการปกป้องข้อมูลของกิจการโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขในข้อสัญญา, การลงโทษในกรณีผลงานไม่ดี, และให้ความสำคัญในระดับที่เป็นกรรมวิธีร้องเรียนเพื่อการระบุที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกัน
         4. การพัฒนาพันธมิตร (Allaiance Development) ขั้นนี้จะเกี่ยวกับข้อเสนอความผูกพันของฝ่ายจัดการอาวุโส เพื่อค้นหาคุณสมบัติของทรัพยากรที่ทุ่มเทแก่พันธมิตร โดยเชื่อมโยงเกี่ยวกับงบประมาณและทรัพยากรด้วยการจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ และเป็นการประเมินผลและวัดผล และการให้รางวัลในผลงานของพันธมิตร
         5. การดำเนินการร่วมกันของพันธมิตร (Alliance Execution) เป็นการจัดการเชิงปฏิบัติการ และการจัดการความสัมพันธ์
       รูปแบบหรือประเภทของพันธมิตรเชิงกลยุทธ์
           จากรายการต่อไปนี้เป็นรูปแบบที่เหลื่อมล้ำซ้ำซ้อนกัน และประเภทพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ตามทัศนะของโทเดวา อี. และคาโนค ดี. ในรูปแบบความร่วมมือพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ จากวารสาร Journal Management Decisions 43(1) หน้า 123-148 ได้แก่รูปแบบดังนี้
          1. ความร่วมมือ - การผสมของกิจการขนาดเล็กและรวบรวม,ประสานงาน และจัดการทรัพยากรร่วมกัน
          2. ห่วงโซ่อุปทาน- ขึ้นอยู่กับข้อตกลงการจัดหาระยะยาวระหว่างองค์การ
          3. ข้อตกลงที่ร่วมกัน- ได้แก่การจ้างเหมางานภายนอก (outsourcing) และรับเหมางานย่อยในการทำหน้าที่และการปฏิบัติงานทางธุรกิจที่แตกต่างกัน
          4. การลงทุนร่วมกัน (่joint venture) เป็นความตกลงที่เสมอภาคและไม่เสมอภาคระหว่างสองกิจการและข้อตกลงทางกฎหมาย
          5. การเซ็นต์สัญญา (licensing) เป็นข้อตกลงที่อาศัยความรู้โดยการถ่ายโอนข้อมูลเพื่อใช้ร่วมกัน, ในการผลิต,การจำแนกแจกจ่ายผลิตภัณฑ์และบริการ
          6. การค้าปลีกสัมปทาน (franchising) เป็นโครงสร้างองค์การตามสัญญาเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่โดยอาศัยแนวคิดธุรกิจกับการตอบสนองในทางปฏิบัติการจากพ่อค้าปลีกสัมปทานในการใช้ลิขสิทธิ์แก่ผู้รับสัมปทานได้
          7. สัญญาของฝ่ายจัดการ (Management Contract) ที่ใช้โดยธุรกิจเพื่อให้ได้รับบริการจากฝ่ายจัดการ เช่นสิ่งอำนวยความสะดวก หรือการปฏิบัติการเกี่ยวกับคลังสินค้าหรือการจัดการกองทุน
          8. การปรับเปลี่ยนสัญญา คู่สัญญากำหนดขึ้นจากการมีการก่อสร้างเพิ่มเติมใหม่, มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน,รัฐบาล,และหน่วยงานวิศวกรรม ผู้รับเหมารวมได้แก่ความรับผิดชอบในการกำหนดตามสัญญาเกี่ยวกับทรัพยากร,เทคโนโลยี่, Know how, และการจัดการเพื่อการปรับปรุง,การติดตั้ง, และขั้นตอนการรื้อถอน ฯลฯ
          9. ข้อตกลงความร่วมมือทางอุตสาหกรรม (Industrial Cooperation Agreement) เป็นเครือข่ายสัญญาขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับการควบคุมเชิงกลยุทธ์ที่มีการร่วมทุนหลากหลาย, การควบคุมและการแบ่งปันความรับผิดชอบสำหรับผลลัพธ์ความสำเร็จ อาจได้แก่การเพิ่มขนาดรูปแบบเชิงกลยุทธ์เฉพาะอย่าง
         10. ข้อตกลงการค้าร่วมกัน (counter trade agreement) เป็นข้อตกลงหลายฝ่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล, ในขณะที่การชำระเงินอาจเป็นในรูปของต่อของ (barter system), ในรูปออฟเซ็ต, การสั่งซื้อร่วมกัน, และการซื้อคืน ฯลฯ
         11. ข้อตกลงการวิจัยและพัฒนา (R&D Consortium) เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทสำหรับความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา
         12. สมาคมธุรกิจ และกลุ่มมาตรฐาน การเป็นสมาชิกของบริษัทที่หลากหลาย และการมีส่วนร่วมองค์การในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

เรียบเรียงจาก 12 manage



         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)