ทำไมอาจารย์มหาวิทยาลัยจึงต่อต้านการจัดทำ TRF,TQF (เครื่องมือวัดคุณภาพอุดมศึกษา)

               

        TRF และ TQF เป็นเครื่องมือวัดคุณภาพอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรม สกอ.ได้นำมาใช้เป็นเวลาหลายปี ได้รับการต่อต้านจากอาจารย์มหาวิทยาลัยมาเป็นครั้งที่สองแล้ว  เพราะเมื่อเร็ว ๆ นี้คณาจารย์มากกว่า 600 คนนำเสนอให้รัฐมนตรีสั่งการให้ยกเลิกกรอบมาตรฐานอุดมศึกษา  ซึ่งการนำรูปแบบการกรอกเอกสารทุกภาคการศึกษาเกี่ยวกับวิชาที่สอน, จำนวนคาบ,เนื้อหาที่สอนระหว่างคาบ, เทคนิคการประเมินผลในการเรียนการสอนมีตัวชี้วัดความสำเร็จ, การกำหนดตัวชี้วัด ฯลฯ   การใช้ระบบเอกสารที่ต้องกระทำซ้ำซากในทุกภาคการศึกษา ซึ่งคณาจารย์ยังไม่ทราบว่าทำไปเพื่ออะไร?, เพื่อใคร, และสะท้อนคุณภาพประการใดนั้นไม่มีความชัดเจน เพราะเป็นที่ปรากฎว่าครูอาจารย์ต้องสูญเสียเวลาไปกับการทำเอกสารที่น่าเบื่อหน่าย และไม่มีผลต่อคุณภาพ   ซึ่ง สกอ.ควรหาเครื่องมือที่ตรงต่อคุณภาพมากกว่านี้ เพราะจากการศึกษาในระดับประถมศึกษา หรือในระดับมัธยมศึกษาก็เคยมีบทเรียนในอดีตที่ครูต่าง ๆต้องหัวฟูในการทำแฟ้มสะสมงาน, หากจะทำผลงานวิชาการก็ต้องเขียนผลงานวิชาการเล่มโต ในขณะที่ครูสอนในแต่ละสัปดาห์มีมากเกินไป บางแห่งก็มีน้อยจึงไม่สมดุลกัน    ครูบางพื้นที่ที่มีงานสอนน้อยก็ย่อมมีเวลาแต่ครูที่มีงานสอนเยอะเมื่อต้องหันมาเขียนผลงาน หรือแฟ้มสะสมงาน หรืองานเอกสารอื่น ๆ อีกมากนั้น ทำให้ครูต้องจมปลักอยู่ักับงานที่ไม่จูงใจ เพราะไม่ได้มีระบบการประเมินผลจากการสอนหนังสือ  ทำให้ครูไม่มีเวลาให้กับนักเรียนอย่างเต็มที่ เพราะไม่มีระบบที่จะจูงใจที่ครูให้เวลากับนักเรียนหรือตั้งใจสอนแล้วจะมีความก้าวหน้าอย่างไร  แต่ใครวิ่งเต้นผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็จะเติบโตดีกว่า ทั้ง ๆที่อาจไม่เก่งวิชาการเท่ากับอาจารย์  จากผลวิจัยพบว่าคุณภาพโดยรวมของระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตกต่ำลงอย่างมาก และเช่นเดียวกันในระดับมหาวิทยาลัยมีผลกระทบหลายด้านนอกจากการจัดทำเอกสารที่ไม่มีผลต่อคุณภาพ หรือเน้นการสอนที่มีระดับปริญญาตรี,โท,เอก ทำให้อาจารย์ไม่มีเวลาสร้างองค์ความรู้เพิ่มขึ้นด้วยตนเอง  ส่วนผู้บริหารไม่สนใจในเรื่องคุณภาพ มีเพียงผู้บริหารที่ดีเท่านั้นที่สนใจและตั้งใจเท่านั้น  แต่ในปัจจุบันนี้จะมีน้อยลงเนื่องจากแรงจูงใจในการทำธุรกิจการศึกษามีมากกว่า  ดังนั้นนอกจากนี้ต้องทำให้ครูต้องมีจิตวิญญาณจริง ๆ จึงจะหันไปเหลียวแล และตั้งใจ แต่ถ้าหากครูขาดจิตวิญญาณก็มุ่งไปยังการแสวงหารายได้ หากเป็นครูสอนในท้องถิ่นการหารายได้จะน้อยกว่าครูในเมือง ทำให้อาจารย์มุ่งเน้นงานสอน และแย่งงานสอนกันในหลายมหาวิทยาลัย ทำให้อาจารย์ดี ๆ หรือมีคุณภาพไม่ได้สอน   และอาจเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งคนที่ไม่ใช่พวกพ้องของตน   ทำให้ระบบการศึกษาไม่ได้มุ่งผลิตเพื่อคุณภาพ เพราะขาดระบบการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกครู หรืออาจารย์  บางแห่งนำพวกพ้องเข้ามาทำงาน และเข้าไปสู่ระบบการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัย กลายเป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์มากมาย   การศึกษาหลายแห่งจึงกลวง  มีโครงสร้างสวยหรู แต่บรรยากาศมหาวิทยาลัยไม่มีบรรยากาศแบบวิชาการอย่างจริงจัง   และที่น่าเกลียดก็คือในมหาวิทยาลัยที่เน้นการสอนมากกว่าวิจัย หรือมีการเบิกโหลดค่าชั่วโมง   หากไม่ได้ทำงานวิจัยแล้วจะไม่สามารถเบิกค่าสอนได้ ซึ่งเป็นการคุกคามอาจารย์  ทำให้อาจารย์มีคุณค่าน้อยกว่ากรรมกรเสียอีกที่เขาทำเกินชั่วโมงปรกติก็จะมีค่าล่วงเวลา แต่กลับอาจารย์กลับถูกคุกคามและถูกบังคับจากกฎกติกามหาวิทยาลัย และไม่มีงบสนับสนุนการวิจัยในชั้นเรียนด้วย จึงทำให้กลายเป็นภาระอย่างมาก และอาจถูกตัดเงินค่าสอนไปอีก และทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะกำหนดอย่างไรก็ได้ เพราะมีพวกพ้องมากมายในมหาวิทยาลัย  เช่นการแต่งตั้งบรรจุพวกพ้องเข้าไปทำในหน้าที่ในตำแหน่งสำคัญแต่ไม่มีความสามารถทางวิชาการในการคุมหลักสูตร  คณบดีบางคนหากินกับการกินงบประมาณในหลักสูตรมากมายซึ่งควรมีการตรวจสอบเพราะเป็นการทุจริตในหน้าที่   ดังนั้นความเป็นธรรมในมหาวิทยาลัยจึงสาบสูญหายไปทีละเล็กละน้อย คงเหลือแต่บางมหาวิทยาลัยที่ยังมีจิตวิญญาณของการเป็นอาจารย์ที่ดี  ดังนั้นควรมีการทบทวนปฏิรูปถึงปฏิวัติการศึกษาขนานใหญ่ได้แล้ว เพราะจะเป็นปัญหาเรื้อรัง  โดยที่รัฐมนตรีช่วยหรือรัฐมนตรี ควรเข้าไปเยี่ยมชมรับฟังปัญหาตามมหาวิทยาลัยเพื่อบุคคลที่เป็นผู้นำควรรู้ปัญหาเชิงลึก   เพื่อล้วงลูกและแก้ปัญหาทั้งระบบ ต้องมีการสังคายนากันได้แล้วเพราะนับวันจะกลายเป็นความแตกแยกในมหาวิทยาลัยระหว่างผู้บริหารมหาวิทยาลัย    บางมหาวิทยาลัยแต่งตั้งโดยใช้ระบบอุปถัมภ์และอยู่ในอำนาจนานเกินไปจนกลายเป็นสร้างอาณาจักร  นอกจากนี้ในการแสวงหารายได้นั้น มิใช่เป็นความผิดที่ครูอาจารย์จะหารายได้  เพียงแต่คุณภาพการศึกษานั้นส่งผลกระทบต่อตัวนักศึกษาที่เรียน เพราะการบรรจุผู้สอนนั้นบางครั้งไม่ได้ใช้ระบบคุณธรรมที่มีการวัดผลอย่างจริงจัง   แต่เป็นการหาคนมาทำงานที่เป็นพวกใครพวกมัน  ทำให้มหาวิทยาลัยจึงเป็นสังคมเลือกปฏิบัติ  มีการแบ่งชั้นขีดขั้นเหมือน ๆ กับการบริหารของรัฐบาลที่เน้นระบบราชการ   นอกจากนี้การจัดเกรดมหาวิทยาลัยก็ไม่มีความเป็นธรรมในการที่จะประเมินผลของมหาวิทยาลัย  เพราะนั่นคือเท่ากับแบ่งชั้นมหาวิทยาลัยไปในตัวซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง   สกอ.ควรจัดการประเมินมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง และการจัดสรรเงินงบประมาณนั้นมิใช่มหาวิทยาลัยใหนเกรดดีกว่าจะได้รับงบประมาณดีกว่า      แต่การที่มหาวิทยาลัยบางแห่งต้องสอนนักศึกษาที่ถูกคัดเลือกเกรดมาแล้วจากคะแนน   ก็จะทำให้มหาวิทยาลัยถูกเลือกปฏิบัติในการจัดสรรเงินงบประมาณ  เพราะอาจารย์ที่สอนเด็กไม่เก่งจะต้องใช้ความสามารถสูงกว่าอาจารย์ที่อยู่ในมหาวิทยาล้ัยที่มีนักศึกษาเก่งอยู่แล้ว        ดังนั้นระบบการศึกษาควรนำระบบคุณธรรมมาใช้อย่างจริงจัง ทำให้อาจารย์เป็นนักวิชาการที่มีคุณภาพ เป็นอาจารย์มืออาชีพ มิใช่ทำอาชีพอาจารย์เป็นธุรกิจ หรือทำมหาวิทยาลัยเป็นธุรกิจ  ซึ่งเป็นปรัชญาถ้าดูเผิน ๆ ก็ดูดี เพราะเน้นปริมาณ แต่ในเรื่องคุณภาพจะมีปัญหา ยิ่งเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ    ไม่ควรจัดการศึกษาเน้นธุรกิจ แต่เน้นคุณภาพ  ไม่ควรให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเน้นหากินกับหลักสูตรมากมายจนละเลยคุณภาพ ทำให้ผลตอบแทนผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีมากเกินไป  ทำให้ผู้บริหารจึงคิดแต่การสร้างหลักสูตรมาก ๆ และบางแห่งก็หากินโดยจัดทีมอาจารย์เป็นชุด ๆ      บางแห่งตั้งเงินเดือนผู้บริหารระดับสูงเงินเดือนสองสามแสน ซึ่งเงินเดือนมากกว่า สส.หรือรัฐมนตรีเสียอีก    นอกจากนี้ยังมีเงินจากบริหารหลักสูตร เช่นเป็นประธานในทุกหลักสูตร, เงินจากประมูลงานต่าง ๆ  และบางครั้งก็กลั่นแกล้งคนที่มีความคิดเห็นต่างกัน แต่ปรารถนาดีก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้  เพราะค่านิยมที่ถูกสร้างอย่างผิด ๆ    สรุปก็คือ สกอ.อาจมีความปรารถนาดีก็จริง  แต่ยังแก้ปัญหาไม่ถูกจุด หรือไม่ถูกกาลเวลา บางครั้งก็มาแก้ปัญหาปลายเหตุ เช่นในเรื่องระบบคุณวุฒิอาจารย์ต้องมีการตรวจสอบในแต่ละหลักสูตรว่าตรงสาขา สถาบันที่จบการศึกษาได้รับการยอมรับหรือไม่  ไม่ใช่เปิดมาแต่ไม่ได้สำรวจก่อนว่าคุณวุฒิความสามารถเพียงพอหรือไม่   เมื่อมาแก้ปัญหาทีหลังจึงแก้ไขได้ยาก  ควรแก้ก่อนปัญหาเกิด ไม่ใช่เกิดปัญหาแล้วจึงมาแก้ปัญหาภายหลัง   นอกจากนี้ทบวงมหาวิทยาลัยต้องมีผู้นำที่เก่งทางวิชาการในเชิงกว้างขวาง และมิติในการมองหรือวิสัยที่กว้างขวาง และเป็นนักบริหารมืออาชีพ ไม่นิยมระบบอุปถัมภ์   แต่มีระบบการคัดเลือกมืออาชีพเข้ามาทำงานในระดับนี้  รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่จะดูแลมหาวิทยาลัยต้องมีฝีมือการทำงานเหนือกว่าอาจารย์ที่ปฏิบัิติงานในมหาวิทยาลัย  ถึงว่าไม่มีฝีมือทางวิชาการที่เหนือกว่า แต่ก็ต้องมีฝีมือที่สามารถมองปัญหาออก และร่วมกันแก้ปัญหาได้ตรงจุด  มิใช่แก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวันหนึ่ง ๆ    แต่มิได้แก้ปัญหาที่รากเง่าของปัญหา  จึงทำให้มหาวิทยาลัยปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยความไม่พอใจ และขาดแรงจูงใจ   รวมทั้งความเป็นธรรมของพนักงานมหาวิทยาลัยที่กลายเป็นลูกเมียน้อย  ที่ค่าตอบแทนไม่เท่าเทียมกับข้าราชการ   ศักดิ์ศรีและเกียรติยศ รวมทั้งสิทธิต่างๆ ไม่เท่าเทียม      ดังนั้นถึงเวลาที่ต้องยกเครื่ององค์กรมหาวิทยาลัยทั้งระบบได้แล้ว   โดยไม่เน้นให้อาจารย์ทำงานแบบหัวฟูแบบไม่ลืมหูลืมตาและไม่ได้พักผ่อน แต่ควรให้นำเวลาไปศึกษาค้นคว้าวิจัยความรู้มากกว่าจะไปทำเอกสารจุกจิกแต่ไม่สามารถสะท้อนอะไรได้มาก   และเน้นไปที่ห้องเรียนของนักศึกษามากกว่า, บรรยากาศการเรียน, ผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรเดินสอดส่องการสอนหนังสือของอาจารย์  มิใช่นั่งอยู่ในห้องสำนักงานคอยฟังรายงานอย่างเดียว  การทำงานควรเป็นแบบเชิงรุก ไม่ใช่เชิงตั้งรับ    และมิใช่เน้นการเที่ยวเตร่ดูงานต่างประเทศ แต่ไม่สามารถนำมาพัฒนามหาวิทยาลัย  กลายเป็นความสุขสบายของผู้บริหารมหาวิทยาลัย แถมได้เงินมากเชิงธุรกิจ แทนที่จะทำให้มหาวิทยาลัยมีคุณภาพที่แท้จริง สามารถยกระดับคุณภาพกับต่างประเทศได้อย่างดี     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ