ผู้หญิงมีสิทธิ์เป็นผู้นำประเทศได้หรือไม่
ในบทบัญญัติหรือตัวบทกฎหมายไม่ได้้ห้ามผู้หญิงเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศนี้ เช่นในการเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยคือคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้ห้ามไว้ หากห้ามไว้ก็เท่ากับขัดหลักการของความเท่าเทียมกันทางเพศ ทำให้ผู้หญิงไม่มีสิทธิเท่าเทียมเหมือนผู้ชาย ยิ่งทำให้สั่นคลอนในประเทศที่ปกครองแบบประชาธิปไตย และการที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ใช้คำว่านางสาวนั้นก็ไม่ได้ผิดไปจากตัวบทกฎหมาย เพราะว่าในกฎหมายผู้หญิงแม้ว่าจะแต่งงานแล้วก็ตามสามารถใช้คำว่านางสาวได้ ไม่ได้เป็นเรื่องผิดกฎหมายแต่ประการใด ในยุคสังคมโบราณที่คนในสังคมขาดความเท่าเทียมกัน ผู้หญิงมักเป็นข้าทาสแก่ผู้ชาย และมีอคติต่อเพศหญิงมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว ซึ่งบางครั้งมีนักบวชท่านวิจารณ์โดยอ้างคำกล่าวยุคสมัยพุทธกาลนั้นก็อาจจะเหมาะสมในยุคนั้น แต่ทว่าในยุคปัจจุบันสังคมทั่วโลกยอมรับกันว่าผู้หญิงสามารถเป็นผู้นำที่ดี และดีเหนือกว่าผู้ชายด้วยซ้ำ เพราะผู้หญิงมีความละเอียดอ่อนกว่า, และหากมีจิตใจเข้มแข็งแบบผู้ชายหรือมีความมั่นคงในจิตใจก็ย่อมดีกว่าผู้ชายที่เป็นผู้นำแต่จิตใจเหมือนผู้หญิงที่มีความเอนเอียง, รักโลภโกรธหลงง่าย ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบันนี้คนทั่วโลกยอมรับการสตรีสามารถเป็นผู้นำได้ ไม่สำคัญว่าผู้หญิงนั้นเหมาะหรือไม่เหมาะในการเป็นผู้นำ แต่ทว่าผู้หญิงหากมีผลงานดีแล้ว ก็สามารถเป็นผู้นำได้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าผู้ชายด้วยซ้ำไป
ในสังคมไทยเราก็พบว่าผู้นำผู้ชายที่แข็งแกร่ง หรือตรงไปตรงมามีความเข้มแข็งในการทำงานก็ยังถูกโค่นอำนาจจากคนที่มุ่งหวังในอำนาจ ที่มีจิตใจแบบผู้หญิงที่อ่อนแอ หรือมีจิตคิดริษยา ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่ลูกผู้ชาย เช่นการเหยียบบ่าเหยียบบ่าคนอื่นเพื่อก้าวสู่อำนาจ เป็นลักษณะที่ไม่ดี แต่ผู้หญิงที่เป็นผู้นำอาจมีจิตใจเข้มแข็งราวเพศบุรุษ แต่มีความนุ่มนวลในบุคลิกลักษณะและอดทนต่อสิ่งยั่วยุได้ ก็สามารถเป็นผู้นำเหนือคนทั้งปวงได้ และปรากฎการณ์ทั่วโลกพบว่าผู้หญิงที่เป็นผู้นำสามารถทำงานมีผลงานมากมายหลายคน ไม่ได้เสื่อมเสียอย่างที่วิจารณ์ เช่นมาร์กาเร็ต แธชเชอร์ ผู้นำหญิงเหล็กแ่ห่งประเทศอังกฤษ ดังนั้นการใช้เรื่องเล่าเก่าแก่โบราณนั้นก็อาจหมดยุดเพราะยุคปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้ติดยึดกับความเชื่อเก่า ๆ ก็อาจไม่ทันสมัยทันยุคแล้ว ดังนั้นนักบวชในยุคปัจจุบันควรศึกษาความเป็นไปในสังคมของโลกนี้อย่างกว้างขวาง มิใช่เชื่อตำราที่เขียนมาอย่างเดียว โดยไม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริง กลายเป็นลัทธิคาบคัมภีร์ เพราะหลักพระพุทธศาสนานั้นท่านไม่ให้เชื่ออะไรง่าย ๆ เนื่องจากกาลเวลาของโลกเปลี่ยนไปอย่างมากมายมหาศาล ดังนั้นควรจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาจึงจะถูกต้อง ดังนั้นสิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าผู้หญิงเหมาะหรือไม่เหมาะเป็นผู้นำประเทศ แต่อยู่ที่ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานมากกว่าความเป็นหญิงหรือเป็นชาย เพราะไม่ว่าเพศใด ๆ ก้ตามก็ย่อมมีสิทธิและความเสมอเท่าเทียมกัน ไม่ได้มีการแบ่งชั้นขีดขั้นเหมือนในอดีตที่เคยเชื่องมงายกันมาเป็นเวลาพันปี
ในสังคมไทยเราก็พบว่าผู้นำผู้ชายที่แข็งแกร่ง หรือตรงไปตรงมามีความเข้มแข็งในการทำงานก็ยังถูกโค่นอำนาจจากคนที่มุ่งหวังในอำนาจ ที่มีจิตใจแบบผู้หญิงที่อ่อนแอ หรือมีจิตคิดริษยา ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่ลูกผู้ชาย เช่นการเหยียบบ่าเหยียบบ่าคนอื่นเพื่อก้าวสู่อำนาจ เป็นลักษณะที่ไม่ดี แต่ผู้หญิงที่เป็นผู้นำอาจมีจิตใจเข้มแข็งราวเพศบุรุษ แต่มีความนุ่มนวลในบุคลิกลักษณะและอดทนต่อสิ่งยั่วยุได้ ก็สามารถเป็นผู้นำเหนือคนทั้งปวงได้ และปรากฎการณ์ทั่วโลกพบว่าผู้หญิงที่เป็นผู้นำสามารถทำงานมีผลงานมากมายหลายคน ไม่ได้เสื่อมเสียอย่างที่วิจารณ์ เช่นมาร์กาเร็ต แธชเชอร์ ผู้นำหญิงเหล็กแ่ห่งประเทศอังกฤษ ดังนั้นการใช้เรื่องเล่าเก่าแก่โบราณนั้นก็อาจหมดยุดเพราะยุคปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้ติดยึดกับความเชื่อเก่า ๆ ก็อาจไม่ทันสมัยทันยุคแล้ว ดังนั้นนักบวชในยุคปัจจุบันควรศึกษาความเป็นไปในสังคมของโลกนี้อย่างกว้างขวาง มิใช่เชื่อตำราที่เขียนมาอย่างเดียว โดยไม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริง กลายเป็นลัทธิคาบคัมภีร์ เพราะหลักพระพุทธศาสนานั้นท่านไม่ให้เชื่ออะไรง่าย ๆ เนื่องจากกาลเวลาของโลกเปลี่ยนไปอย่างมากมายมหาศาล ดังนั้นควรจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาจึงจะถูกต้อง ดังนั้นสิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าผู้หญิงเหมาะหรือไม่เหมาะเป็นผู้นำประเทศ แต่อยู่ที่ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานมากกว่าความเป็นหญิงหรือเป็นชาย เพราะไม่ว่าเพศใด ๆ ก้ตามก็ย่อมมีสิทธิและความเสมอเท่าเทียมกัน ไม่ได้มีการแบ่งชั้นขีดขั้นเหมือนในอดีตที่เคยเชื่องมงายกันมาเป็นเวลาพันปี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น