กลอนเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตอนที่ 32

        
      ทฤษฎีการกำหนดในเป้าหมาย (Goal-Setting Theory) เพื่อกลับกลายเป็นพื้นสมมติฐาน
เป็นเป้าหมายของบุคคลที่ทำงาน     โดยเน้นฐานพฤติกรรม,วินิจฉัย
นักวิชาการชื่อล๊อคกล่าวไว้ว่า          เมื่อนานาพนักงานบรรลุได้
ผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ดังใจ       ผลที่ได้เป็นประจักษ์ในผลงาน
       งานสำเร็จบรรลุได้ดังใจหวัง     ที่ยืนยั้งเพราะเป้าหมายนั้นชัดเจน
เป็นกระจกสะท้อนอย่างโดดเด่น      เพราะมองเห็นผลงานที่ก้าวหน้า
และยังเห็นจุดแข็งและจุดอ่อน         เป็นบทตอนเตือนระวังไม่ค้างคา
ผลศึกษาย้ำเตือนบุคคลว่า              เป้าสูงค่าไม่สั่งการบนลงล่าง    
       นอกจากนั้นผลวิจัยยังพบว่า     บุคคลาในองค์การมีส่วนร่วม
การกำหนดในเป้าหมายไม่กำกวม    เกิดผลรวมผลผลิตและผลงาน
สิ่งสำคัญคือบุคคลเข้าเกี่ยวข้อง       บุคคลต้องรู้สึกร่วมกับองค์การ
การทำงานจึงก่อเกิดแรงบันดาล       สร้างสรรค์งานเพราะผลแรงจูงใจ
      กระนั้นเมื่อมาพินิจพิจารณา       แสวงหาทัศนะสี่ประการ
ที่สำคัญสำหรับงานบริหาร              ปฏิบัติการเกี่ยวกับทรัพย์มนุษย์
หนึ่งพยายามผลักดันผลงานคน       เพื่อบุคคลทำงานท้าทายสุด
เป้าหมายไม่มากไปการก้าวรุด        ไม่มาฉุดกำลังใจให้ถดถอย
      อย่างสองต้องมั่นใจในเป้าหมาย  เพื่อเข้าข่ายความสำเร็จที่คาดหวัง
อธิบายขยายความชัดเจนจัง            ง่ายดายดังประดุจผู้ตื่นฝัน
ความคลุมเคลือหายไปอย่่างจริงจัง    วางแผนผังกำหนดเป้าอย่างมุ่งมั่น
เพื่อต่อรองผลที่ได้คาดคิดกัน          ทบทวนนั้นอย่างสร้างสรรค์เพื่อผลงาน          

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)