กลอนเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตอนที่ 26

          
   
   ทฤษฎีแรงจูงใจอี.อาร์.จี (Alderfer's ERG Theory) ต่างโต้ตีทัศนะในมาสโลว์
มีระดับความต้องการที่ชวนโชว์                ถูกตอบโต้ความต้องการหลายประเด็น
โดยแนวคิดของอัลเดอร์เฟอร์                  คิดค้นเจอข้อสรุปแสดงเห็น
จึงจัดกลุ่มออกเป็นสามประเด็น                แลเล็งเห็นเด่นชัดดังฉัตรชัย
         ความต้องการอันแรกคืออยู่รอด (Existence) รวมทั้งปลอด,ภัยร้ายในชีวิต
รวบเอาสองความต้องการมาสะกิด            เติมประติดประต่อพอสมควร
จากต้องการปัจจัยสี่และปลอดภัย             เป็นปัจจัยอยู่รอดไม่เรรวน
และความต้องการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน(Relatedness) ปัจจัยนั้นคือสังคมและยกย่อง
         ความต้องการที่สามด้านเติบโต (Growth needs) เมื่อเทียบโผคล้ายคลึงความสัมฤทธิ์
ความต้องการสุดยอดอย่างที่คิด               มาจากจิตมุ่งมั่นทะยานฝัน
เขาโต้แย้งทัศนะมาสโลว์ว่า                    ไม่อาจตราความต้องการแต่ละขั้น
แต่ความต้องการอื่นอาจแบ่งปัน               ไม่อาจคั้นความต้องการปัจจัยเดียว
         จุดสำคัญทฤษฎีอี.อาร์.จี               คือวิถีสมมติฐานที่กล่าวขาน
สมการความคับข้องใจไม่เบิกบาน            พนักงานไม่พอใจกับสิ่งหวัง
จากประเภทความต้องการไม่จีรัง              ไม่หยุดยั้งความต้องการอย่างจริงจัง
ข้อโต้แย้งของเขายังมุ่งหวัง                     ต้องต่อตั้งเติมเต็มในทฤษฎี
         ทฤษฎีต่อไปถึงเฮอร์ซเบอร์ก         ผู้บุกเบิกทฤษฎีสองปัจจัย
ปัจจัยไซร้คือสุขอนามัย (Hygiene Factor)      รวมปัจจัยจูงใจ (Motivation Factor)ที่ต่างกัน
ปัจจัยแรกเป็นปัจจัยที่คนงาน                   ไม่พอใจในสภาพสิ่งแวดล้อม
เช่นนโยบายตีงเครียดไม่รอมชอม             หัวหน้าอ่อนความสัมพันธ์กับคนงาน            

Alderfer:  ERG's Theory
  Frederick Herzberg: Hygiene and Motivation Factor

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)